การประมาณระยะทางการเดินในแต่ละวัน

ทุกคนย่อมจะอยากรู้ระยะทางที่จะต้องเดินก่อนจะไปเดินจริง หรือ ระยะทางที่เดินผ่านมาแล้วว่าได้เดินไประยะทางเท่าไหร่ หากเป็นสถานที่ยอดฮิตซึ่งมีคนไปจำนวนมาก เช่น ภูกระดึง ภูสอยดาว ฯลฯ ก็มักจะมีข้อมูลระยะทางที่ค่อนข้างจะถูกต้องอยู่แล้ว ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลที่สำรวจโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบพื้นที่นั้น ๆ แต่หากเป็นสถานที่แปลก ๆ ที่ไม่ค่อยมีคนไปหรือยังไม่เคยได้รับการสำรวจระยะทาง การที่จะทราบระยะทางที่แน่นอนก็จะค่อนข้างยาก แต่เราก็สามารถการคำนวณหรือกะยะทางเหล่านี้ได้ โดยวิธีการกะระยะทางนั้นพอจะแบ่งได้ออกเป็น 5 วิธี แต่ละวิธีก็จะมีข้อดี ข้อเสีย และความแม่นยำต่างกันออกไป

การคาดคะเนจากการก้าวเดิน

วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด สามารถทำโดยการนับก้าวที่เราเดินไป แล้วนำจำนวนก้าวที่เดินไปคำนวณกับระยะแต่ละก้าวของเราเพื่อคำนวณออกเป็นระยะ ทาง วิธีนี้หากใครเคยเรียนลูกเสือ หรือ รักษาดินแดน คงจะคุ้นเคยกับการกะยะจากวิธีนี้กันบ้าง ซึ่งข้อดีของวิธีนี้ก็คือง่าย ประหยัด แต่ก็มีข้อเสียคือเหมาะกับระยะทางใกล้ ๆ หากเป็นระยะทางไกล ๆ คงไม่มีใครมานั่งนับได้ว่าตัวเองก้าวเท้าไปกี่ก้าว และก็ยังขึ้นกับสภาพของพื้นที่ เพราะพื้นที่ต่างกันระยะการก้าวเท้าก็จะไม่เท่ากันด้วย

การใช้เครื่องนับก้าว เพื่อวัดระยะทางการเดิน

เครื่องวัดระยะทาง
แบบวัดความสั่นสะเทือน
การ ใช้เครื่องนับก้าวหรือ Pedometers จะใช้หลักการเดียวกับการก้าวเดิน เพียงแต่เราจะใช้เครื่องมือเข้ามาช่วยในการนับก้าว เช่น นาฬิกาที่วัดระยะทางได้โดยใช้วัดจากความสั่นสะเทือนจากการก้าวเดิน เป็นต้น ซึ่งข้อดี และข้อเสียก็จะเหมือนกับวิธีแรก แต่จะมีเพิ่มเติมคือสะดวก ไม่ต้องเสียเวลามานั่งนับเอง ซึ่งหากจำนวนก้าวมากอาจจะนับผิด แต่ก็อาจจะมีความผิดพลาด เพราะบางครั้งความสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้น อาจจะไม่ได้เกิดจากการก้าวเดินก็ได้

