การดูแลรักษาเต็นท์

การดูแลรักษาเต็นท์ให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องยาก ลองอ่านวิธีการเหล่านี้ดูแล้วคุณจะรู้ว่า เต็นท์ดูแลง่ายนิดเดียว
  1. ฝึกกางเต็นท์ให้ถูกวิธี การที่คุณเรียนรู้วิธีการกางเต็นท์อย่างถูกวิธี จะทำให้เต็นท์ของคุณไม่เกิดความเสียหาย เพราะบางครั้งการกางเต็นท์ไม่ถูกวิธี อาจทำให้อุปกรณ์บางชิ้นเกิดความเสียหายได้ เช่น อาจจะใส่เสาเต็นท์ผิดอันทำให้เกิดความเสียหายเวลางอเสาเข้ากับเต็นท์ เป็นต้น
  2. อย่าเก็บเต็นท์ของคุณขณะที่เปียกถ้าไม่จำเป็น เพราะอาจจะทำให้เกิดกลิ่นอับได้ เราควรจะนำเต็นท์มาผึ่งลมให้แห้งก่อนและนำเศษสิ่งสกปรกออกจากเต็นท์ แล้วจึงปิดซิปให้เรียบร้อย
  3. ไม่ควรใช้สารเคมีในการทำความสะอาดเต็นท์ เพราะสารเคมีเหล่านี้จะทำลายสารที่เคลือบเต็นท์ไว้ ควรใช้แค่ผ้าชุบน้ำเช็ดก็พอ ห้ามใช้แปรงขัดเพราะแปรงจะทำให้สารเคลือบหลุดออกเช่นกัน
  4. ใช้ผ้าพลาสติกปูรองพื้น ผ้ารองพื้นจะใช้ปูรองพื้นก่อนกางเต็นท์ ประโยชน์คือช่วยปกป้องตัวเต็นท์จากหินและกิ่งไม้อันแหลมคม ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะทำให้พื้นเต็นท์เกิดความเสียหายได้ และนอกจากนี้ยังช่วยลดเวลาในการทำความสะอาด เพราะเราเพียงแต่ทำความสะอาดที่ผ้าปูเท่านั้น
  5. ใช้สมอบกปักเต็นท์ บางคนอาจคิดว่าสมอบกไม่จำเป็นเพราะเต็นท์สามารถทรงตัวได้อยู่แล้ว แต่บางครั้งเมื่อลมแรง เต็นท์อาจจะมีการพลิกซึ่งอาจจะทำให้เต็นท์เสียหาย ถ้าช่วงที่คุณกางเต็นท์มีลมแรงควรจะนำสัมภาระเข้าไปไว้ในเต็นท์ แล้วปักสมอบกยึดไว้ ซึ่งจะช่วยป้องกันเต็นท์พลิกจากแรงลมได้
  6. ใช้อุปกรณ์ซ่อมแซมเต็นท์ถ้าจำเป็น หากเต็นท์คุณเกิดการเสียหาย เช่น ผนังเต็นท์มีรอยฉีกขาด ควรใช้พวกผ้าเทปปิดรอยขาดนั้นไว้ มิฉะนั้นรอยขาดนั้นจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ (ลองคิดถึงเสื้อผ้าที่ขาดดู ถ้าเรายิ่งดึงก็จะยิ่งขาดมากขึ้น) อุปกรณ์ซ่อมแซมเต็นท์สามารถหาซื้อได้ตามร้านอุปกรณ์แค้มปิ้งทั่วไป
thank http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_6.html

ตัวอย่างวิธีการกางเต็นท์อย่างถูกวิธี

ตัวอย่างวิธีการกางเต็นท์แบบง่ายๆ ที่จะทำให้คุณรู้สึกว่าการกางเต็นท์ไม่ใช่เรื่องยาก ตัวอย่างที่มาแสดงจะเป็นการกางเต็นท์โดม ถ้าเป็นแบบอื่นๆ ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้

1. นำเต็นท์และอุปกรณ์ต่างๆ ออกมาจากถุง ตรวจสอบว่าอุปกรณ์ครบถ้วน

2. เริ่มด้วยการติดตั้งโครงเต็นท์ โดยเอาบริเวณปลายของโครงเสียบกับตรงมุมเต็นท์ ซึ่งจะมีช่องสำหรับเสียบโครงเต็นท์อยู่ หลังจากนั้นให้นำขอเกี่ยวบริเวณตัวเต็นท์ นำมาเกี่ยวกับตัวโครง ถึงขั้นตอนนี้เต็นท์ของคุณจะขึ้นเป็นรูปได้แล้ว สำหรับบางรุ่นอาจจะต้องมีการเอาตัวโครงมาสอดกับตัวเต็นท์ให้ทะลุไปอีกด้าน หนึ่งแล้วงอโครงโดยให้ปลายทั้งสองข้างเสียบเข้าไปในช่องที่มุมเต็นท์

3.หลังจากตั้งโครงแล้วก็จะได้เต็นท์ ที่พร้อมจะกางฟลายชีทได้

4.ติดตั้งเสาสำหรับฟลายชีท โดยนำเสามาพาดกลางเต็นท์และผูกตัวเสาฟลายชีทกับบริเวณกลางเต็นท์ที่เสาโครงเต็นท์สองด้านตัดกัน

5. ติดตั้งฟลายชีทโดยนำขอเกี่ยวของฟลายชีทเกี่ยวกับบริเวณมุมเต็นท์ทั้ง 2 ด้าน แล้วนำฟลายชีทมาพาดเสากลาง

6. ติดตั้งฟลายชีทอีกด้าน เมื่อเสร็จเรียบร้อยก็จะได้เต็นท์ที่เสร็จสมบูรณ์

thank http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_7.html

ข้อควรพิจารณาในการเลือกซื้อเต็นท์

ก่อนที่เราจะซื้อเต็นท์สักหลัง เราควรพิจารณาข้อมูลต่างๆ หลายๆ ด้าน แรกสุด เราควรจะสามารถตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้เสียก่อนที่จะพิจารณาเลือกซื้อเต็นท์ สักหลัง
  • จะซื้อเต็นท์แบบไหนดีนะ
    เราเที่ยวบ่อยแค่ไหน?
    ถ้าในปีหนึ่งๆ เราเที่ยวแค่ไม่กี่ครั้ง ก็อาจจะยืมเต็นท์เพื่อนๆ เอาจะคุ้มกว่า เพราะถ้าเสียเงินซื้อไปแล้วไม่ค่อยได้ใช้ อุปกรณ์บางอย่างจะเสื่อมตามกาลเวลา เช่น สารเคลือบเต็นท์บริเวณผนังเต็นท์อาจจะหลุดลอกเมื่อเวลาผ่านไป เป็นต้น
  • งบประมาณมีเท่าไร? งบประมาณจะส่งผลต่อเต็นท์ที่เราจะเลือกซื้อ ถ้างบประมาณเราน้อยก็อาจจะได้เต็นท์ที่มีคุณสมบัติไม่มากเท่าไร ถ้าคุณต้องการเต็นท์ที่ดี แน่นอนก็ต้องจ่ายแพงกว่า ทั้งนี้ขึ้นกับงบประมาณของคุณเป็นหลัก เพราะใครๆ ก็อยากได้เต็นท์ที่ดีอยู่แล้ว
  • เต็นท์ที่เราซื้อจะไปใช้กับการเดินทางท่องเที่ยวแบบไหน? เช่น การขับรถเที่ยว (คาร์แค้มป์) หรือการเดินป่า เป็นต้น ถ้าหากคุณชอบขับรถเที่ยว น้ำหนักของเต็นท์อาจจะไม่สำคัญเท่าไรในการพิจารณาเลือกซื้อ แต่หากคุณต้องเดินป่าระยะไกลก็อาจจะต้องพิจารณาถึงเรื่องน้ำหนักและ คุณสมบัติเฉพาะบางอย่างเป็นพิเศษ ทั้งนี้ขึ้นกับสไตล์การท่องเที่ยวของคุณ
  • ภูมิอากาศของสถานที่ที่เราไปแค้มปิ้ง หากคุณชอบไปป่าหน้าฝน พวกอุปกรณ์กันฝนก็เป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อ เพราะเต็นท์บางรุ่นจะมีอุปกรณ์กันฝนมาให้ (เช่น ฟลายชีท) บางรุ่นก็ไม่มี
  • ขนาดของเต็นท์ที่คุณต้องการ คุณต้องการเต็นท์ที่นอนได้กี่คน ไม่ใช่ว่าเต็นท์ขนาดใหญ่จะดีกว่าเต็นท์ขนาดเล็ก เพราะขนาดจะแปรผันตรงกับน้ำหนัก หากไปป่าที่ต้องเดินก็ควรพิจารณาซื้อเต็นท์เล็กนอนได้ 1-2 คน ถ้าเที่ยวกับรถก็ซื้อใหญ่กว่าก็ได้ไม่มีปัญหา

หลังจากที่คุณสามารถตอบคำถามในใจคุณได้แล้ว ลองดูในใบตัวอย่างสินค้าของแต่ละยี่ห้อ คุณก็จะสามารถเลือกเต็นท์ได้แล้วว่ามีรุ่นไหนที่ตรงกับที่คุณต้องการบ้าง คราวนี้ก็ถึงเวลาที่เราต้องไปซื้อเต็นท์กันแล้ว เราจะมีวิธีเลือกและตรวจสอบตัวเต็นท์ที่จะซื้ออย่างไรบ้าง

