การปีนหน้าผาแบบ Bouldering คืออะไร


Bouldering คือ การปีนก้อนหิน หรือหน้าผาเตี้ย ๆ (ประมาณไม่เกิน 5 เมตร) เพื่อการฝึกฝน ความสูงที่ไม่มากทำให้เป็นการปีนที่ปลอดภัย สามารถใช้จินตนาการในการคิดค้นท่วงท่าใหม่ ๆ หรือใช้ฝึกทักษะให้ชำนาญก่อนที่จะไปใช้บนหน้าผาสูง


ปัจจุบัน นี้ Bouldering ได้วิวัฒนาการมาเป็นกิจกรรมโดยตัวของมันเอง นักปีนหลายท่านเลือกที่จะปีนก้อนหินเตี้ย ๆ แทนหน้าผาสูงเพราะเสน่ห์ของ Bouldering คือ ความยากในความเรียบง่ายนั่นเอง

อุปกรณ์ที่เราใช้ในการปีนแบบ Bouldering ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

1 รองเท้าปีนหน้าผา พื้นจะต้องเป็นยางสังเคราะห์ชนิดพิเศษ ช่วยให้สามารถยึดเกาะหน้าผาได้ดี มีความกระชับสูงมาก

2. ถุงชอร์ก เป็นถุงสำหรับใส่ผงแมกนีเซียมคาร์บอเนต มีคุณสมบัติในการดูดความชื้น ช่วยซับเหงื่อทำให้มือแห้ง และช่วยกันลื่น เป็นผงสีขาว ๆ ฝุ่นผงเหล่านี้หากอยู่ในสภาพธรรมชาติ หรือบนหน้าผา เมื่อผ่านไปช่วงเวลาหนึ่งจะหายไปเอง จากลม หรือฝนที่ตกมาชำระล้าง ไม่เป็นอันตรายต่อสภาพทางธรรมชาติ

3. เบาะกันตก เป็นเบาะที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับการปีนBouldering เป็นเบาะช่วยซับแรงกระแทกขณะตกลงมา ทำให้ลดการบาดเจ็บจากการปีน สามารถพับเก็บและขนย้ายได้ด้วยบุคคลเพียงคนเดียว


ข้อมูล
http://www.sarikaadventurepoint.com/

แนะนำอุปกรณ์โรยตัว


ฮาร์เนส (Harness) ชนิดของฮาร์เนส ขึ้นอยู่กับลักษณะ การใช้งาน มีทั้งแบบครึ่งตัว, แบบเต็มตัว, เฉพาะช่วงตัวบน และฮาร์เนสเพื่อผู้ประสบภัย เป็นต้น ฮาร์เนสกู้ภัยต้องคำนึงถึง จุดที่รับน้ำหนัก ขนาดและความทนทาน ของแถบเชือก ที่ใช้ทำฮาร์เนส เพื่อการสวมใส่ที่ยาวนาน และปลอดภัย ราคาของฮาร์เนส ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ และความยาก ง่าย ในการผลิต, ควรจัดให้เป็น อุปกรณ์ประจำตัว ของสมาชิกในทีม

เชือกกู้ภัย (Static Rope) สิ่งที่ควรทราบ คือ คุณสมบัติของเชือกที่ใช้, วัสดุที่ใช้ผลิตเชือก, ขนาดของเชือก, ความยาวของเชือก, ชนิดของเชือก, อัตราการ รับน้ำหนักของเชือก ไปจนถึงการทำเงื่อน ที่ให้ความแข็งแรง และปลอดภัย กับเชือกที่ใช้ ขนาดที่สัมพันธ์กับ การรับน้ำหนักที่ถูกต้อง ความสูงของ สถานที่ที่จะใช้เชือก, จำนวนขึ้นอยู่กับ จุดที่ต้องการใช้ลงหรือเข้าถึง และอาจแบ่งเป็น เชือกหลัก และเชือกเซฟตี้ หรือเชือกสำรอง หากเกิดปัญหาขึ้น กับเชือกเส้นหลัก อุปกรณ์อื่นๆ ที่เข้ามาประกอบร่วมกัน ให้การใช้เชือก มีความปลอดภัย

คาราบิเนอร์ (Carabiner) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ เกี่ยวยึดเชือก และอุปกรณ์ต่างๆ ควรคำนึงถึง อัตราการรับน้ำหนัก ของอุปกรณ์ วัสดุที่ใช้ และระบบล็อค ควรมีสำรอง ใช้ประจำตัวเจ้าหน้าที่ทุกคน

