ชนิดและรูปแบบของรองเท้าเดินป่า

เมื่อถามว่าอุปกรณ์เดินป่าชิ้นใดสำคัญที่สุด หลายคนอาจจะนึกถึงเป้เดินป่าดีๆ สักใบ บางคนอาจจะนึกถึงเสื้อผ้าที่เหมาะสม เข็มทิศ หรือแผนที่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต่างก็เป็นสิ่งจำเป็นไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน แต่อุปกรณ์ที่ดีที่สุดพวกนี้ก็คงจะไม่ช่วยให้คุณเดินป่าได้อย่างมีความสุข นัก หากเท้าของคุณทรมานกับอาการรองเท้ากัด หรือข้อเท้าพลิก ซึ่งเกิดจากการใช้รองเท้าไม่เหมาะสม บางครั้งอาจจะทำให้เดินต่อไม่ได้เอาเลยด้วยซ้ำ รองเท้าเดินป่าจึงเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ลงความเห็นว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ ที่สุดสำหรับการเดินป่า

มีผู้ผลิตรองเท้าที่ใช้สำหรับการเดินป่าออกมามากมายหลายชนิด ซึ่งก็แตกต่างกันไปตามประเภทของการใช้งาน รองเท้าที่ใช้สำหรับการเดินป่าระยะสั้น หรือการเดินเที่ยวไปตามเส้นทางที่ได้มีการจัดเตรียมไว้ให้โดยไม่ต้องมีการ เข้าไปพักแรมในป่า (Day Hiker) ก็ย่อมจะมีลักษณะและคุณสมบัติที่แตกต่างจากรองเท้าเดินป่าที่ใส่สำหรับการ เดินแบกเป้หนักเข้าไปในเขตป่าดงดิบหรือพื้นที่ทุรกันดารอย่างแน่นอน โดยทั่วๆ ไปแล้ว เราสามารถแบ่งประเภทของรองเท้าเดินป่าออกได้เป็น 6 ประเภท คือ

  • Mountaineering Boots
  • Backpacking
  • Off Trail
  • On Trail
  • Trail Runners
  • Sandals

ซึ่งการที่เราจะเลือกชนิดของรองเท้าที่จะใช้ได้นั้น แรกสุดเราก็จำเป็นที่จะต้องเข้าใจก่อนว่าจะใช้สำหรับการเดินทางในลักษณะใด

Mountaineering Boots

รองเท้าประเภทนี้เหมาะสำหรับนักเดินป่าที่ชอบปีนยอดเขาสูง ยอดเขาที่มีหิมะปกคลุม หรือบริเวณที่อากาศหนาวจัดจนแม่น้ำเป็นน้ำแข็ง (เราคงไม่มีโอกาสได้ใช้รองเท้าประเภทนี้ในเมืองไทยแน่นอน) รองเท้าชนิดนี้จะมีลักษณะค่อนข้างแข็ง สมัยก่อนจะทำจากหนัง และใช้หนังเย็บริมขอบรองเท้า และสำหรับประเภทที่เดินบนหิมะยังมีหนามทำจากเหล็กเอาไว้ยึดกับพื้นผิวอีก ด้วย รองเท้าจะสูงเหนือข้อเท้าและจะมีพื้นรองเท้าที่หนาเป็นพิเศษ ปัจจุบัน ผู้ผลิตรุ่นใหม่ (Koflach, Asolo, Etc.) ได้หันมาใช้พลาสติกหุ้มแทน แต่ถึงแม้ว่ารองเท้ารุ่นใหม่จะสามารถใช้ได้ดีบนหิมะหรือน้ำแข็งที่สูงชัน แต่ก็ไม่ได้ให้ความรู้สึกสบายกับผู้ใส่เลย เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้ผลิตชาวยุโรปเช่น La Sportiva ได้หันกลับมาใช้หนังสำหรับการผลิตรองเท้าอีกครั้ง และได้มีการคิดค้นวัสดุชนิดใหม่ที่เรียกว่า Vibers ขึ้นมาแทน โดยรองเท้ารุ่นใหม่นี้จะมีน้ำหนักโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 3 – 5 ปอนด์ ส่วนราคาของรองเท้าแบบนี้จะมีราคาสูงมาก