  1. เมื่อเราได้คำตอบแล้วว่าเราต้องการเต็นท์แบบไหน ก็ลองหารายละเอียดตัวอย่างสินค้าของแต่ละยี่ห้อมาดูก่อน ศึกษาก่อนว่าแต่ละยี่ห้อมีรุ่นไหนที่ตรงกับความต้องการของคุณบ้าง ซึ่งคุณควรพิจารณายี่ห้อของเต็นท์ที่คุณจะซื้อด้วยว่ามีบริการเป็นอย่างไร ถ้าสินค้ามีปัญหาจะนำมาเปลี่ยนหรือซ่อมได้หรือไม่
  2. พาเพื่อนๆ ที่ชอบเที่ยวกับคุณมาช่วยเลือกเต็นท์กับคุณด้วย เพราะเขาเหล่านั้นอาจจะได้มานอนในเต็นท์ที่คุณซื้อ ให้เขาช่วยตัดสินใจกับคุณ ยังไงซะหลายตาดีกว่าตาเดียว บางครั้ง เพื่อนบางคนอาจจะเคยมีประสบการณ์ในการใช้เต็นท์บางประเภท ซึ่งจะสามารถให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมได้อีกด้วย
  3. ลองกางเต็นท์ดู แกะออกจากถุงแล้วลองกางดูว่ากางยากหรือเปล่า เต็นท์บางรุ่นกว่าจะกางได้เสร็จเล่นเอาเหนื่อยเหมือนกัน ถ้าสงสัยอะไรก็ให้ถามพนักงาน แล้วลองดูสเป็คข้างถุงเต็นท์ว่าตรงกับตัวเต็นท์หรือเปล่า
  4. มุดเข้าไปในตัวเต็นท์ลองนั่งดูว่าพื้นที่ใช้สอยมากพอตามความต้อง การหรือไม่ หน้าต่างระบายอากาศมีมากพอหรือไม่ แล้วลองนั่งจินตนการดูว่าพวกกระเป๋า รองเท้า อุปกรณ์ต่างๆ ของเราจะวางไว้ตรงไหนของเต็นท์ แล้วจะมีที่เหลือพอสำหรับนอนหรือเปล่า
  5. ตรวจสอบตะเข็บเต็นท์ตามมุมต่างๆ ว่าเย็บดีหรือไม่ ลองรูดซิปตามประตูหน้าต่างดูว่ามีปัญหาหรือไม่
  6. ตรวจสอบการเคลือบผิวของสารกันน้ำตามตัวเต็นท์ หรือฟลายชีทที่มากับเต็นท์ ตามปรกติพวกฟลายชีทและผนังเต็นท์มักจะเคลือบสารเพื่อกันน้ำซึมไหลเข้าเต็นท์ เอาไว้
  7. หลังจากตรวจสอบทุกอย่างเรียบร้อย ก็ลองเก็บเต็นท์ดูว่าเก็บยากหรือไม่
  8. ถ้าคุณตัดสินใจแล้วว่าเต็นท์นี้แหละที่ใช่แบบที่คุณต้องการ คราวนี้ก็ต้องมาเลือกสีกันแล้ว เต็นท์แต่ละรุ่นจะมีสีให้เลือกไม่มากนัก ไม่เหมือนเสื้อผ้าที่มีสีหลากหลาย ข้อควรพิจารณาคือ สีอ่อนจะช่วยให้แสงส่องผ่านเต็นท์ได้ดีกว่าสีเข้ม ส่วนสีเข้มจะดูดความร้อนได้ดีกว่าสีอ่อน หากใช้ในที่อากาศหนาวก็จะทำให้อุ่นขึ้น ทั้งนี้ขึ้นกับผู้ซื้อด้วยว่าชอบสีสไตล์ไหน
thank http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_5.html

ส่วนประกอบของเต็นท์

ส่วนประกอบของเต็นท์

  1. พื้นเต็นท์
    เป็นส่วนที่สัมผัสกับพื้นดิน สามารถกันน้ำและมีความทนทานสูง
  2. ตัวเต็นท์
    เป็นส่วนที่อยู่เหนือพื้นเต็นท์ขึ้นมา ทำหน้าที่กันลม ฝน
  3. เสาหรือโครงเต็นท์
    เป็นส่วนที่ช่วยทำให้เต็นท์ทรงตัวอยู่ได้ เสาเต็นท์ที่นิยมใช้กัน จะมีเป็นแบบอลูมิเนียม และไฟเบอร์กลาส ซึ่งถ้าเป็นเต็นท์สามเหลี่ยม เสาที่ใช้มักจะเป็นอลูมิเนียม ส่วนเต็นท์โดม เต็นท์อุโมงค์จะใช้เป็นไฟเบอร์กลาส ซึ่งมีน้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่นสูง สามารถโค้งงอได้
  4. ฟลายชีท
    จะเป็นผ้าที่ใช้กันลมและฝน คุณสมบัติทั่วไปของฟลายชีทคือ สามารถกันน้ำได้เนื่องจากมีการเคลือบสารกันน้ำเอาไว้ ทำให้เวลาฝนตกน้ำจะไม่ไหลเข้าสู่ตัวเต็นท์

    gear_4_3.jpg

  5. สมอบกและเชือก
    ใช้สำหรับยึดเต็นท์กับพื้นดิน เพื่อไม่ให้ปลิวไปกับลม สมอบกจะมีทั้งแบบอลูมิเนียม พลาสติก ซึ่งแต่ละแบบจะมีความแข็งแรงและน้ำหนักไม่เท่ากัน
  6. ประตูและหน้าต่าง
    ใช้สำหรับเป็นทางเข้าออกและเป็นช่องทางระบายอากาศ เต็นท์โดยส่วนใหญ่จะมีประตูด้านเดียว แต่ในบางรุ่นก็มีประตูเข้าออกได้ทั้งสองด้าน ส่วนหน้าต่างจะขึ้นอยู่กับชนิดและรุ่นของเต็นท์ เต็นท์บางชนิดที่ใช้กับอากาศหนาวมากๆ อาจจะไม่มีหน้าต่างเลยก็ได้
  7. ช่องเก็บของ
    เต็นท์บางรุ่นจะมีช่องเก็บของด้านใน ซึ่งจะอยู่บริเวณติดกับผนังเต็นท์ด้านข้าง หรือด้านบนตัวเต็นท์ตรงกึ่งกลาง ซึ่งจะพอเก็บของจุกจิกได้เล็กน้อย เช่น แว่นตา ไฟฉาย ฯลฯ

    gear_4_1.jpg gear_4_2.jpg
thank http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_4.html

มารู้จักชนิดและประเภทของเต๊นท์

เต็นท์แบบสามเหลี่ยม (Pup Tent)

คือเต็นที่ใช้เสาเต็นท์และสมอบกในการกาง โดยจะมีเสาเต็นท์ 2 ข้างบริเวณประตูเป็นตัวยึดโครงเต็นท์ เต็นท์ลักษณะนี้จำเป็นต้องใช้สมอบกและเชื่อกขึงตามมุมเพื่อทำการยึด เต็นท์ เมื่อกางเสร็จแล้วจะมีลักษณะคล้ายสามเหลี่ยมทรงปริซึ่ม (รูปเต็นท์สามเหลี่ยม) ข้อเสียของเต็นท์ชนิดนี้คือกางยากและพื้นที่ใช้สอยไม่มาก เพราะจะเสียพื้นที่บริเวณมุมเต็นท์เพราะผนังจะมีลักษณะลาดเอียง และมักจะมีน้ำเกาะบริเวณผนังเต็นท์ แต่ในบางรุ่นในปัจจุบันก็มีการออกแบบให้มีฟลายชีสอีกชั้นหนึ่งเพื่อกันฝน

เต๊นท์แบบธรรมดา

เต็นท์โครง (A Frame)

เต็นท์โครงจะมีลักษณะคล้ายกับเต็นท์แบบสามเหลี่ยม แต่จะมีลักษณะของโครงสร้างต่างไป โดยแทนที่จะที่จะมีเสาทั้งสองด้านของตัวเต็นท์เพื่อยึดตัวเต็นท์ จะใช้โครงเหล็กลักษณะคล้ายกับตัว A ยึดกับแกนที่มีลักษณะเป็นแนวยาวขนานกับตัวเต็นท์ด้านบน พื้นที่ใช้สอยจะมีมากกว่าแบบสามเหลี่ยม เต็นท์ลักษณะนี้จะต้องปักสมอบกเพื่อยึดตัวเต๊นท์ให้เกิดความแข็งแรง (คล้ายกับเต๊นท์แบบสามเหลี่ยม) ในบ้านเราก็มีจำหน่ายเต็นท์ลักษณะนี้แต่ยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก

เต๊นท์แบบ A Frame
ลักษณะของโครง A Frame

เต็นท์โดม (Dome)

เต๊นท์โดม
เต็นท์ โดม คือเต็นท์ที่ใช้โครงเสาไฟเบอร์ในการกาง แต่จะใช้สมอบกเพื่อยึดเต็นท์ให้อยู่กับที่เท่านั้น (รูปเต็นท์โดม) (ตารางเปรียบเทียบเต็นท์) จากตารางเปรียบเทียบจะเห็นได้ว่าเต็นท์โดมมีคุณสมบัติที่โดดเด่นและเหนือ กว่าเต็นท์สามเหลี่ยมมากโดยเฉพาะคุณสมบัติที่เคลื่อนย้ายง่ายและกางได้ทุก พื้นที่ เพราะในบางครั้งเรามีความจำเป็นที่จะต้องกางเต็นท์บนพื้นดินที่แข็งมาก ,บนลานหิน ,บนลานปูน หรือบนพื้นที่ที่ไม่อาจจะตอกสมอบกได้ และในบางครั้งเราก็ต้องมีการย้ายพื้นที่กางเต็นท์ในขณะที่กางเต็นท์ไปแล้ว เช่นกางอยู่บนรังมด หรือมีเศษไม้ เศษหินอยู่ใต้เต็นท์ เราก็สามารถที่จะยกเต็นท์โดมออกแล้งย้ายกรือหยิบเศษไม้เศษหินเหล่านั้นออกไป ได้โดยไม่ต้องเสียเวลากางเต็นท์ใหม่เหมือนเต็นท์ สามเหลี่ยม และด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดนี้จึงขอแนะนำให้ใช้เต็นท์โดมมากกว่า เต็นท์สามเหลี่ยม

เต็นท์แบบกระโจม (Teepee)

เต๊นท์ทรงอินเดียแดง
เต็นท์ กระโจมจะมีลักษณะคล้ายกับกระโจมของอินเดียแดง โดยจะมีเสาเพียงต้นเดียว ลักษณะของเต็นท์ชนิดนี้จะเหมือนกับมีฟลายชีสมาคลุมพื้นไว้เป็นรูปกระโจมเท่า นั้น โดยจะมีเสาอยู่ตรงกลาง ทางเข้าของเต็นท์ชนิดนี้จะเอียงตากความชันของกระโจม พื้นด้านล่างเมื่อกางเสร็จจะไม่เป็นสี่เหลี่ยมเพราะจะเสียพื้นที่ตรงความชัน ของกระโจม เราจะไม่ค่อยพบเต็นท์แบบนี้มากนักในบ้านเรา (ตั้งแต่เที่ยวมายังไม่เคยเห็นใครใช้แบบนี้เลย) ข้อดีของเต็นกระโจมจะมีน้ำหนักเบาและติดตั้งง่ายเพราะมีเสาเพียงแค่ต้นเดียว (แต่บางแบบก็มีการพัฒนาให้มีเสาสองต้น เพื่อเพิ่มพื้นที่ด้านใน) ข้อเสียของเต็นท์ชนิดนี้ไม่สามารถใช้กับอากาศทุกประเภทเช่น อากาศที่ฝนตก เพราะน้ำอาจเข้าได้

เต็นท์แบบอุโมงค์ (Tunnel or Hoop)

เต็นท์ทรงอุโมงค์
เต็นท์ แบบอุโมงค์จะใช้เสาประมาณ 2-3 เสา โดยเสาจะสามารถงอให้เป็นรูปโค้งคล้ายกับห่วงครึ่งวงกลม ทำให้มีลักษณะคล้ายกับอุโมงค์ถ้านำมาเรียงต่อกัน โดยเสาที่โค้งเป็นครึ่งวงกลมนี้จะทำหน้าที่ยึดตัวเต็นท์ไว้ พื้นที่ใช้สอยของเต็นท์ลักษณะนี้จะค่อนข้างมาก เพราะเป็นทรงสูงจะไม่เสียพื้นที่กับการลาดเอียงของผนังเต็นท์ ขนาดของเต็นท์ชนิดนี้จะไม่ใหญ่มาก (ส่วนใหญ่จะนอนไม่เกิน 4 คน) เพราะถ้ามีขนาดใหญ่จะทำให้รูปทรงไม่สามารถต้านลมได้ ข้อดีของเต็นท์ชนิดนี้คือกางง่าย น้ำหนักเบา พื้นที่ใช้สอยมาก ส่วนข้อเสียคือกันลมได้ไม่ดี เพราะมีความลาดชันของผนังเต็นท์น้อยทำให้ต้านลม เต็นท์ชนิดนี้บางครั้งก็มีอุปกรณ์เสริมเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ เต็นท์ เช่น ฟลายชีสกันฝน ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นกับผู้ผลิตเต็นท์ว่าจะทำอุปกรณ์เสริมชนิดใดออกมา