ถุงมือโรยตัว (Rappel Gloves) ควรเป็นชนิดที่กันความร้อน และผลิตด้วย วัสดุที่ทนทาน ซึ่งนอกจากจะใช้ โรยตัวแล้ว ควรคำนึงกระชับมือ ในการผูกเชือก และปฏิบัติงานอื่นๆได้อย่างคล่องตัว และใช้วัสดุ ระบายความร้อนได้ดี ควรจัดให้เป็น อุปกรณ์ประจำตัว ของสมาชิกในทีม

หมวกกันกระแทก (Helmet) จำเป็นในการปกป้อง ศีรษะจากความร้อน, วัสดุแข็ง, แหลมหรือมีน้ำหนัก ในที่เกิดเหตุ ซึ่งอาจจะตกลงมา ทำอันตรายเจ้าหน้าที่ ได้ทุกเมื่อ, ต้องเป็นแบบ มีสายรัดคาง และควรจัดให้เป็น อุปกรณ์ประจำตัว ของสมาชิกในทีม

ห่วงรูปเลข 8 (Figure 8) เป็นอุปกรณ์ใช้ในการ ควบคุมการโรยตัวลง และผ่อนเชือก ขนาดที่ใช้ ควรให้เหมาะสม กับขนาดของเชือก, จำนวนขึ้นอยู่กับ ผู้ที่จะเข้าปฏิบัติงาน หากต้องการความรวดเร็ว ในการเข้าถึงที่หมาย ควรจัดให้มี ครบตามจำนวนคน

เชือกเงื่อนพรูสิค ขนาด 5-6 ฟุต (Prusik Cord) ใช้เป็นเชือก ป้องกันการตก เป็นเงื่อนเชือก ที่ช่วยให้การโรยตัว มีความปลอดภัย และผู้โรยตัว สามารถควบคุม ตำแหน่งที่ต้องการ จะหยุดได้เอง , จำนวนขึ้นอยู่กับ จำนวนสมาชิกในทีม และควรมีสำรอง เพื่อช่วยเป็นเงื่อนเชือก ป้องกันการตก

ข้อควรระวัง หากผู้ใช้ไม่เข้าใจ หลักการทำงานของเงื่อน จะเกิดอันตราย ต้องตรวจดูพรูสิคทุกครั้ง ให้สามารถจับเชือกได้ ก่อนการโรยตัว หรือลงจากเชือก

สายโยงหลัก (Anchor Strap) เป็นอุปกรณ์สำคัญ ในการติดตั้งสถานีเชือก เป็นแถบเชือก ที่มีความมั่นคงแข็งแรง ในการพันหลัก , ควรมีความยาว มากพอในการพันหลัก หลายๆรอบ , จำนวนควรมี อย่างน้อย 2 เส้น

ปลอกรองเชือก และแผ่นรองขอบ (Edge Protector) เชือกเป็นสิ่งสำคัญ ในการโรยตัว ที่จำเป็นต้องมี อุปกรณ์ป้องกัน ไม่ให้เกิดการขาด หรือบิดตัว จนเป็นอุปสรรค ในการทำงาน ปลอกรองเชือก จะช่วยป้องกันเชือก เสียดสีกับ มุมของอาคาร หรือหินแหลม แผ่นรองขอบ ที่รองตามขอบ และมุมต่างๆจะช่วยกันการ สึกหรอของเชือก และยืดอายุการใช้งาน ของเชือกได้ดี, จำนวนขึ้นอยู่กับ พื้นที่ที่จะใช้ ทำสถานีโรยตัว ควรมีตามจำนวน ของเชือกและมุม ที่เชือกต้องวิ่งผ่าน

แถบเชือก (Tubular Webbing) แถบเชือกแบบแบน ขนาด 1 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว ซึ่งใช้ประโยชน์ได้ เอนกประสงค์ ในการโรยตัว และผูกยึดกับ หลักโยงเชือก , ผูกโยงหลัก หรือผูกยึดผู้ป่วย เข้ากับเปล ต้องมีอัตราการ รับน้ำหนักที่ได้มาตรฐาน , จำนวนขึ้นอยู่กับ ความต้องการใช้งาน ได้อย่างปลอดภัย ควรมี 2 เส้น ความยาว 12 ฟุต หรือ 20 ฟุต เป็นอย่างน้อย

ถุงเก็บอุปกรณ์ (Equipment Bag) เพื่อความสะดวก ในการจัดเก็บอุปกรณ์ และการใช้งาน ได้อย่างเป็นระเบียบ และรักษาอายุ การใช้งานของอุปกรณ์ ป้องกันอุปกรณ์ จากความชื้น การสึกหรอ การสูญหาย ฯ