รองเท้าสำหรับปีนเขา
รองเท้าสำหรับปีนเขา

รองเท้าสำหรับเดินบนหิมะ
รองเท้าสำหรับเดินบนหิมะ

Backpacking or Regular

รองเท้า ประเภท Backpacking นี้เหมาะสำหรับการเดินป่าในสภาพพื้นผิวที่ค่อนข้างจะทรหด ลำบากลำบนหรือทุลักทุเลเอามากๆ และเหมาะสำหรับการเดินแบกของที่ค่อนข้างหนักมากๆ ในเส้นทางที่ใช้เวลาในการเดินหลายๆ วัน รองเท้าประเภทนี้มีพื้นรองเท้าที่หนาและแข็ง และมักมีน้ำหนักมาก จึงไม่เหมาะสำหรับการเดินป่าแบบง่ายๆ ในเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ส่วนมากวัสดุที่ใช้ผลิตรองเท้า Backpacking จะเป็นหนังทั้งหมด หรือเป็นวัสดุสังเคราะห์คุณภาพสูงอย่างกอร์เท็กซ์เท่านั้น เพราะจะช่วยในการเกาะยึดพื้นผิวเป็นอย่างดี และช่วยในการทรงตัวเป็นเยี่ยม นอกจากนี้ รองเท้าประเภทจะมีความสูงเหนือข้อเท้า มีการบุหนังด้านในป้องกันนิ้วเท้า และมีคุณสมบัติในการกันน้ำอย่างดีอีกด้วย จึงสามารถจะใช้เดินลุยในพื้นที่ที่เป็นดินโคลน พื้นที่ชื้นแฉะ หรือในการเดินทางที่จำเป็นจะต้องข้ามหรือลุยน้ำบ่อยๆ และหากซื้ออุปกรณ์ห่อหุ้มเท้ามาเพิ่มเติมจะทำให้สามารถใช้ลุยในพื้นที่เหล่า นี้ได้ดีขึ้น แต่หากต้องการจะใช้สำหรับการเดินป่าหรือปีนเขาในพื้นที่ที่หนาวเย็นมากๆ อาจจะต้องใช้รองเท้าที่ผลิตมาสำหรับการลุยหิมะ (Mountaineering Boots) โดยเฉพาะ

Off Trail

รองเท้า Off Trail สามารถใช้ได้กับการเดินป่าในแทบจะทุกพื้นผิว ทุกสภาพอากาศ และทุกภูมิประเทศ แต่เนื่องจากรองเท้าประเภทนี้มีพื้นรองเท้าที่ค่อนข้างแข็งและหนามากกว่า รองเท้าประเภทอื่น และมีโครงสร้างที่ค่อนข้างจะแข็งแรงและหนักพอสมควร ทำให้ไม่ค่อยเหมาะนักหากจะนำไปใช้เดินป่าในทางเดินง่ายๆ เช่นเส้นทางศึกษาธรรมชาติ แต่จะเหมาะสำหรับการเดินเข้าป่าในเส้นทางที่ไม่ได้มีการทำทางเอาไว้ให้ หรือในการเดินป่าที่จะต้องมีการแกะรอยหรือหาทางเดินเอง โดยทั่วไปรองเท้า Off Trail จะทำจากหนังหรือวัสดุสังเคราะห์ที่กันน้ำได้อย่างดี เช่น กอร์เท็กซ์ (Gore-Tex) รองเท้าประเภทนี้จะมีการยึดเกาะพื้นผิวที่ดีเยี่ยม และช่วยในการทรงตัวหรือการเดินทางได้เป็นอย่างดี ส่วนมากแล้วมักจะมีความสูงเหนือข้อเท้าขึ้นไป มีการบุหนังเสริมด้านในรองเท้าเพื่อป้องกันนิ้วเท้า และบางรุ่นอาจจะมีการทำขอบรองเท้าจากวัสดุกันน้ำอีกด้วย ถ้าใช้งานอย่างถูกวิธีจะกันน้ำเข้ารองเท้าได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ (หากมีการเดินลุยน้ำที่ไม่สูงกว่ารองเท้า) และสามารถเดินลุยโคลนหรือลำธารตื้นๆ ได้ดี และในรองเท้าบางรุ่นที่มีการออกแบบและเย็บหุ้มรองเท้าอย่างดีแล้วจะช่วยให้ ความอบอุ่นกับเท้าได้เป็นอย่างดี