เต็นท์แบบกึ่งถุงนอน (Bivy Sacks)

Bivy Sacks
เต็นท์ ลักษณะนี้จะมีลักษณะคล้ายกับถุงนอนแต่จะมีส่วนที่ใช้ครอบศีรษะ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเต็นท์เล็ก ๆ บนศีรษะ เต็นท์ลักษณะนี้จะมีพื้นที่ใช้สอยน้อย แค่นอนไปก็ที่เต็มแล้ว และไม่เหมาะกับสภาพภูมิอากาศที่ฝนตก เพราะกันฝนได้ไม่ดี เหมาะสำหรับอากาศแบบทั่ว ๆ ไป หากเกรงว่าฝนจะตกก็อาจจะใช้ฟลายชีสกันฝนอีกชั้นหนึ่ง เราจะม่ค่อยเต็นท์ลักษณะนี้กันมากนัก ข้อดีของเต็นท์ชนิดนี้คือน้ำหนักเบา เหมาะที่สุดสำหรับการนอนดูดาว

เต็นท์สปริง (Spring)

เป็นเต็นท์ที่ใช้ขดลวดสปริงเป็นโครงอยู่ภายในดังนั้นมันจึง เป็นเต็นท์ที่กางง่ายที่สุดในบรรดาเต็นท์ทั้ง 3 ชนิด คือแค่โยนขึ้นไปในอากาศโครงสปริงก็จะดันตัวเต็นท์ให้ดีดดึ๋งกางเสร็จสรรพใน พริบตาแต่ไม่แนะนำให้ซื้อเต็นท์ประเภทนี่มาใช้เพราะมีโครงสร้างที่ไม่แข็ง แรงแค่ลมพัดมาก็จะปลิวแล้ว และเต็นท์ที่ผลิตก็จะมีขนาดเพียง 2-3 คนนอนเท่านั้น แถมเวลาเก็บยังมีขนาดใหญ่และเกะกะกว่าเต็นท์แบบอื่นๆอีกด้วย

thank http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_3.html

วิธีการทำความสะอาดถุงนอนขนเป็ด

คำร่ำลือเกี่ยวกับถุงนอนขนเป็ดที่เรามักจะได้ยินกันโดยมากแล้ว ก็คือว่าห้ามให้ถุงนอนขนเป็ดโดนน้ำโดยเด็ดขาด มิฉะนั้นคุณภาพของขนเป็ดจะเสื่อมลงและไม่สามารถกันหนาวได้เต็มคุณสมบัติ เหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม เมื่อใช้ไปนานๆ เข้า ความจำเป็นที่จะต้องทำความสะอาดถุงนอนขนเป็ดก็ย่อมจะเกิดขึ้นอย่างหลีก เลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นถุงนอนขนเป็ดมือหนึ่งใบเก่งของเราเองที่อาจจะใช้นานมากจนเริ่ม สกปรกทนไม่ไหวแล้ว หรืออาจจะเมื่อเราซื้อถุงนอนขนเป็ดมือสองมาและได้กลิ่นอับที่ไม่พึงปรารถนา ติดมาด้วย

ดังนั้น สิ่งที่เราควรจะทำความเข้าใจกันก่อนก็คือ เรา สามารถทำความสะอาดถุงนอนขนเป็ดได้ แต่ เฉพาะในกรณีที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น โดยจะต้องใช้น้ำยาทำความสะอาดที่ผลิตมาสำหรับทำความสะอาดขนเป็ดโดยเฉพาะ และจะต้องทำตามขั้นตอนต่างๆ ดังต่อไปนี้

  1. แกะซิปออกและแผ่ถุงนอนออกเป็นผืน นำไปแช่น้ำอุ่นในอ่างอาบน้ำ หรือในอ่างน้ำใหญ่ๆ ที่เราสามารถจะแผ่ถุงนอนออกได้ โดยแช่ทิ้งไว้หนึ่งคืน
  2. ซักด้วยมือโดยใช้น้ำยาที่ไม่ใช่ผงซักฟอก (Non-detergent Soap) หรือใช้น้ำยาที่มีผู้ผลิตออกมาเฉพาะสำหรับการซักขนเป็ด (เช่นของยี่ห้อ Nikwax) ควรจะขยี้ฟองแล้วค่อยๆ ใช้มือนวดไปให้ทั่วๆ ถุงนอน (ห้ามใช้น้ำยาซักแห้งมาซักขนเป็ด เพราะสารเคมีในน้ำยาซักแห้งจะเป็นตัวทำลายขนเป็ด ทำให้คุณภาพเสื่อมลง)
  3. ถ้าถุงนอนสกปรกมากๆ จริงๆ ก็ให้แช่ทิ้งไว้ในน้ำผสมน้ำยานั้นประมาณ 2-3 ชั่วโมง
  4. ล้างออกด้วยน้ำสะอาด ล้างไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมดฟอง
  5. จากนั้นจึงบีบน้ำออกจากตัวถุงนอน แต่จะต้องค่อยๆ บีบไล่ไปจนทั่วถุงนอน โดยยังวางถุงนอนแผ่ไว้ในอ่างอยู่ (ห้ามน้ำถุงนอนขึ้นมาบิดเหมือนบิดผ้าโดยเด็ดขาด)
  6. ค่อยๆ ยกถุงนอนที่แห้งหมาดๆ แล้วขึ้นมาจากอ่าง โดยใช้แขนทั้งสองข้างช้อนประคองถุงนอนไว้จากด้านล่าง ขนเป็ดจะหนักมากเมื่อเปียกและอาจจะทำให้เกิดความเสียหายได้หากเรายกไม่ระวัง เพราะฉะนั้นควรจะต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมากในการเคลื่อนย้ายถุงนอนขน เป็ดที่เปียก
  7. วางถุงนอนแผ่ลงบนพื้นที่ที่แห้งและสะอาด โดยจะต้องไม่มีแสงแดดส่องโดยตรงด้วย
  8. ค่อยๆ ตบถุงนอนไล่ไปเรื่อยๆ จากทั้งสองด้านของถุง เพื่อป้องกันไม่ให้ขนเป็ดข้างในจับตัวเป็นก้อน
  9. วางถุงนอนทิ้งผึ่งลมไว้อย่างนั้นจนกว่าจะแห้ง ถุงนอนขนเป็ดอาจจะต้องใช้เวลาหลายวันกว่าที่จะแห้งสนิทจริงๆ ดังนั้น จึงควรจะเลือกทำความสะอาดถุงนอนขนเป็ดในช่วงวันที่อากาศร้อนและมีความชื้น ค่อนข้างน้อย
  10. หากคุณต้องการเร่งให้ถุงนอนแห้งเร็วขึ้น ก็อาจจะเลือกใช้เครื่องอบผ้าช่วยได้ โดยควรจะเป็นเครื่องอบผ้าแบบที่ใส่ผ้าด้านหน้า และเลือกความร้อนและความเร็วแบบต่ำสุดทั้งคู่ นอกจากนี้ คุณควรจะใส่ลูกเทนนิสซักลูกเข้าไปพร้อมกันด้วย เพราะลูกเทนนิสจะกลิ้งไปมาตามการหมุนของเครื่อง และจะเป็นการช่วยนวดถุงนอนไปในตัวด้วยเช่นกัน ทำให้ขนเป็ดที่บุอยู่ข้างในไม่จับตัวกันเป็นก้อน แต่อย่างไรก็ตาม ต้องจำเอาไว้อย่างหนึ่งว่า ยังไงก็ต้องใช้เวลานานสำหรับการทำความสะอาดและทำให้ถุงนอนขนเป็ดแห้ง

การซักแห้ง

อย่างที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น ว่าน้ำยาซักแห้งนั้นเป็นศัตรูตัวร้ายต่อคุณภาพของขนเป็ดเลยทีเดียว เพราะสารเคมีในน้ำยาซักแห้งจะไปทำลายคุณสมบัติของขนเป็ด ทำให้ไม่ฟู นุ่ม และไม่สามารถเก็บความร้อนเอาไว้ข้างในได้เหมือนเดิม นอกจากนี้ น้ำยาซักแห้งยังเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อมอีกด้วยเช่นกัน ดังนั้น หากเป็นไปได้ เราควรจะหลีกเลี่ยงการนำถุงนอนขนเป็ดไปซักแห้งอย่างเด็ดขาด แต่หากจำเป็นจะต้องไปให้ที่ร้านซักแห้งจริงๆ ก็ควรจะดูว่าร้านใช้น้ำยาอะไรซัก ควรจะต้องใช้น้ำยาเฉพาะเท่านั้น

thank http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_41.html

การดูแลรักษาถุงนอน

ถุงนอนก็เหมือนกับอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ต้องการการทำความสะอาด และการดูแลรักษา เพื่อให้มีสภาพดีอยู่เสมอ ซึ่งการดูแลรักษาถุงนอนไม่ใช่เรื่องยาก ลองมาดูกันว่าเราจะมีวิธีบำรุงดูแลรักษาถุงนอนกันอย่างไรบ้าง
  1. การดูแลรักษาระหว่างการใช้งาน
    • หากคุณต้องนอนกับพื้น ควรจะมีผ้าปูใต้ถุงนอน เพื่อไม่ให้ผิวถุงนอนเกิดการเสียดสีกับพื้นด้านล่าง และป้องกันสิ่งสกปรกจากพื้นดิน
    • เมื่อใช้งานแล้ว ควรจะมีการกลับถุงนอน เพื่อให้เหงื่อที่สะสมตอนกลางคืนขณะที่นอน เกิดการระเหยออกไป
    • ควรจะเก็บถุงนอนในถุงที่กันน้ำ อาจจะใช้ถุงดำหรือถุงพลาสติกก็ได้ หากถุงนอนเปียกน้ำระหว่างเดินทาง จะทำให้มีน้ำหนักมากและจะมีปัญหาในการเดินทาง หรือในถุงนอนบางประเภท เช่น ถุงนอนขนเป็ด ก็ไม่ควรที่จะเปียกน้ำ เพราะจะทำให้ขนเป็ดที่บุด้านในเกิดความเสียหายได้