ที่มา http://www.seaairthai.com/

แนะนำอุปกรณ์พื้นฐานสำหรับการปีนหน้าผาเบื้องต้น


อุปกรณ์พื้นฐานสำหรับการปีนหน้าผาเบื้องต้น อุปกรณ์พื้นฐานสำหรับการปีนผาเบื้องต้นแบบ Top Roping มีดังนี้

ฮาร์เนส (Harness) หรือสายรัดสะโพก ลักษณะเป็นห่วงส่วนเอวและส่วนขา ซึ่งถูกโยงไว้ด้วยกันโดยสายในล่อนทั้ง ด้านหน้าและด้านหลัง สามารถรับน้ำหนักได้ถึง 2 ตัน

คาราไบเนอร์ (Carabiner) เป็นห่วงเหล็กหรืออะลูมิเนียม อัลลอย (อย่างหลังนิยมกว่าเพราะน้ำหนักน้อยกว่า) สามารถรับแรงดึงได้ 2 ตัน หลายรูปร่างและขนาด ขึ้นอยู่กับการใช้งาน มี 2 ประเภทหลักคือ แบบมีตัวล็อก (Screwgate Carabiner) และแบบไม่มีตัวล็อก (Snap Carabiner) สำหรับตัวที่ใช้เกี่ยวกับห่วงฮาร์เนสทุกตัวต้องมีตัวล็อกเสมอ

ควิกดรอว์ (Quickdraw) คือสายไนลอนสั้นๆ ซึ่งมีคาราไบเนอร์เกี่ยวอยู่ตรงปลายทั้ง 2 ข้าง ใช้สำหรับเกี่ยวกับหมุดตามหน้าผา ป้องกันการตกจากที่สูงทีเดียวถึงพื้น

อุปกรณ์บีเลย์ (Belay Device) ใช้สำหรับผ่อนเชือกให้นักปีนผาและควบคุมความเร็วในการโรยตัว มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามรุ่นที่ผลิต เช่น Grigri, Figure of Eight, ATC

รองเท้าปีนผา จะมีพื้นเรียบ ไม่มีดอกยาง หัวรองเท้าแคบเพื่อให้สอดเท้าเข้าไปบนช่องหินได้สะดวก เมื่อสวมแล้วต้องรู้สึกว่าคับแน่นจึงจะเหมาะกับการปีนหน้าผา

แมกนีเซียม คาร์บอเนต หรือผงชอล์ก เป็นผงคล้ายแป้ง ใส่ถุงผ้า ห้อยไว้ด้านหลังของนักปีนผา ใช้สำหรับลดความชื้นที่มือเพื่อความถนัดในการเกาะเกี่ยว

เชือกสำหรับปีนผา (Kernmantle) เป็นเชือกลักษณะพิเศษ คือ มีความเหนียว ไม่ยืดง่าย สามารถรับแรงดึงได้ถึง 2 ตัน เชือกเส้นหนึ่งประกอบด้วยเชือกเส้นเล็ก 2 เส้นควั่นกันอยู่ชั้นในสุดและพันด้วยไนลอน ความยาวมาตรฐานของเชือกคือ 45 เมตร 50 เมตร และ 60 เมตร



ที่มา http://www.ezthailand.com/

ลับมีด อย่างไรให้คมกริบ



หิน ลับมีดจะมี 2 แบบ คือ ด้านหนึ่งมีลักษณะหยาบ อีกด้านมีลักษณะละเอียด แต่หินลับมีดบางรุ่นจะมีทั้ง 2 ด้าน อยู่ในก้อนเดียวกัน ไม่ว่าหินลับมีดจะเป็นแบบใด เราก็สามารถ ใช้ลับมีดของเราได้ดีทั้งสิ้น มันอยู่ที่วิธีการลับมีด ไม่ใช่หินที่ลับ การใช้น้ำหรือน้ำมันเข้าช่วยในขณะที่ทำการลับมีดนั้นจะช่วยให้ลับมีดได้คมดี ยิ่งกว่าเอามีดมาถูกับหินลับแบบ แห้งๆ น้ำหรือน้ำมันจะช่วยลดความฝืดทานยามที่ใบมีดเสียดสีกับหิน และช่วยยืดอายุการใช้งานของหินลับออกไปได้อีกด้วย ขั้นตอนการลับมีดก็มีดังนี้

1. ก่อนลงมือลับมีด ให้หยดน้ำมันลับมีดลงบนหินลับมีดเสียก่อน ถ้าหาน้ำมันไม่ได้ ให้ใช้น้ำธรรมดา จุดมุ่งหมายก็เพียงแต่ต้องการลดแรงเสียดทานเท่านั้นเอง ถ้าลับมีดแบบ แห้งๆ หินลับมีดจะชำรุดเร็ว