การใช้ประสบการณ์

วิธีนี้เราจะต้องใช้ประสบการณ์การเดินมากะระยะทาง คนที่มีประสบการณ์การเดินมากจะสามารถประมาณได้ว่าทางราบเราจะเดินทางได้ระยะ ทางเท่าไหร่ หรือ ทางชันจะเดินทางได้ระยะทางเท่าไหร่ โดยจะเอาเวลาที่เดินกับสภาพพื้นที่ เปรียบเทียบกับสถานที่อื่น ๆ ที่เคยไป เช่น หากคุณเคยไปกระดึงแล้วแบกของเองสามารถเดินได้เวลา 4 ชั่วโมง ได้ระยะทางประมาณ 3-4 กิโล (ระยะทางจะมีข้อมูลอยู่แล้วในเอกสารของอุทยานหรือที่ทำการอุทยาน) หากคุณไปดอยอื่น ที่มีความชันพอ ๆ กันแล้วเดินได้โดยใช้เวลาใกล้เคียง คุณก็จะสามารถประมาณระยะทางที่เดินไปได้อย่างคร่าว ๆ โดยวิธีนี้เราจะต้องประสบการณ์ของตัวเราเองเท่านั้นไม่สามารถใช้ประสบการณ์ ของคนอื่นได้ เพราะความเร็วในการเดินของแต่ละคนไม่เท่ากัน บางคนอาจจะเคยได้ยินว่าในหนึ่งชั่วโมงจะเดินได้ประมาณ 3-4 กิโลเมตรในทางราบ แต่เราอาจจะเดินได้เร็วหรือช้ากว่านั้นเราจึงไม่สามารถเอาข้อมูลนี้มาเป็น มาตรฐานในการกะระยะทางได้ แต่วิธีการใช้ประสบการณ์นี้ก็ไม่ถูกต้องแม่นยำมากนัก เพราะบางครั้งเส้นทางมีทั้งขั้นและลง จนยากที่จะประมาณได้

การใช้แผนที่

วิธีนี้เราจะต้องมีแผนที่ที่เชื่อถือได้และมี อัตราส่วนที่ละเอียดพอ และเดินทางโดยใช้เข็มทิศ และก็ลากเส้นทางที่เราเดินในแผนที่ เมื่อได้เส้นทางเดินเราก็จะสามารถวัดระยะทางได้ ซึ่งหากเส้นทางที่เราทำการลากถูก ก็จะสามารถวัดระยะทางได้โดยง่าย แต่ความเป็นจริง อาจจะมีการเดินหลงจนต้องเดินย้อนไปมา ซึ่งจะทำให้เส้นทางไม่ถูกต้อง เพราะเราไม่ได้ลากเส้นกลับไปหาระหว่างหาทางอยู่ด้วย ระยะทางที่วัดได้จึงอาจจะน้อยกว่าความเป็นจริง

การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

เครื่อง GPS ใช้วัดระยะทาง
และเส้นทาง
เรา สามารถใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บางชนิดในการวัดระยะทางได้ เช่น เครื่อง GPS ซึ่งเราสามารถนำข้อมูลแผนที่โหลดเข้าเครื่อง พอเริ่มเดินทางเครื่องนี้ก็จะทำการพล็อตเส้นทางเดินพร้อมทิศทางโดยจับสัญญาณ จากดาวเทียม ซึ่งข้อดีก็คือง่าย ความถูกต้องแม่นยำสูง รวดเร็ว เมื่อเราเดินจนสุดเส้นทาง เราก็สามารถนำเครื่อง GPS ต่อคอมพิวเตอร์เพื่อดึงเส้นทางที่เราเดินออกมา พร้อมทั้งสามารถคำนวณระยะทางได้โดยอัตโนมัติ และในเครื่องบางรุ่นที่ทันสมัยหน่อย จะสามารถทำภาพตัดเพื่อแสดงความสูงของเส้นทางที่เราเดินได้อีกด้วย แต่ข้อเสียก็มีเช่นกันคือ เครื่อง GPS ราคาจะมีตั้งแต่หลักหลาย ๆ พันจนถึงหลายหมื่นบาท ซึ่งนักเดินทางส่วนใหญ่ในบ้านเรามักจะไม่ค่อยมีเครื่องพวกนี้กัน เพราะการเดินทางของเรามักจะใช้คนนำทางเป็นหลัก แต่หากเป็นในต่างประเทศส่วนใหญ่จะไม่มีคนนำทาง หากต้องการเดินเส้นทางไหนก็ไปซื้อแผนที่อัตราส่วน 1:50,000 มาและใช้เครื่อง GPS เดินกันเองเลย

ที่มา http://www.mrbackpacker.com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น