  2. การเก็บถุงนอน
    • หลังจากที่ใช้ถุงนอนแล้ว ควรจะตากให้แห้งก่อนที่ทำการเก็บใส่ถุง
    • ไม่ควรเก็บถุงนอนในถุงที่มีขนาดเล็กเกินไป เพราะการยัดถุงนอนเข้าไปในถุงที่มีขนาดเล็ก จำเป็นต้องบีบขนาดของถุงนอนลง ซึ่งหากเก็บเป็นเวลานานอาจจะทำให้ถุงนอนมีอายุการใช้งานสั้นลง
    • หากไม่ได้ใช้ถุงนอนเป็นเวลานาน ควรจะนำถุงนอนออกจากถุงเพื่อให้ถุงนอนมีการคลายตัวบ้าง
    • ควรเก็บถุงนอนในที่ที่มีอากาศเย็น และมีอากาศถ่ายเทได้ดี ไม่ควรจะตากถุงนอนกลางแดดโดยตรง เนื่องจากรังสี UV จากแสงแดด สามารถทำให้เนื้อผ้าของถุงนอนเสื่อมคุณภาพได้

  3. การซักถุงนอน
    • ถุงนอนไม่จำเป็นจะต้องซักทุกครั้งที่ใช้งาน ควรจะซักเมื่อจำเป็นเท่านั้น
    • การซักถุงนอนด้วยมือจะดีที่สุด หรืออาจจะจ้างพวกบริษัทซักแห้งซักก็ได้ซึ่งตามร้านใหญ่ๆ จะเป็นเครื่องซักแบบใส่ผ้าด้านหน้า (Front Loading) หากเราใช้เครื่องซักผ้าที่เป็นลักษณะการปั่น หมุนไปมา อาจจะทำให้ผ้าใยในถุงนอนเกิดการบิดตัวและเกิดความเสียหายได้
    • ถุงนอนขนเป็ดควรจะหลีกเลี่ยงการซัก เพราะถ้าขนเป็ดโดนน้ำจะสูญเสียการกักความร้อน หากต้องการซักจริง ๆ จะมีผู้ให้บริการซักถุงนอนประเภทนี้อยู่ ซึ่งเขาจะใช้กรรมวิธีพิเศษ ในประเทศไทยไม่แน่ใจว่ามีการให้บริการแบบนี้แล้วหรือไม่

  4. ข้อพิจารณาอื่น ๆ
    • หากถุงนอนมีการซักมาบ่อยครั้ง ควรจะใช้สเปรย์ฉีดเคลือบผิวถุงนอน เพื่อให้คุณสมบัติในการกันน้ำได้อยู่เสมอ ซึ่งสเปรย์นี้สามารถซื้อได้ทั่วไปตามร้านอุปกรณ์แค้มปิ้ง
    • หากถุงนอนของคุณเป็นแบบกันน้ำ (Waterproof) ในการซักทำความสะอาด ถุงนอนเหล่านี้จะอุ้มน้ำทำให้มีน้ำหนักมาก ซึ่งคุณควรมีความระมัดระวังในการขนย้ายไปตาก เพราะถ้าขนย้ายไม่ดี อาจจะทำให้ตะเข็บมีการฉีกขาดได้
thank http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_14.html

อุปกรณ์เสริมสำหรับถุงนอน

ถุงนอนที่เราใช้กันอยู่ ก็มีอุปกรณ์เสริมที่จะช่วยให้การนอนสบายขึ้น และช่วยให้การจัดเก็บถุงนอนของคุณให้สะดวกและง่ายขึ้น ซึ่งอุปกรณ์เสริมสำหรับถุงนอนมีหลายชนิด เช่น หมอน แผ่นปูรองนอน ฯลฯ เราจะลองมาดูกันว่าอุปกรณ์เสริมมีอะไรกันบ้าง และแต่ละชนิดมีประโยชน์อย่างไร
  1. หมอน (Pillow) – หากคุณนอนอยู่ที่บ้าน คุณคงจะชินกับการนอนบนหมอน ซึ่งหมอนจะช่วยให้เรานอนไม่ปวดคอ สำหรับการเดินเดินทางเราก็สามารถพกหมอนที่มีขนาดเล็กไปได้ เช่น หมอนที่ใช้การเป่าลม เป็นต้น หรือบางครั้งคุณอาจจะใช้กระเป๋าหรือเสื้อผ้าของคุณมาทำเป็นหมอนใช้แทนก็ได้

    หมอน
    หมอน
    แผ่นปูรองนอน
    แผ่นปูรองนอน

  2. ถุงใส่นอน (Liner) – จะเป็นถุงที่มีลักษณะรูปทรงเหมือนกับถุงนอนทำจากผ้า ไนลอนหรือผ้าไหม เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะมี 2 แบบคือ แบบที่ใช้สำหรับสวมคลุมถุงนอนอีกชั้น ซึ่งจะช่วยให้ถุงนอนไม่สกปรก และแบบที่ใช้สวมก่อนถุงนอน ซึ่งจะอยู่บริเวณตัวเรากับถุงนอน ซึ่งชนิดนี้จะช่วยกักเก็บความร้อนในตัวให้อยู่ในถุงนอน ทำให้ความอบอุ่นเพิ่มขึ้น
  3. แผ่นปูรองนอน (Sleeping Pad) – เป็นเบาะขนาดเล็ก ใช้สำหรับปูนอน ซึ่งจะช่วยลดความหนาวเย็นและความเปียกชื้นจากพื้นดินมาสู่ตัวเราได้ และนอกจากนี้แผ่นปูรองนอน ยังช่วยให้ถุงนอนไม่สกปรก เพราะถุงนอนไม่ได้สัมผัสพื้นดินโดยตรง

    ถุงใส่นอน
    ถุงใส่นอน
    Compression Sack
    Compression Sack

  4. ถุงใส่ถุงนอนแบบหดตัวได้ (Compression Sack) – ถุงใส่ถุงนอนแบบนี้จะมีหัวปิดบนและล่าง เมื่อเราใส่ถุงนอนไปแล้วก็สามารถดึงบีบให้ถุงมีขนาดเล็กลง ซึ่งจะทำให้ประหยัดเนื้อที่ใจการจัดเก็บ ซึ่งขนาดการบีบอัดขึ้นกับชนิดผ้าใยของถุงนอนด้วย ว่าสามารถบีบอัดได้มากเพียงใด

อุปกรณ์เสริมต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้คุณหลับได้อย่างสบายขึ้น แต่เราก็ควรพิจารณาถึงความสะดวกในการพกพาอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วย หากท่านจะต้องเดินทางไกลด้วยเท้า อุปกรณ์บางชนิดก็อาจจะไม่สะดวกนัก

thank http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_15.html

วิธีการเลือกซื้อถุงนอน

เมื่อคุณตัดสินใจที่จะซื้อถุงนอนคู่ใจ คุณจะต้องพิจารณาถึงส่วนประกอบหลาย ๆ อย่าง เพื่อที่จะได้ถุงนอนที่เหมาะสมกับความต้องการของเรามากที่สุด เราจะมาดูกันว่า มีข้อควรพิจารณาในการซื้อถุงนอนอย่างไรบ้าง
  1. ขนาด – ถุงนอนควรจะมีความยาวเหมาะสมกับความสูงของผู้ใช้ ซึ่งตามปรกติถุงนอนจะมีขนาดให้เลือก แต่ในเมืองไทยถุงนอนที่ผลิตในประเทศมักจะมีแต่ขนาดมาตรฐาน ไม่มีขนาดให้เลือกตามความสูง ซึ่งหากถุงนอนมีขนาดเล็กเกินไป ถ้าผู้ใช้เป็นคนตัวสูงก็อาจจะเกิดปัญหาถุงนอนไม่สามารถคลุมได้ทั้งตัว ฉะนั้นเราควรจะดูขนาดความยาวของถุงนอนให้เหมาะสม
  2. รูปทรงของถุงนอน – ถุงนอนจะมีรูปทรงต่างกันออกไป เช่น ทรงสี่เหลี่ยม ทรงมัมมี่ ทรงกึ่งสี่เหลี่ยมเป็นต้น ซึ่งรูปทรงแต่ละแบบจะมีคุณสมบัติในการให้ความอบอุ่น และมีน้ำหนักต่างกันออกไป


  3. การให้ความอบอุ่น – ถุงนอนแต่ละชนิดจะสามารถให้ความอบอุ่นได้ต่างกัน เช่น ขนเป็ดจะให้ความอบอุ่นได้ถึง 0 องศาหรือติดลบ หากเป็นใยสังเคราะห์ก็จะให้ความอบอุ่นประมาณ 0 องศาขึ้นไป ซึ่งแน่นอนว่าถุงนอนที่สามารถให้ความอบอุ่นได้ดีย่อมดีกว่าถุงนอนที่ให้ความ อบอุ่นได้น้อย แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับสภาพอากาศและรูปแบบของการท่องเที่ยวด้วย หากเราจะใช้ถุงนอนในเมืองร้อนอุณหภูมิต่ำสุดก็ควรจะเป็น 0 องศาหรือมากกว่า เพราะหากต่ำถึงขึ้นติดลบก็จะทำให้ร้อน นอนไม่สบาย และประเทศของเราก็มักจะไม่ค่อยมีอุณหภูมิติดลบสักเท่าไหร่ และแน่นอนถ้าถุงนอนให้ความอบอุ่นได้สูงมากเท่าไหร่ ราคาและน้ำหนักก็จะสูงตามไปด้วยเช่นกัน หากต้องการเดินทางไกล คุณก็คงไม่อยากได้ถุงนอนที่มีน้ำหนักมากนัก หรือหากงบประมาณน้อย ถุงนอนพวกนี้ก็คงจะไม่เหมาะนักเช่นกัน
  4. และขนาดของถุงนอน" src="http://www.mrbackpacker.com/gear/content_images/gear_13_1.jpg" hspace="5">
    พิจารณาขนาดน้ำหนัก
    และขนาดของถุงนอน
    น้ำหนักของถุงนอน
    – ถุงนอนแต่ละชนิดจะมีน้ำหนักไม่เท่ากัน เราควรจะใช้ถุงนอนที่มีน้ำหนักเท่าไหร่จะขึ้นอยู่กับรูปแบบการท่องเที่ยวของคุณ เช่น
    • Car Camping – น้ำหนักของถุงนอนไม่สำคัญมากนัก เพราะเราไม่ต้องแบกถุงนอนในการเดินทาง
    • Backpacking – ถุงนอนที่ใช้ควรจะมีน้ำหนักปานกลางถึงเบา ทั้งนี้ขึ้นกับระยะทางที่เดินทางด้วย ถุงนอนมัมมี่หรือแบบกึ่งสี่เหลี่ยมจะเหมาะสมสำหรับการเดินทางลักษณะนี้ เพราะจะมีน้ำหนักเบาและกันหนาวได้ดี
    • Bicycle Camping – ถุงนอนที่ใช้จะมีลักษณะเหมือนกับการเที่ยวแบบ Backpacking
  5. เนื้อผ้า - เนื้อผ้าของถุงนอนโดยปรกติจะเป็นผ้าธรรมดาไม่กันน้ำ แต่ถุงนอนบางชนิดจะมีคุณสมบัติพิเศษในการกันน้ำ ทำให้น้ำไม่สามารถซึมผ่านเนื้อผ้าได้ ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้ในที่เปียกชื้น หรือบนหิมะ
  6. สี – สีจะมีคุณสมบัติในตัวมันเอง เช่น สีเข้มจะมีคุณสมบัติในการดูดความร้อนดี ซึ่งจะให้ความอบอุ่นได้ดีกว่าถุงนอนที่มีสีอ่อน และแห้งง่ายกว่าเมื่อเปียกชื้น
  7. ราคา – ราคาของถุงนอนจะมีราคาตั้งแต่ไม่กี่ร้อยบาทสำหรับถุงนอนแบบธรรมดา ไปจนถึงราคาเป็นหมื่นบาทสำหรับถุงนอนที่ใช้เฉพาะที่ เช่นในที่หนาวจัด ทั้งนี้ขึ้นกับความต้องการของคุณยิ่งกันหนาวได้มาก ยิ่งแพง โดยปรกติถ้าเป็นถุงนอนกันหนาวได้ 0 องศาประเภทใยสังเคราะห์จะมีราคามือหนึ่งประมาณ 3-5 พันบาท ถ้าเป็นถุงนอนขนเป็ดมือหนึ่งราคาก็จะอยู่ประมาณ 5-7 พันบาท หรือถ้าเป็นแบบผ้าธรรมดาก็ราคาไม่กี่ร้อย
  8. การดูแลรักษา - เราควรจะศึกษาการดูแลรักษาถุงนอนก่อนที่จะซื้อ เนื่องจากถุงนอนที่ผ้าใยต่างชนิดกัน จะมีวิธีดูแลรักษาต่างกันออกไป บางชนิดจะดูแลรักษาได้ยาก เช่น ถุงนอนขนเป็ด ไม่สามารถนำไปซักได้ เพราะถ้าขนเป็ดโดนน้ำจะทำให้คุณสมบัติในการกักเก็บความร้อนหายไป เราจึงควรศึกษาข้อมูลเหล่านี้ให้ดีก่อน
thank http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_13.html