2. วางใบมีดให้ทำมุมกับตัวหินลับมีดราว 20 º แล้วเลื่อนใบมีดไปทางหนึ่งทางใดราว 10 ครั้ง แล้วกลับคมอีกด้านเพื่อทำแบบเดียวกันหรือลับไปจนกว่าเราจะพอใจในความ คมของมัน

ตอนแรกให้ลับมีดด้านหยาบก่อน จากนั้นจึงค่อยมาลับกับหินลับทางด้านละเอียด(หินลับทางด้านหยาบลับให้คม ส่วนหินลับทางด้านละเอียดจะใช้ในการยกและปรับคมมีดที่คม ดีแล้วให้ราบเรียบสนิท การปรับคมมีดเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นพอๆกับการลับคมมีด

กระบวนการใบ มีดนี้เรารู้จักกันในชื่อ"การทำคมใบมีดให้เป็นแนวตรง" อนึ่งความลื่นเป็น อุปสรรคต่อการที่จะจรดใบมีดให้ได้เหมาะ วิธีที่ได้ผลก็คือ ใช้นิ้วมือตรงกลางทั้งสามกดลงบนใบมีดเพื่อให้ติดอยู่กับหน้าหินตลอดเวลาที่ ลากใบมีด พยายามให้นิ้วมืออยู่ ห่างออกมาจากคมมีด

3. ดึงใบมีดให้ไปทางเดียวกันเหมือนกับว่า เรากำลังจะตัดฝานหินลับมีดหรือเฉือนเนื้อหินนั่นเอง อย่าดึงใบมีดให้หนักเกินไปหรือเบาเกินไป ทำให้พอเหมาะพอดี ข้อควร ระวังก็คืออย่าจับใบมีดในลักษณะแบนราบแนบหินลับมีดมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดรอยขีดข่วนที่เรียกกันว่า "ขนนก" หรือ "ขนแมว" บนใบมีด ทำให้หมดความสวยงาม ไปเปล่าๆ

4. หลังจากลับมีดจนคมแล้วให้ทดสอบกับกระดาษธรรมดาๆแผ่นหนึ่ง ถ้ามีดนั้นคมจริง จะสามารถเฉือนกระดาษออกได้อย่างง่ายดายหลายๆครั้ง แต่ถ้ายังไม่คมพอก็ต้องลับ ใหม่

เมื่อลับมีดจนคมเป็นที่พอใจแล้ว จึงชะโลมน้ำมันบนใบมีดอีกครั้งหนึ่ง และอย่าลืมทำความสะอาดหินลับมีดด้วย กล่าวได้ว่าการลับมีดเป็นทั้งวิธีการและศิลปะ สำหรับวิธีการ นั้นก็ได้กล่าวไปแล้ว ส่วนศิลปะเป็นสิ่งที่จะต้องเพียรทำ ถ้าเรามีใจรัก เราก็อาจจะเป็นนักเลงมีดที่ดีได้ คำว่า "นักเลงมีดที่ดี" นั้น ในที่นี้หมายความว่าเป็นคนรู้จักใช้และถนอม มีดนั่นเอง ไม่ใช่ผู้ที่นำมีดเอาไปไล่ฟันไล่แทงผู้อื่น


ที่มา http://www.e-travelmart.com/

การเลือกมีดดำน้ำที่ดี



1. ก่อนการเลือกซื้อมีดก็ต้องถามตัวเองก่อนว่า ความต้องการในการใช้มีดของเราคืออะไรอย่างไร นักดำน้ำที่ชอบยิงปลาอาจจะต้องการมีดแบบที่ทำความสะอาดปลาโดยการ ขอด ขูด แล่ ชำแหละปลาได้ ในขณะที่นักดำน้ำตามซากเรือจะต้องการมีดที่โต แข็งแรง บึกบึนกว่า แต่นักดำน้ำโดยทั่วไป มักมีความต้องการคล้ายคลึงกัน คือ อยากได้มีดสัก เล่มที่ใช้งานได้เอนกประสงค์

2. ควรมีความสมดุลย์ระหว่างตัวมีดและด้ามจับ ความสมดุลย์ในที่นี้รวมหมายถึงทุกชิ้นของมีด ได้แก่ ใบมีด กั่น ปุ่ม ด้ามมีด ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะต้องผสมผสานกันเป็นหนึ่งเดียว และเหมาะเจาะ