On Trail

รองเท้า ประเภทนี้จะมีคุณสมบัติที่ดีกว่ารองเท้า Trail Runner หรือจะเรียกว่าพัฒนาขึ้นมาอีกขั้นจาก Trail Runner ก็ได้ ซึ่งจะใช้สำหรับการเดินป่าที่ต้องมีการผจญภัยมากขึ้นกว่าการเดินตามเส้นทาง ศึกษาธรรมชาติอย่างง่าย อาจจะเป็นการเดินแบกเป้ขนาดกลางเข้าไปค้างแรมสักหนึ่งคืน หรือสำหรับการผจญภัยในพื้นที่ที่ต้องมีการปีนป่ายพอสมควรก็ได้ วัสดุที่ใช้ทำรองเท้าก็มีหลายประเภท เช่น หนัง วัสดุสังเคราะห์ และวัสดุสังเคราะห์กันน้ำ เป็นต้น พื้นรองเท้าจะแข็งกว่าแบบ Trail Runner แต่จะมีความยึดเกาะพื้นผิวได้ดีกว่า ส่วนความสูงของรองเท้าก็มักจะอยู่ที่ระดับข้อเท้าหรือสูงกว่าเล็กน้อย และอาจจะมีการบุหนังด้านในรองเท้าเพื่อป้องกันการเสียดสีหรือการเกิดบาดแผล ที่นิ้วเท้าได้อีกด้วย ถึงแม้ว่ารองเท้า On Trail นี้จะไม่ได้ออกแบบมาเพื่อให้สามารถกันน้ำได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็สามารถการเปียกชื้นภายในจากโคลนหรือจากการเดินข้ามลำธารตื้นๆ ได้ในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ รองเท้า On Trail ยังให้ความอบอุ่นกับเท้าได้ในระดับหนึ่ง

Trail Runners

โดยทั่วไป รองเท้าแบบ Trail Runner จะใช้ในการเดินป่าบนเส้นทางง่ายๆ เส้นทางที่ได้มีการทำทางเดินเอาไว้ให้อย่างดีแล้ว เส้นทางศึกษาธรรมชาติตามอุทยานแห่งชาติต่างๆ หรือจะเป็นการขี่จักรยานเสือภูเขาเข้าป่าแล้วไปแวะเดินสำรวจระยะสั้นๆ ที่ปลายทางก็ได้ ส่วนมากจะใช้กับการเดินป่าที่ไม่ต้องเข้าไปค้างแรมข้างใน เป็นการเดินแบบไปเช้ากลับเย็น รองเท้าประเภทนี้ส่วนมากจะมีความสูงประมาณข้อเท้าหรือต่ำกว่าเล็กน้อย และทำจากทั้งวัสดุสังเคราะห์และหนัง จึงไม่เหมาะสำหรับการใช้เดินป่าในพื้นที่ที่ค่อนข้างจะทรหด หรือในบริเวณที่จะต้องมีการปีนป่ายไปตามหินผา เพราะจะทำให้ข้อเท้าพลิกหรือได้รับบาดเจ็บจากคมหินได้ง่ายๆ นอกจากนี้ โดยมากแล้วรองเท้าประเภทนี้จะไม่กันน้ำและไม่ค่อยจะยึดเกาะพื้นนัก อาจจะสร้างความลำบากให้เราเวลาต้องใส่เดินลุยโคลนหรือเดินลุยข้ามน้ำ และยังไม่สามารถให้ความอบอุ่นกับเท้าได้มากนักอีกด้วย ดังนั้น รองเท้าประเภทนี้จึงไม่เหมาะที่จะใช้สำหรับการเดินป่าที่ใช้เวลานานกว่าห นึ่งวันในเส้นทางที่ไม่ใช่เส้นทางศึกษาธรรมชาติอย่างง่ายๆ

Sandals

Sandals
Sandals
รองเท้า อีกประเภทหนึ่งที่สามารถใช้ในการเดินป่าได้เช่นกันคือรองเท้าแบบ Sandals หรือรองเท้ารัดส้น ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ รองเท้าแตะแต่มีสายรัดส้นเท้าเอาไว้เพื่อให้ไม่หลุดง่ายและเพิ่มความสะดวก คล่องตัวในการเดินมากยิ่งขึ้น ผู้ผลิตบางรายได้คิดค้นออกแบบวัสดุที่ใช้ทำพื้นรองเท้าให้สามารถระบายอากาศ ได้เป็นอย่างดีและไม่มีการเหม็นอับเท้าอีกด้วย รองเท้าประเภทนี้ ปกติจะใส่เดินในเมืองทั่วๆ ไป หรือการเที่ยวแบบสบายๆ ก็ได้ และมักจะนำไปใช้ใส่เดินป่าในเส้นทางที่เดินอย่างง่ายๆ ได้อีกด้วย หรือบางคนอาจจะชอบใส่เดินขึ้น-ลงเขาเนื่องจากไม่ทำให้นิ้วเท้าเจ็บจากการ เสียดสีหรือกระแทกกับด้านในของรองเท้า แต่อย่างไรก็ดี รองเท้าประเภทนี้จะให้ความปลอดภัยกับเท้าน้อยมาก สามารถทำให้เท้าพลิกได้ง่าย หรือหากต้องเดินลุยในเส้นทางที่ค่อนข้างลำบากหรือรกแล้วอาจจะทำให้เกิดบาด แผลกับเท้าได้ง่ายๆ

thank http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_17.html

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น