เส้นใยสังเคราะห์ที่ใช้ทำถุงนอน

หลายท่านคงจะเคยไปซื้อถุงนอนตามร้านขายอุปกรณ์แค้มปิ้ง คนขายมักจะบอกถึงคุณสมบัติของถุงนอนว่าทำจากเส้นใย Dupont , Polarguard หรือ อื่นๆ ซึ่งราคาของถุงนอนจะต่างกันค่อนข้างมากสำหรับเส้นใยชนิดต่างกัน และคนซื้อก็มักจะไม่ค่อยทราบว่า เส้นใยแต่ละชนิดมีคุณสมบัติอย่างไร แบบไหนดีกว่า เส้นใยที่นิยมใช้บุถุงนอนส่วนใหญ่ มักจะมาจาก 2 ค่ายใหญ่คือ Dupont เช่น เส้นใยแบบ Hollofil , Quallofil , Thermolite และค่ายของ Polarguard เช่น Polarguard HV, Polarguard 3D เป็นต้น เราจะมาดูกันว่าเส้นใยแต่ละประเภทมีคุณสมบัติอย่างไร เพื่อเป็นความรู้ประกอบในการเลือกซื้อถุงนอน

เส้นใย Dupont

Dupont เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงมากทางด้านเทคโนโลยีสำหรับผ้าและสิ่งทอต่าง ๆ สำหรับถุงนอนบริษัท Dupont ก็ได้มีการผลิตเส้นใยที่ใช้สำหรับบุถุงนอนออกมาหลายแบบ เช่น Hollofil , Quallofil , Thermolite ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในการผลิตถุงนอน

Hollofil808 – เป็นเส้นใยที่ทำมาจาก Dacron Polyester 100% เส้นใยผ้าจะมีรูเดียวจึงกันหนาวได้ไม่มากนัก ซึ่งถุงนอนที่ทำด้วยใยประเภทนี้เหมาะสำหรับใช้งานแบบคาร์แค้มป์ หรือ สถานที่อากาศไม่หนาวมากนัก

Hollofil 2 – เส้นใยชนิดนี้มีการพัฒนาจาก Holofil808 ซึ่งเป็นเส้นใยที่ทำมาจาก Dacron Polyester 100% และเส้นใยมีรูจำนวน 4 รู ทำให้สามารถให้ความอบอุ่นได้มากกว่า Hollofil808 โดยที่น้ำหนักไม่เพิ่มขึ้น

เส้นใย Hollofil
เส้นใย Hollofil
เส้นใย Quallofil
เส้นใย Quallofil


Quallofil – เส้นใยชนิดนี้จะมีรูจำนวน 7 รู ทำให้สามารถให้ความอบอุ่นได้มากกว่า 2 แบบแรก มีน้ำหนักเบา และในกรณที่มีความเปียกชื้นก็ยังสามารถให้ความอบอุ่นได้ดี เส้นใยชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้งานเดินป่า และในที่ที่อาจจะเปียกชื้น

Quallofil with Allerban – เส้นใยชนิดนี้จะเหมือนกับแบบ Quallofil คือมี 7 รู แต่จะพิเศษกว่าที่จะมีเส้นใยที่เรียกว่า Allerban ผสมอยู่ด้วย ซึ่งเส้นใยชนิดนี้จะมีคุณสมบัติในการป้องกันแบคทีเรียได้

Thermolite Micro – เส้นใยแบบ Thermolite จะเป็นเส้นใยที่ให้ความอบอุ่นมากที่สุด ซึ่งเรียกได้ว่าให้ความอบอุ่นใกล้เคียงกับขนเป็ดเลยทีเดียว ซึ่งเส้นใย Thermolite จะมีรูกลวงตรงกลาง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เรียกว่า Hollow-core fiber technology ซึ่งจะทำให้มีน้ำหนักเบา แห้งเร็วกว่าผ้า Cotton ถึง 50% ซึ่งรูตรงกลางนี้จะทำให้สามารถระบายความชื้นออกจากภายในและกักเก็บความอบอุ่นไว้ได้

Thermolite Extra – จะมีลักษณะเหมือนกับ Thermolite Micro จะต่างกันตรงที่เส้นใยจะขดเป็นรูปสปริงทับซ้อนกัน (hollow-core fibers provide three-dimensional spring) ทำให้สามารถให้ความอบอุ่นได้ดีกว่า เนื่องจากการขดเป็นรูปสปริง จะทำให้เส้นใยอัดแน่นได้มากกว่า

Thermolite Extreme – จะเป็นเส้นใยที่ดีที่สุดของ Dupont ในปัจจุบัน ให้ความอบอุ่นได้สูงสุด เหมาะกับการใช้งานในที่หนาวจัด ซึ่งเส้นใยแบบนี้จะมีเทคโนโลยีที่เรียกว่า tri-blend fiber technology ซึ่งจะประกอบด้วยเส้นใย 3 ส่วน คือ เส้นใยที่เป็นเส้นตรง เส้นใยที่ขดเป็นสปริง และเส้นใยที่คอยยึดโยงเส้นใยอื่น ๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งจะมีลักษณะเป็นใยแมงมุม

เส้นใย Thermolite Extra มีลักษณะการขดเหมือนสปริง
เส้นใย Thermolite Extra
มีลักษณะการขดเหมือนสปริง
เส้นใย Thermolite Extreme มีการลักษณะการวางเส้นใยเป็น 3 เลเยอร์
เส้นใย Thermolite Extreme
มีการลักษณะการวางเส้นใยเป็น 3 เลเยอร์

เส้นใย Polarguard

Polarguard HV (High Void Continuous Filament) – เส้นใยประเภทนี้จะมีลักษณะกลวงเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านในซึ่งจะเป็นช่องสับ หว่างกันไปมา ทำให้สามารถกักเก็บปริมาตรอากาศได้มากกว่าเส้นใยสังเคราะห์ทั่วไปที่ไม่มี ช่องว่างภายใน และช่วยเก็บและรักษาความร้อนจากร่างกายของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า เส้นใย Polarguard HV มีข้อได้เปรียบต่างๆ มากมาย ดังนี้

  • เป็นฉนวนสังเคราะห์ที่ทนทานมาก
  • ให้ความอบอุ่นมาก
  • เบากว่าใย Polarguard ทั่วไปถึง 25%
  • แห้งเร็ว
  • กันความชื้นได้ดี
  • สามารถซักในเครื่องซักผ้าได้
  • มีการกระจายตัวดี ไม่เกาะกันเป็นกลุ่มก้อน
  • สามารถอัดแน่นและคืนตัวสู่สภาพเดิมได้เป็นอย่างดี
  • ไม่มีกลิ่น
  • ไม่ทำให้แพ้ง่าย (สำหรับคนที่เป็นภูมิแพ้)
  • ไม่ทำให้เกิดเชื้อรา
  • ป้องกันแมลงได้
  • ทนทาน ใช้ได้นาน

เส้นใย PolarGuard 3D
เส้นใย PolarGuard 3D

Polarguard 3D – เป็นเส้นใยที่รักษาข้อดีของ Polarguard HV ไว้และยังมีข้อดีอื่นเพิ่มขึ้นอีก คือ เป็นเส้นใยสังเคราะห์ที่เบาที่สุด มีความสามารถในการคืนรูปมากที่สุด สามารถอัดแน่นได้มากที่สุด และยังมีชั้นกันความชื้นเพื่อป้องกันความชื้นที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกด้วย

Polarguard 3D ทำจากเส้นใยไฟเบอร์ที่มีความต่อเนื่องกันเป็นเส้นเดียว ช่วยทำให้เส้นใยคงสภาพเดิม ไม่แยกออกจากกันหรือเกาะตัวกันเป็นกลุ่มก้อน เส้นใย Polarguard 3D นี้มีความนุ่มใกล้เคียงกับขนเป็ดมาก ซึ่งช่วยให้ความอ่อนนุ่มแบบขนเป็ดแต่ยังคงรักษาความทนทานของใยสังเคราะห์เอา ไว้ได้เป็นอย่างดี เส้นใยแต่ละเส้นมีรูกลวงรูปสามเหลี่ยมด้านในสับหว่างกัน ช่วยป้องกันไม่ให้เส้นใยยุบตัวและสามารถรักษาสภาพเดิมและคืนรูปได้ดีตลอด เวลาหลายปีของการใช้งาน เวลาเดินป่า เราสามารถจะเก็บถุงนอนโดยการยัดใส่ถุงและบีบอัดให้เล็กลง พอกลับมาแล้วก็สามารถเอาถุงนอนไปซักและอบแห้ง จากนั้นก็เอามาใช้นอนได้อีกโดยที่เส้นใยจะกลับคืนสู่สภาพความอ่อนนุ่มเหมือน เก่าได้เป็นอย่างดี

thank http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_24.html

วัสดุที่ใช้บุถุงนอน (Fill)

วัสดุที่ใช้บุถุงนอนจะเป็นสิ่งที่ป้องกันไม่ให้ความอบอุ่นจากด้านในถุง นอนหายไป และป้องกันไม่ให้ความเย็นจากด้านนอกเข้ามาในถุงนอน ซึ่งวัสดุที่ดีจะต้องสามารถให้ความอบอุ่นมากและมีน้ำหนักเบา วัสดุที่ใช้ทำถุงนอนในปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ขนเป็ด (Down) และใยสังเคราะห์ (Synthetic Fills)