3. พวกที่ดำน้ำทำงานในน้ำเย็นจัดซึ่งจะต้องสวมถุงมือหนาๆ มักจะเลือกมีดชนิดที่มีด้ามจับใหญ่เพื่อจับกุมที่มั่นคงและทำงานได้คล่องตัว ด้ามจับจะทำด้วยยางหรือไม่ก็ พลาสติก แต่ด้ามยางจะให้ความกระชับกว่า ส่วนด้ามพลาสติกนั้นให้อายุในการใช้งานได้นานกว่า

4. คมมีดจะต้องมีระยะเวลาที่รักษาความคมของตัวเองได้นานสมเหตุผลก่อนที่จะมีการ ลับแต่งคมใหม่ นี่คือจุดสำคัญ ดังนั้นส่วนใหญ่แล้วทั้งมีดดำน้ำและมีดเดินป่ามักจะ เลือกใช้ 440-C ผลิตเป็นใบมีด ซึ่งมีใบมีดเหนียวแน่น แข็ง คม และสามารถตกแต่งยกคมให้มีความคมอยู่ได้เป็นเวลานาน

5. ปลอกมีดจะต้องมีขนาดพอดี ไม่คับไม่หลวมจนเกินไป และไม่ใหญ่โตเทอะทะจนเกินความจำเป็น และที่สำคัญปลอกมีดควรทำมาจากสารชนิดใหม่อย่าง "นีโอบรีน" หรือ "อีลาสติค" ซึ่งมีส่วนผสมของพลาสติกกับยางและสารสังเคราะห์อีกบางชนิด เพราะมันจะให้ความรู้สึกแน่นกระชับในยามสอดเก็บมีดหรือเมื่อรัดมีดนั้นไว้ กับขาหรือแขนของเรา และมันทนทานในการใช้งานในน้ำได้หลายๆอุณหภูมิ ไม่เหมือนพลาสติกซึ่งมักจะมีริ้วรอยข้างๆเมื่อนำไปใช้ในน้ำเย็นจัดบ่อยครั้ง และนานเกินไป


ที่มา http://www.e-travelmart.com/

ปัญหาและวิธีการแก้ไขของมีดทั่วๆไป


มี 3 ประการ ได้แก่ สนิม มีดมีกลิ่นเมื่อเสร็จจากการใช้งาน และความคมของมีด

1. เมื่อมีดเป็นสนิม สนิมกับมีดมักจะเป็นของคู่กัน แต่เรามีวิธีแก้ไขง่ายๆ คือ ใช้หัวหอมหรือมะนาวผ่าซีกนำมาถูที่ใบมีดไปมาสักพัก สนิมก็จะหลุดออกหมด ถ้าเราไม่ชอบวิธี นี้เพราะมะนาวมันแพง ก็ลองนำมีดมาปักลงไปในดินเหนียว แล้วทิ้งไว้สักชั่วโมงหนึ่ง

จากนั้นนำมาขัดด้วยขี้เถ้า มีดของเราก็จะสะอาดปราศจากสนิมอีกต่อไป เมื่อขจัดสนิม ออกไปหมดแล้วและไม่อยากให้สนิมเกิดขึ้นมาอีก วิธีการก็ไม่ยากเลย โดยการนำผ้ามาเช็ดมีดให้สะอาด แล้วใช้น้ำมันลับมีดหรือน้ำมันที่ใช้กับจักรเย็บผ้ามาทาให้ทั่วแล้วทิ้งไว้ เวลาจะใช้ก็เพียงแต่เช็ดน้ำมันออกเท่านั้นเอง หรือจะใช้ขมิ้นมาถูที่ใบมีดให้ทั่ว สนิมก็จะไม่มาเยี่ยมอีกเลย

นอกจากนี้ยังมีวิธีขจัดสนิมอีกวิธีหนึ่ง คือ เอาน้ำส้มสายชูใส่ ภาชนะแล้วนำไปตั้งไฟให้เดือด นำมีดไปจุ่มไว้สักพักใหญ่ๆ จากนั้นจำไปแกว่งในน้ำเย็นๆอีกทีหนึ่ง ล้างแล้วเช็ดให้สะอาดก็จะได้มีดที่เหมือนใหม่เลยทีเดียว

2. มีดมีกลิ่นเมื่อเสร็จจากการใช้งาน เช่น กลิ่นหัวหอมหรือกลิ่นกระเทียม เป็นต้น วิธีการแก้ไขก็ไม่ยากเลย เพียงนำมีดมาอังไฟสัก 2-3 นาที หรือจะใช้มีดเฉือนกับมันฝรั่งดิบ หรือไม่ก็ใช้รากของต้นคึ่นฉ่ายมาขัดก็ได้ กลิ่นต่างๆที่ติดอยู่กับใบมีดจะหายไปทันท