ขนเป็ด (Down)


ขนเป็ดในปัจจุบัน ยังคงเป็นวัสดุที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ในด้านการให้ความอบอุ่น น้ำหนัก และขนาดเมื่อทำการบีบอัดแล้ว ซึ่งหากเปรียบเทียบกับผ้าใยสังเคราะห์แล้ว ขนเป็ดจะมีประสิทธิภาพมากกว่า เมื่อกางถุงนอนออก หรือถุงนอนไม่ได้ถูกอัดเก็บอยู่ในถุงใส่ถุงนอนแล้ว ขนเป็ดที่บุอยู่ด้านในจะพองตัวขึ้นและกระจายตัวไปทั่วถุงนอนอย่างทั่วถึง ถุงนอนขนเป็ดจะคืนสภาพและฟูนุ่มขึ้นมาอย่างรวดเร็วเต็มทั่วทั้งถุงนอน ในขณะที่วัสดุใยสังเคราะห์ไม่สามารถจะกระจายตัวและคืนสภาพได้ดีเท่าขนเป็ด นอกจากนี้ขนเป็ดยังมีอายุการใช้งานยาวนานหากมีการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง (อย่างน้อย 10-15 ปี เมื่อเปรียบเทียบกับใยสังเคราะห์ซึ่งจะมีอายุประมาณ 3-6 ปี)

แต่ขนเป็ดก็มีจุดอ่อนเช่นกัน หากขนเป็ดมีความเปียกชื้น ประสิทธิภาพในการให้ความอบอุ่นจะด้อยกว่าผ้าใยสังเคราะห์ และจะแห้งได้ยากกว่า นอกจากนี้ขนเป็ดยังอาจจะก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ สำหรับบางคนที่อาจจะแพ้ขนสัตว์ หากเราต้องการขนเป็ดที่มีคุณภาพดี ราคาก็จะสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับใยสังเคราะห์

โดยปรกติเมื่อเราซื้อถุงนอนขนเป็ด ถุงนอนแต่ละรุ่นจะกันหนาวได้ไม่เท่ากัน ซึ่งถุงนอนขนเป็ดจะมีตัวเลขของ Fill Power กำกับอยู่ เช่น 600, 700, 800 ซึ่งตัวเลขนี้จะแสดงถึงความสามารถในการกักอากาศเป็นลูกบาศก์นิ้วต่อขนเป็ด 1 ออนซ์ Fill power เป็นการวัดปริมาณอากาศหรือช่องว่างของขนเป็ดต่อหนึ่งออนซ์ ซึ่งมาจากลักษณะความยาวและความหนานุ่มเป็นปุยของขนเป็ด เช่น ถุงนอนที่ระบุว่ามี Fill power 550 หมายถึงถุงนอนที่มีปริมาณขนเป็ด 56000 กลุ่มต่อหนึ่งออนซ์ ในขณะที่ถุงนอนที่มี Fill power 750 จะมีขนเป็ด 24000 กลุ่มต่อหนึ่งออนซ์ จะเห็นได้ว่าขนเป็ดหนึ่งกลุ่มนั้น ถ้ายิ่งคุณภาพดีก็จะยิ่งมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากกว่าและใช้จำนวนน้อยกว่าต่อ พื้นที่หนึ่งออนซ์เท่ากัน ขนเป็ดคุณภาพดีตัวเลขก็จะสูงขึ้น ซึ่งจะกันหนาวได้มากขึ้นแต่ราคาก็จะสูงขึ้นด้วย

ใยสังเคราะห์ (Synthetic Fill)

ใยสังเคราะห์จะมีชื่อเรียกในแต่ละยี่ห้อของผู้ผลิตต่างกันไป และมีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับขนเป็ด ซึ่งใยสังเคราะห์ในตลาดจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

  1. เส้นใยขนาดยาวต่อเนื่องและเกาะติดกันเป็นกลุ่มก้อน (Long continuous-filament fibers) มักจะใช้บุในถุงนอนที่ค่อนข้างจะมีการขึ้นรูปโครงที่แน่นอนเป็นรูปเป็นร่าง โดยปกติแล้ว ตัวเลขที่กำกับไว้หมายถึงน้ำหนักต่อหนึ่งตารางหลา ในปัจจุบันยี่ห้อที่เป็นที่รู้จักกันก็คือ Polarguard, Polarguard HV, Polarguard 3D และ Laminite
  2. เส้นใยขนาดสั้นและไม่เกาะติดกันเป็นกลุ่มก้อน (Much shorter, noncontinuous-filament fibers) อาจจะใช้บุทั้งในถุงนอนที่มีการขึ้นรูปโครงที่แน่นอน และในถุงนอนที่ไม่มีรูปร่างที่แน่นอน ชื่อทางการค้าในตลาดก็คือ Hollifil, Hollofil 2 และ Quallofil
  3. เส้นใยขนาดสั้นพิเศษ ซึ่งมีลักษณะรูปร่างคล้ายๆ ขนเป็ด (Even-shorter-fibered formed somewhat resemble down) โดยที่เส้นใยประเภทนี้อาจจะมีการเกาะกลุ่มกันหรือไม่ก็ได้ ชื่อที่ใช้ในปัจจุบันคือ Lite Loft, Micro Loft, Primaloft และ Thermolite Extreme

จะเห็นได้ว่าในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาใยสังเคราะห์ไปมาก ในอนาคตเราอาจจะเห็นใยสังเคราะห์ที่สามารถให้ความอบอุ่นและน้ำหนักเบาเหมือน กับขนเป็ดก็เป็นได้

thank http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_12.html

มารู้จักส่วนประกอบของถุงนอนกันเถอะ

ถุงนอนประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ จำนวนหลายส่วน ซึ่งแต่ละส่วนจะมีคุณสมบัติต่าง ๆ กันที่ทำให้ถุงนอนมีประสิทธิภาพที่ดี เราลองมาดูกันว่าถุงนอนประกอบด้วยส่วนหลักๆ อะไรบ้าง และแต่ละส่วนมีความสำคัญอย่างไร

gear_1_2.gif

1. หมวกคลุมศีรษะ(Hood)
ถุงนอนจำนวนมากจะมีหมวกไว้สำหรับคลุมศีรษะ ซึ่งหมวกนี้จะช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อนจากร่างกาย ซึ่งความร้อนมากกว่า 50% จะสูญเสียไปจากศีรษะของเรา ฉะนั้นถุงนอนที่มีคุณภาพดีจะมีหมวกที่สามารถป้องกันการสูญเสียความร้อนได้ดี ฮูดที่ดีควรจะสามารถปรับให้กระชับกับศีรษะได้ และสวมแล้วไม่รู้สึกรบกวนใบหน้า

2. แผ่นเพิ่มความอบอุ่นช่วงอก (Draft Collar)
จะเป็นส่วนที่อยู่ถัดจากฮูดลงมา ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันการสูญเสียความร้อนบริเวณรอยต่อระหว่างคอและไหล่ โดยจะไปลดช่องว่างของคอกับไหล่ ทำให้มีการสูญเสียความร้อนลดลง ซึ่งในถุงนอนบางชนิดที่ใช้กับหน้าร้อนอาจจะไม่มีส่วนนี้

3. ช่องเก็บของปลายถุงนอน (Foot Box)
ถุงนอนส่วนใหญ่ช่วงปลายถุงนอนจะเป็นส่วนเดียวกับ ตัวถุงนอน แต่ในถุงนอนบางชนิดจะมีช่องที่ปลายถุงนอนเพื่อให้ความอบอุ่นที่เท้าเป็น พิเศษ และสามารถเก็บของเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้ด้วยเช่น ขวดน้ำ รองเท้า เป็นต้น

4. ซิป (Zipper)
gear_1_3.jpg ซิป มักจะเป็นซิปที่มีคุณภาพสูง ผลิตจากพลาสติกทำให้ไม่เย็นเมื่อถูกสัมผัส ซิปถุงนอนจะต้องรูดได้สะดวกไม่ติดชิ้นส่วนหรือกินเนื้อผ้าของถุงนอนไปด้วย เวลารูดซิป และด้านบนสุดของซิปมักจะมีแถบล็อคซิปเพื่อปิดไว้ไม่ให้ซิปเลื่อนลงมาและลด ความกระด้างเวลาสัมผัสกับหัวซิป ในถุงนอนรุ่นใหม่ ๆ ระบบซิปของถุงนอนได้ออกแบบให้สามารถรูดต่อถุงนอนสองใบให้เป็นชิ้นเดียวกัน ได้ โดยส่วนใหญ่จะเป็นถุงนอนยี่ห้อเดียวกัน ถ้าอันหนึ่งเป็นซิปขวาอีกอันเป็นซิปซ้าย ก็จะสามารถรูดต่อกันเป็นถุงนอนผืนเดียวกันได้

5. แถบรองซิป (Zipper Flap)
แถบรองซิปจะอยู่ขนานกับตัวซิปด้านใน ทำหน้าที่ช่วยปกป้องการสูญเสียความร้อนของถุงนอนผ่านทางซิป

6. กระเป๋าใส่ของจุกจิก (Pocket)
ใช้สำหรับใส่ของจุกจิก เช่น กุญแจ แว่นตา ไฟฉาย ซึ่งจะให้ความสะดวกในการหยิบใช้

gear_1_1.jpg7. ถุงนอนด้านนอก (Outer Fabric)
เป็นส่วนที่สัมผัสกับอากาศภายนอก มีประสิทธิภาพในการป้องกันลม น้ำ คงทน ซึ่งทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของวัสดุที่ผลิตด้วย ถุงนอนที่มีราคาแพงมักจะมีคุณสมบัติข้างต้นครบถ้วน แต่ในรุ่นที่ราคาถูกก็อาจจะเป็นผ้าไนล่อนธรรมดา

8. ถุงนอนด้านใน (Inner Fabric)
เป็นส่วนที่สัมผัสกับร่างกาย ผลิตจากวัสดุหลากหลาย ขึ้นกับชนิดและราคาถุงนอน วัสดุที่ดีจะทำให้เกิดความนุ่มนวล และความรู้สึกที่ดีต่อผู้ใช้

9. วัสดุบุถุงนอน (Fill)
เป็นวัสดุที่เป็นใยสังเคราะห์ หรือขนห่าน ทำหน้ารักษาความร้อนในถุงนอน ซึ่งวัสดุที่เป็นขนห่าน (Goose Down) จะให้ความอบอุ่นที่ดีกว่า แต่ราคาก็จะแพงกว่าแบบใยสังเคราะห์ ซึ่งในตัวถุงนอนจะมีเอกสารกำกับชนิดวัสดุที่ใช้บุและวิธีการใช้อยู่ ปัจจุบันใยสังเคราะห์ที่นิยมใช้มีหลายแบบ เช่น Qualofil จาก Dupont หรือ Polar Guard 3D เป็นต้น

thank http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_1.html

ชนิดและรูปทรงของถุงนอน

ถุงนอนที่มีอยู่ในปัจจุบัน มีหลายรูปทรง ซึ่งแต่ละแบบก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันไป รวมถึงราคาที่แตกต่างกันด้วย ซึ่งเราพอที่จะสรุปชนิดรูปทรงของถุงนอนที่มีอยู่ในปัจจุบันได้เป็น 3 แบบ

1. ถุงนอนแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า (Rectangular)
เป็นถุงนอนที่เป็นรูปทรงสึ่เหลี่ยมผืนผ้า พับครึ่งเชื่อมติดกันด้วยซิปรูปตัว L ด้านบนจะมีฮูดสามารถปะติดและถอดออกได้ สามารถกางออกเป็นผ้าห่มได้ ถุงนอนรูปทรงนี้จะมีเนื้อที่ภายในถุงนอนมากกว้างขวาง นอนสบายเหมาะสำหรับอากาศไม่หนาวจัด แต่ว่าถุงนอนชนิดนี้จะมีปากถุงนอนที่กว้าง ทำให้สูญเสียความร้อนได้ง่าย และมีจุดที่จะสูญเสียความร้อนได้มาก ถ้าหากต้องการให้กันหนาวได้มาก ถุงนอนก็จะมีขนาดใหญ่โต หนา ไม่เหมาะที่จะใส่เป้ โดยปรกติมักจะใช้สำหรับการนอนชายทะเล บ้านพัก กระท่อม หรือในที่ที่อากาศไม่หนาวมากนัก

ข้อดี – มีพื้นที่มาก ทำให้นอนสบาย
ข้อเสีย – กันความหนาวเย็นได้ไม่มากนัก น้ำหนักมาก

gear_2_3.jpg
ถุงนอนแบบสี่เหลี่ยมจะมีความกว้าง
เท่ากันตั้งแต่หัวถุงนอนถึงปลาย มีพื้นที่มาก

gear_2_4.jpg

2. ถุงนอนแบบกึ่งสี่เหลี่ยม (Tapered)
มีลักษณะคล้ายกับรูปทรงสี่เหลี่ยม แต่บริเวณปลายเท้าจะสอบเข้ามา ทำให้มีพื้นที่และน้ำหนักที่ลดลง ซึ่งจะนอนสบายกว่าแบบมัมมี่

ข้อดี – กันความหนาวเย็นได้ดีกว่าแบบสี่เหลี่ยม และนอนสบายกว่าเมื่อเทียบกับแบบมัมมี่เนื่องจากมีพื้นที่มากกว่า
ข้อเสีย – กันความหนาวเย็นได้ไม่มากนัก น้ำหนักมาก

gear_2_5.jpg
ถุงนอนแบบกึ่งสี่เหลี่ยมจะมีความกว้าง
ช่วงปลายถุงนอนแคบลงเล็กน้อย

gear_2_6.jpg

3. ถุงนอนแบบมัมมี่ (Mummy)
ถุงนอนประเภทนี้ในประเทศยังมีกันไม่มาก ลักษณะของถุงนอนเป็นแบบมัมมี่สมัยโบราณ ลองหลับตานึกภาพมัมมี่ตามสารคดีดู ถุงนอนแบบนี้จะมีขนาดเล็ก เพราะมีการลดขนาดที่ไม่จำเป็นในช่วงรูปร่างและปลายเท้าออกไป โดยปลายเท้าจะสอบแคบเข้ามา ทำให้ถุงนอนชนิดนี้มีขนาดเล็กลงเมื่อเทียบกับสองแบบที่ผ่านมา ถุงนอนชนิดนี้จะมีหมวกที่ต่อเป็นผืนเดียวกับถุงนอน ไม่สามารถถอดแยกออกมาเหมือนกับแบบสี่เหลี่ยมได้ และถุงนอนชนิดนี้ไม่สามารถกางออกมาเป็นผ้าห่มได้

ข้อดี – สามารถกันความหนาวเย็นได้ดี และน้ำหนักเบา
ข้อเสีย – มีพื้นที่ด้านในน้อย อาจจะนอนไม่สบายสำหรับคนนอนดิ้นเก่ง ๆ

gear_2_1.jpg
ถุงนอนแบบมัมมี่จะมีความกว้าง
ของถุงนอนน้อยที่สุด มีพื้นที่ภายในน้อย
แต่ให้ความอบอุ่นมาก

gear_2_2.jpg
thank http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_2.html

รวมลิ้งค์เว็บไซต์ผู้ผลิตเต็นท์

รวมลิ้งค์ผู้ผลิตเต็นท์จากทั้วโลก
thank http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_8.html

การดูแลรักษาเต็นท์

การดูแลรักษาเต็นท์ให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องยาก ลองอ่านวิธีการเหล่านี้ดูแล้วคุณจะรู้ว่า เต็นท์ดูแลง่ายนิดเดียว
  1. ฝึกกางเต็นท์ให้ถูกวิธี การที่คุณเรียนรู้วิธีการกางเต็นท์อย่างถูกวิธี จะทำให้เต็นท์ของคุณไม่เกิดความเสียหาย เพราะบางครั้งการกางเต็นท์ไม่ถูกวิธี อาจทำให้อุปกรณ์บางชิ้นเกิดความเสียหายได้ เช่น อาจจะใส่เสาเต็นท์ผิดอันทำให้เกิดความเสียหายเวลางอเสาเข้ากับเต็นท์ เป็นต้น
  2. อย่าเก็บเต็นท์ของคุณขณะที่เปียกถ้าไม่จำเป็น เพราะอาจจะทำให้เกิดกลิ่นอับได้ เราควรจะนำเต็นท์มาผึ่งลมให้แห้งก่อนและนำเศษสิ่งสกปรกออกจากเต็นท์ แล้วจึงปิดซิปให้เรียบร้อย
  3. ไม่ควรใช้สารเคมีในการทำความสะอาดเต็นท์ เพราะสารเคมีเหล่านี้จะทำลายสารที่เคลือบเต็นท์ไว้ ควรใช้แค่ผ้าชุบน้ำเช็ดก็พอ ห้ามใช้แปรงขัดเพราะแปรงจะทำให้สารเคลือบหลุดออกเช่นกัน
  4. ใช้ผ้าพลาสติกปูรองพื้น ผ้ารองพื้นจะใช้ปูรองพื้นก่อนกางเต็นท์ ประโยชน์คือช่วยปกป้องตัวเต็นท์จากหินและกิ่งไม้อันแหลมคม ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะทำให้พื้นเต็นท์เกิดความเสียหายได้ และนอกจากนี้ยังช่วยลดเวลาในการทำความสะอาด เพราะเราเพียงแต่ทำความสะอาดที่ผ้าปูเท่านั้น
  5. ใช้สมอบกปักเต็นท์ บางคนอาจคิดว่าสมอบกไม่จำเป็นเพราะเต็นท์สามารถทรงตัวได้อยู่แล้ว แต่บางครั้งเมื่อลมแรง เต็นท์อาจจะมีการพลิกซึ่งอาจจะทำให้เต็นท์เสียหาย ถ้าช่วงที่คุณกางเต็นท์มีลมแรงควรจะนำสัมภาระเข้าไปไว้ในเต็นท์ แล้วปักสมอบกยึดไว้ ซึ่งจะช่วยป้องกันเต็นท์พลิกจากแรงลมได้
6.ใช้อุปกรณ์ซ่อมแซมเต็นท์ถ้าจำเป็น หากเต็นท์คุณเกิดการเสียหาย เช่น ผนังเต็นท์มีรอยฉีกขาด ควรใช้ พวกผ้าเทปปิดรอยขาดนั้นไว้ มิฉะนั้นรอยขาดนั้นจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ (ลองคิดถึงเสื้อผ้าที่ขาดดู ถ้าเรายิ่งดึงก็จะยิ่งขาดมากขึ้น) อุปกรณ์ซ่อมแซมเต็นท์สามารถหาซื้อได้ตามร้านอุปกรณ์แค้มปิ้งทั่วไป

thank http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_6.html

ส่วนประกอบของเต็นท์

ส่วนประกอบของเต็นท์

  1. พื้นเต็นท์
    เป็นส่วนที่สัมผัสกับพื้นดิน สามารถกันน้ำและมีความทนทานสูง
  2. ตัวเต็นท์
    เป็นส่วนที่อยู่เหนือพื้นเต็นท์ขึ้นมา ทำหน้าที่กันลม ฝน
  3. เสาหรือโครงเต็นท์
    เป็นส่วนที่ช่วยทำให้เต็นท์ทรงตัวอยู่ได้ เสาเต็นท์ที่นิยมใช้กัน จะมีเป็นแบบอลูมิเนียม และไฟเบอร์กลาส ซึ่งถ้าเป็นเต็นท์สามเหลี่ยม เสาที่ใช้มักจะเป็นอลูมิเนียม ส่วนเต็นท์โดม เต็นท์อุโมงค์จะใช้เป็นไฟเบอร์กลาส ซึ่งมีน้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่นสูง สามารถโค้งงอได้
  4. ฟลายชีท
    จะเป็นผ้าที่ใช้กันลมและฝน คุณสมบัติทั่วไปของฟลายชีทคือ สามารถกันน้ำได้เนื่องจากมีการเคลือบสารกันน้ำเอาไว้ ทำให้เวลาฝนตกน้ำจะไม่ไหลเข้าสู่ตัวเต็นท์

    gear_4_3.jpg

  5. สมอบกและเชือก
    ใช้สำหรับยึดเต็นท์กับพื้นดิน เพื่อไม่ให้ปลิวไปกับลม สมอบกจะมีทั้งแบบอลูมิเนียม พลาสติก ซึ่งแต่ละแบบจะมีความแข็งแรงและน้ำหนักไม่เท่ากัน
  6. ประตูและหน้าต่าง
    ใช้สำหรับเป็นทางเข้าออกและเป็นช่องทางระบายอากาศ เต็นท์โดยส่วนใหญ่จะมีประตูด้านเดียว แต่ในบางรุ่นก็มีประตูเข้าออกได้ทั้งสองด้าน ส่วนหน้าต่างจะขึ้นอยู่กับชนิดและรุ่นของเต็นท์ เต็นท์บางชนิดที่ใช้กับอากาศหนาวมากๆ อาจจะไม่มีหน้าต่างเลยก็ได้
  7. ช่องเก็บของ
    เต็นท์บางรุ่นจะมีช่องเก็บของด้านใน ซึ่งจะอยู่บริเวณติดกับผนังเต็นท์ด้านข้าง หรือด้านบนตัวเต็นท์ตรงกึ่งกลาง ซึ่งจะพอเก็บของจุกจิกได้เล็กน้อย เช่น แว่นตา ไฟฉาย ฯลฯ

    gear_4_1.jpg gear_4_2.jpg
thank http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_4.html

ตัวอย่างวิธีการกางเต็นท์อย่างถูกวิธี

ตัวอย่างวิธีการกางเต็นท์แบบง่ายๆ ที่จะทำให้คุณรู้สึกว่าการกางเต็นท์ไม่ใช่เรื่องยาก ตัวอย่างที่มาแสดงจะเป็นการกางเต็นท์โดม ถ้าเป็นแบบอื่นๆ ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้