3. การรักษาความคมของมีด ไม่ว่ามีดนั้นจะมียี่ห้อใดและวิเศษแค่ไหนก็ตาม การใช้ก็ต้องรู้จักระมัดระวังดูแลรักษา

คือ

3.1) ไม่นำไปใช้ในสิ่งที่ไม่ควรใช้

3.2) หลังการใช้มีด


ควรล้างด้วยน้ำจืดสะอาดๆ ถ้ามีดมีคราบสกปรกมากๆก็ให้ใช้สบู่อย่างอ่อนล้างออกและเช็ดให้แห้งด้วยผ้า ที่ทำจากใยสังเคราะห์ ไม่ควรใช้ฝอยเหล็กขัด คราบนั้นออกใบมีดจะต้องแห้ง ถ้าเก็บมีดในซองหนังก็ต้องทำความสะอาดซองหนังบ้างด้วยสบู่อ่อนๆหรือน้ำยาทำ ความสะอาดหนัง

และเพื่อยืดอายุการใช้งานของมีด ควรใช้ วาสลินเคลือบใบมีดไว้บางๆสำหรับป้องกันอาการกร่อนตัวของโลหะก่อนเก็บเข้าซอง มีด อนึ่งเมื่อทำความสะอาดใบมีดแล้วก็อย่าลืมทำความสะอาดด้ามมีดด้วย และรู้จักหมั่น ลับใบมีดอยู่เสมอ

3.3) 3.3) ทุกครั้งที่นำมีดใช้กับงานที่เกี่ยวข้องกับน้ำเค็ม ต้องล้างมีดให้สะอาดด้วยน้ำจืด และพ่นสเปรย์น้ำยารักษาใบมีดก่อนเก็บเข้าปลอกมีด เพื่อรักษาใบมีดและป้องกัน สนิมไปในตัว




ที่มา http://www.e-travelmart.com/

เทคนิคการเลือกซื้อมีด


สำหรับ คนที่นิยมการใช้ชีวิตกลางแจ้ง ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดก็ตาม สิ่งหนึ่งที่ดูเหมือนจะขาดเสียมิได้ในกระเป๋าหรือที่สะเอวของเขาเหล่านั้นก็ คือ "มีดคู่มือ" หรือ "มีด ประจำตัว" สักเล่ม

ในปัจจุบันมีมีดที่ออกแบบมาสำหรับคนกลางแจ้งโดยเฉพาะมากมายหลายรูปแบบ มีดที่มีใบมีดตรงซึ่งมักจะขายควบคู่กับซองหนังเป็นมีดที่นิยมกัน อย่างกว้างขวางในหมู่นักแค้มป์ มีดชนิดนี้ถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้งาน และมีความทนทานเป็นอย่างยิ่ง

ใบมีด
เหล็กซึ่งใส่โครเมี่ยมลงไปด้วย 14% เรียกกันทั่วๆไปว่า "สแตนเลส สตีล" แต่นั่นไม่ได้หมายความว่ามันจะปลอดจากสนิมแน่นอน เพียงแต่มันมีคุณสมบัติในการต้านสนิม เพิ่มมากขึ้น

ใบมีดสแตนเลส สตีล ก็มีจุดเด่นอยู่เหมือนกันตรงที่เมื่อลับมีดให้คมแล้วเอาเก็บไว้ ความคมนั้นจะคงรูปอยู่นาน ในขณะที่ใบมีดที่เป็นเหล็กผสมคาร์บอนจะมีความทื่อเร็วกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอณูในส่วนประกอบของเนื้อเหล็ก เหตุผลนี้เองที่ทำให้สเตนเลส สตีล ดูเหมือนจะเป็นวัสดุที่ดีกว่าเมื่อนำมาทำใบมีด

หลัก 3 ประการ..สำหรับบุคลิกภาพของเหล็กใบมีด คือ

1. ความแข็ง
2. ความเหนียว
3. ความคงทน

ความแข็งเป็นบุคลิกภาพที่โยงใยกับความคงทน เหล็กที่แกร่งมักจะมีความคมเพิ่มขึ้น ซึ่งไม่บิ่นง่าย ส่วนความเหนียวก็คือไม่หักหรือเปราะ แต่ความแข็งกับความเหนียวมีผล ในทางลบซึ่งกันและกัน เหล็กยิ่งแกร่งก็ยิ่งเหนียวน้อย คือ แกร่งแข็งแต่หักง่าย ดังนั้นเหล็กยิ่งแกร่งมาก ความคงทนอันเป็นรูปลักษณ์ของใบมีดจึงยิ่งลดลง ดังนั้นในการเลือก ใบมีดควรพิจารณาความแกร่ง เพราะนั้นหมายถึงเราได้ความคมและความเหนียวเป็นเรื่องรอง เราสามารถยืดอายุของใบมีดได้ด้วยการใช้อย่างระมัดระวังและต้องเอาใจใส่ ดูแลรักษา

โดยปกติส่วนใหญ่แล้ว ช่างมีดจะใช้โลหะชนิด "สแตนเลส สตีล 440-C" มาผลิตเป็นใบมีด ซึ่งไม่ได้หมายความว่า 440-C เป็นโลหะที่ดีเลิศสมบูรณ์แบบแต่อย่างใด ถ้าเทียบ กันทางด้านความแข็งหรือการรักษาความคมแล้ว ยังมีโลหะแบบอื่นๆเหนือกว่า 440-C ถมเถไป มีดที่ผลิตด้วยสแตนเลส 440-C นั้น จะเป็นโลหะที่มีเนื้อเปราะ ทำให้คมมีด ปราศจากความแกร่ง เกิดอาการบิ่นทื่อสึกหรอง่าย แต่จากการที่เป็นที่นิยมในการผลิตหรือนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ก็คือ มันมีคุณสมบัติด้านปลอดสนิมที่ดีเยี่ยม

ค่าความแข็งของใบมีด
"ค่าของความแข็งกับการรักษาความคมนั้น มันเป็นปฏิภาคผกผันต่อกัน" หมายความ ว่าถ้าค่าความแข็งมากมีดอาจรักษาความคมได้น้อย แต่ถ้าค่าของความแข็งน้อย มีดก็จะ รักษาความคมได้มาก

การวัดค่าความแข็งของโลหะนั้นเขาใช้เครื่องวัดโดยการตอกหัวเพชรลงบนแท่งโลหะ หรือบนใบมีดที่ขึ้นรูปแล้ว ได้ระดับความลึกเท่าไร ก็จะอ่านค่าออกมาเป็นความแข็ง สัมพัทธ์ของโลหะชิ้นนั้นเทียบความแข็งของเพชรซึ่งมีค่าเป็นศูนย์ วิธีนี้ยึดถือกันเป็นมาตราฐาน ฉะนั้นถ้าโลหะแข็ง..ระดับความลึกก็จะน้อย ค่าความแข็งสัมพัทธ์ของโลหะจึง น้อยตามค่าที่อ่านได้ และถ้าโลหะอ่อน..ระดับความลึกก็จะมาก ค่าความแข็งสัมพัทธ์ของโลหะจึงมากตามกัน ค่าความแข็งสัมพัทธ์ของโลหะนี้ เรามีหน่วยวัดกันเป็น " ร็อคเวลล์" (ROCKWELL) เช่น โลหะที่มีความแข็ง 54 ร็อคเวลล์ กับโลหะที่มีความแข็ง 64 ร็อคเวลล์นั้น โลหะ 54 ร็อคเวลล์ จะแข็งกว่า 64 ร็อคเวลล์ อยู่ 10 เท่า เมื่อ เทียบกับความแข็งของเพชร

คุณภาพของมีด
เรา สามารถดูได้จากคมมีด ต้องเลือกมีดที่มีส่วนคมค่อนข้างแข็ง แต่ต้องไม่แข็งจนเกินไปเพราะจะลับมีดได้ยาก ถ้าคมมีดอ่อนก็จะบิ่นง่ายเมื่อถูกของแข็งๆ โดยทั่วไปในแค ตตาล็อคมีดจะมีการแจ้งระดับความแข็งของเหล็กใบมีดที่ทดสอบโดยเครื่องทดสอบ ความแข็งของร็อคเวลล์ไว้ สำหรับใบมีดโดยทั่วไปจะนิยมใช้เหล็กที่มีความแข็งระดับ RC57-60 ถ้าหมายเลขนี้สูงขึ้น..ความเหนียวของเหล็กใบมีดก็จะมากขึ้น แต่ถ้าหมายเลขต่ำกว่านี้..ความเหนียวของเหล็กใบมีดก็จะลดน้อยลง

ลักษณะของมีดเดินป่าที่ดี
เรา สามารถดูได้จากคมมีด ต้องเลือกมีดที่มีส่วนคมค่อนข้างแข็ง แต่ต้องไม่แข็งจนเกินไปเพราะจะลับมีดได้ยาก ถ้าคมมีดอ่อนก็จะบิ่นง่ายเมื่อถูกของแข็งๆ โดยทั่วไปในแค ตตาล็อคมีดจะมีการแจ้งระดับความแข็งของเหล็กใบมีดที่ทดสอบโดยเครื่องทดสอบ ความแข็งของร็อคเวลล์ไว้ สำหรับใบมีดโดยทั่วไปจะนิยมใช้เหล็กที่มีความแข็งระดับ RC57-60 ถ้าหมายเลขนี้สูงขึ้น..ความเหนียวของเหล็กใบมีดก็จะมากขึ้น แต่ถ้าหมายเลขต่ำกว่านี้..ความเหนียวของเหล็กใบมีดก็จะลดน้อยลง

1. ควรเป็นมีดที่ใช้งานได้ทุกประเภท เพราะการไปตั้งแค้มป์แต่ละครั้ง เครื่องมือในการช่วยหาฟืน หากิ่งไม้มาทำขาตั้งหม้อสนามหรือทำเพิงที่พักต่างๆ เราก็ต้องใช้มีด สนามหรือมีดเดินป่า ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบมากมาย อาทิ มีดโบวี่..เป็นมีดที่นิยมใช้กันมาก บางแบบมีด้ามจับกลวงซึ่งจะบรรจุสิ่งของจำเป็นไว้มาก เช่น เข็ม เบ็ดตกปลา เอ็น ด้าย เลื่อยเส้นเล็กๆ เข็มทิศ เป็นต้น

2. ควรเป็นมีดที่มีขนาดกลาง น้ำหนักพอเหมาะที่จะใช้ฟันกิ่งไม้ท่อนไม้ได้ ไม่ควรใช้มีดที่มีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไป และมีดที่เรานำติดตัวไปนั้น ควรต้องมีปลอกมีดด้วย อนึ่งควรมีมีดขนาดเล็กหรือมีดพับติดตัวไปด้วยเสมอ ซึ่งมีดพับบางรุ่นบางชนิดจะมีอุปกรณ์มากมายซ่อนอยู่ในด้ามมีดนั่นเอง

ลักษณะของมีดพับที่ดี
นอก จากมีดเดินป่าแล้ว นักเดินป่าทุกคนควรมีมีดขนาดเล็กหรือมีดพับติดตัวไปด้วยเสมอ ซึ่งมีดพับบางรุ่นบางชนิดจะมีอุปกรณ์มากมายซ่อนอยู่ในด้ามมีดนั่นเอง ซึ่งลักษณะ ของมีดพับที่ดี ได้แก่

1. ปลายมีดเมื่อพับแล้วต้องซ่อนปลายมีดได้สนิทแนบแน่น
2. หมุดซึ่งย้ำตัวด้ามต้องสนิทแนบแน่น ไม่เป็นตะปุ่มตะป่ำจนทำให้เวลาใช้รู้สึกเจ็บมือ
3. ใบมีดที่ดีเมื่อง้างใบมีดออก จะต้องเดินออกจากด้ามมีดอย่างราบรื่น และมีเสียงดังคลิ๊กเล็กน้อย ซึ่งนักเลงมีดเรียกว่า "ใบมีดพูด" นอกจากนี้ใบมีดกับตัวด้ามต้องประสาน กันเป็นแนวตรงเมื่อง้างใบมีดออก ไม่ใช่บิดเบี้ยว เพราะแม้แต่นิดเดียวก็ถือว่าเป็นจุดบอดของมีดนั้น
4. ใบมีด ด้าม และกั่น ซึ่งทำจากเหล็ก ไม้ และทองเหลือง ต้องสอดประสานกันเป็นหนึ่งเดียวโดยไม่มีช่องว่าง
5. สำหรับงานกลางแจ้ง ควรเลือกมีดพับที่มีขนาดใบมีดยาวประมาณ 2-4 นิ้ว (อย่าให้มีขนาดเล็กหรือใหญ่จนเกินไป) จงจำไว้ว่าด้ามมีดควรมีความยาวกว่าใบมีดประมาณ 1 นิ้ว เช่น ถ้ามีดของเรามีใบมีดยาว 4 นิ้ว ความยาวของตัวด้ามก็คือ 5 นิ้ว เมื่อเราดึงมีดออกมาใช้ก็จะมีความยาวทั้งสิ้น 9 นิ้ว ซึ่งน่าจะเพียงพอและเหมาะมือดีสำหรับคนกลาง แจ้งอย่างเราๆ
6. ขณะใช้งาน จงอย่าลืมว่ามีดที่อยู่ในมือของเรา คือ มีดพับขนาดเล็กๆเล่มหนึ่งเท่านั้น จึงไม่ควรใช้งานมีดพับขนาดทารุณกรรม เพราะนอกจากมีดของเราอาจจะเกิด ปัญหาแล้ว มือของเราก็อาจจะมีปัญหาด้วยเช่นกัน


ที่มา http://www.e-travelmart.com/