1. นำเต็นท์และอุปกรณ์ต่างๆ ออกมาจากถุง ตรวจสอบว่าอุปกรณ์ครบถ้วน

2. เริ่มด้วยการติดตั้งโครงเต็นท์ โดยเอาบริเวณปลายของโครงเสียบกับตรงมุมเต็นท์ ซึ่งจะมีช่องสำหรับเสียบโครงเต็นท์อยู่ หลังจากนั้นให้นำขอเกี่ยวบริเวณตัวเต็นท์ นำมาเกี่ยวกับตัวโครง ถึงขั้นตอนนี้เต็นท์ของคุณจะขึ้นเป็นรูปได้แล้ว สำหรับบางรุ่นอาจจะต้องมีการเอาตัวโครงมาสอดกับตัวเต็นท์ให้ทะลุไปอีกด้าน หนึ่งแล้วงอโครงโดยให้ปลายทั้งสองข้างเสียบเข้าไปในช่องที่มุมเต็นท์

3.หลังจากตั้งโครงแล้วก็จะได้เต็นท์ ที่พร้อมจะกางฟลายชีทได้

4.ติดตั้งเสาสำหรับฟลายชีท โดยนำเสามาพาดกลางเต็นท์และผูกตัวเสาฟลายชีทกับบริเวณกลางเต็นท์ที่เสาโครงเต็นท์สองด้านตัดกัน

5. ติดตั้งฟลายชีทโดยนำขอเกี่ยวของฟลายชีทเกี่ยวกับบริเวณมุมเต็นท์ทั้ง 2 ด้าน แล้วนำฟลายชีทมาพาดเสากลาง

6. ติดตั้งฟลายชีทอีกด้าน เมื่อเสร็จเรียบร้อยก็จะได้เต็นท์ที่เสร็จสมบูรณ์

thank http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_7.html

ข้อควรพิจารณาในการเลือกซื้อเต็นท์

ก่อนที่เราจะซื้อเต็นท์สักหลัง เราควรพิจารณาข้อมูลต่างๆ หลายๆ ด้าน แรกสุด เราควรจะสามารถตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้เสียก่อนที่จะพิจารณาเลือกซื้อเต็นท์ สักหลัง
  • จะซื้อเต็นท์แบบไหนดีนะ
    เราเที่ยวบ่อยแค่ไหน?
    ถ้าในปีหนึ่งๆ เราเที่ยวแค่ไม่กี่ครั้ง ก็อาจจะยืมเต็นท์เพื่อนๆ เอาจะคุ้มกว่า เพราะถ้าเสียเงินซื้อไปแล้วไม่ค่อยได้ใช้ อุปกรณ์บางอย่างจะเสื่อมตามกาลเวลา เช่น สารเคลือบเต็นท์บริเวณผนังเต็นท์อาจจะหลุดลอกเมื่อเวลาผ่านไป เป็นต้น
  • งบประมาณมีเท่าไร? งบประมาณจะส่งผลต่อเต็นท์ที่เราจะเลือกซื้อ ถ้างบประมาณเราน้อยก็อาจจะได้เต็นท์ที่มีคุณสมบัติไม่มากเท่าไร ถ้าคุณต้องการเต็นท์ที่ดี แน่นอนก็ต้องจ่ายแพงกว่า ทั้งนี้ขึ้นกับงบประมาณของคุณเป็นหลัก เพราะใครๆ ก็อยากได้เต็นท์ที่ดีอยู่แล้ว
  • เต็นท์ที่เราซื้อจะไปใช้กับการเดินทางท่องเที่ยวแบบไหน? เช่น การขับรถเที่ยว (คาร์แค้มป์) หรือการเดินป่า เป็นต้น ถ้าหากคุณชอบขับรถเที่ยว น้ำหนักของเต็นท์อาจจะไม่สำคัญเท่าไรในการพิจารณาเลือกซื้อ แต่หากคุณต้องเดินป่าระยะไกลก็อาจจะต้องพิจารณาถึงเรื่องน้ำหนักและ คุณสมบัติเฉพาะบางอย่างเป็นพิเศษ ทั้งนี้ขึ้นกับสไตล์การท่องเที่ยวของคุณ
  • ภูมิอากาศของสถานที่ที่เราไปแค้มปิ้ง หากคุณชอบไปป่าหน้าฝน พวกอุปกรณ์กันฝนก็เป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อ เพราะเต็นท์บางรุ่นจะมีอุปกรณ์กันฝนมาให้ (เช่น ฟลายชีท) บางรุ่นก็ไม่มี
  • ขนาดของเต็นท์ที่คุณต้องการ คุณต้องการเต็นท์ที่นอนได้กี่คน ไม่ใช่ว่าเต็นท์ขนาดใหญ่จะดีกว่าเต็นท์ขนาดเล็ก เพราะขนาดจะแปรผันตรงกับน้ำหนัก หากไปป่าที่ต้องเดินก็ควรพิจารณาซื้อเต็นท์เล็กนอนได้ 1-2 คน ถ้าเที่ยวกับรถก็ซื้อใหญ่กว่าก็ได้ไม่มีปัญหา

หลังจากที่คุณสามารถตอบคำถามในใจคุณได้แล้ว ลองดูในใบตัวอย่างสินค้าของแต่ละยี่ห้อ คุณก็จะสามารถเลือกเต็นท์ได้แล้วว่ามีรุ่นไหนที่ตรงกับที่คุณต้องการบ้าง คราวนี้ก็ถึงเวลาที่เราต้องไปซื้อเต็นท์กันแล้ว เราจะมีวิธีเลือกและตรวจสอบตัวเต็นท์ที่จะซื้ออย่างไรบ้าง

  1. เมื่อเราได้คำตอบแล้วว่าเราต้องการเต็นท์แบบไหน ก็ลองหารายละเอียดตัวอย่างสินค้าของแต่ละยี่ห้อมาดูก่อน ศึกษาก่อนว่าแต่ละยี่ห้อมีรุ่นไหนที่ตรงกับความต้องการของคุณบ้าง ซึ่งคุณควรพิจารณายี่ห้อของเต็นท์ที่คุณจะซื้อด้วยว่ามีบริการเป็นอย่างไร ถ้าสินค้ามีปัญหาจะนำมาเปลี่ยนหรือซ่อมได้หรือไม่
  2. พาเพื่อนๆ ที่ชอบเที่ยวกับคุณมาช่วยเลือกเต็นท์กับคุณด้วย เพราะเขาเหล่านั้นอาจจะได้มานอนในเต็นท์ที่คุณซื้อ ให้เขาช่วยตัดสินใจกับคุณ ยังไงซะหลายตาดีกว่าตาเดียว บางครั้ง เพื่อนบางคนอาจจะเคยมีประสบการณ์ในการใช้เต็นท์บางประเภท ซึ่งจะสามารถให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมได้อีกด้วย
  3. ลองกางเต็นท์ดู แกะออกจากถุงแล้วลองกางดูว่ากางยากหรือเปล่า เต็นท์บางรุ่นกว่าจะกางได้เสร็จเล่นเอาเหนื่อยเหมือนกัน ถ้าสงสัยอะไรก็ให้ถามพนักงาน แล้วลองดูสเป็คข้างถุงเต็นท์ว่าตรงกับตัวเต็นท์หรือเปล่า
  4. มุดเข้าไปในตัวเต็นท์ลองนั่งดูว่าพื้นที่ใช้สอยมากพอตามความต้อง การหรือไม่ หน้าต่างระบายอากาศมีมากพอหรือไม่ แล้วลองนั่งจินตนการดูว่าพวกกระเป๋า รองเท้า อุปกรณ์ต่างๆ ของเราจะวางไว้ตรงไหนของเต็นท์ แล้วจะมีที่เหลือพอสำหรับนอนหรือเปล่า
  5. ตรวจสอบตะเข็บเต็นท์ตามมุมต่างๆ ว่าเย็บดีหรือไม่ ลองรูดซิปตามประตูหน้าต่างดูว่ามีปัญหาหรือไม่
  6. ตรวจสอบการเคลือบผิวของสารกันน้ำตามตัวเต็นท์ หรือฟลายชีทที่มากับเต็นท์ ตามปรกติพวกฟลายชีทและผนังเต็นท์มักจะเคลือบสารเพื่อกันน้ำซึมไหลเข้าเต็นท์ เอาไว้
  7. หลังจากตรวจสอบทุกอย่างเรียบร้อย ก็ลองเก็บเต็นท์ดูว่าเก็บยากหรือไม่
  8. ถ้าคุณตัดสินใจแล้วว่าเต็นท์นี้แหละที่ใช่แบบที่คุณต้องการ คราวนี้ก็ต้องมาเลือกสีกันแล้ว เต็นท์แต่ละรุ่นจะมีสีให้เลือกไม่มากนัก ไม่เหมือนเสื้อผ้าที่มีสีหลากหลาย ข้อควรพิจารณาคือ สีอ่อนจะช่วยให้แสงส่องผ่านเต็นท์ได้ดีกว่าสีเข้ม ส่วนสีเข้มจะดูดความร้อนได้ดีกว่าสีอ่อน หากใช้ในที่อากาศหนาวก็จะทำให้อุ่นขึ้น ทั้งนี้ขึ้นกับผู้ซื้อด้วยว่าชอบสีสไตล์ไหน
thank http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_5.html

มารู้จักชนิดและประเภทของเต๊นท์

เต็นท์แบบสามเหลี่ยม (Pup Tent)

คือเต็นที่ใช้เสาเต็นท์และสมอบกในการกาง โดยจะมีเสาเต็นท์ 2 ข้างบริเวณประตูเป็นตัวยึดโครงเต็นท์ เต็นท์ลักษณะนี้จำเป็นต้องใช้สมอบกและเชื่อกขึงตามมุมเพื่อทำการยึด เต็นท์ เมื่อกางเสร็จแล้วจะมีลักษณะคล้ายสามเหลี่ยมทรงปริซึ่ม (รูปเต็นท์สามเหลี่ยม) ข้อเสียของเต็นท์ชนิดนี้คือกางยากและพื้นที่ใช้สอยไม่มาก เพราะจะเสียพื้นที่บริเวณมุมเต็นท์เพราะผนังจะมีลักษณะลาดเอียง และมักจะมีน้ำเกาะบริเวณผนังเต็นท์ แต่ในบางรุ่นในปัจจุบันก็มีการออกแบบให้มีฟลายชีสอีกชั้นหนึ่งเพื่อกันฝน

เต๊นท์แบบธรรมดา

เต็นท์โครง (A Frame)

เต็นท์โครงจะมีลักษณะคล้ายกับเต็นท์แบบสามเหลี่ยม แต่จะมีลักษณะของโครงสร้างต่างไป โดยแทนที่จะที่จะมีเสาทั้งสองด้านของตัวเต็นท์เพื่อยึดตัวเต็นท์ จะใช้โครงเหล็กลักษณะคล้ายกับตัว A ยึดกับแกนที่มีลักษณะเป็นแนวยาวขนานกับตัวเต็นท์ด้านบน พื้นที่ใช้สอยจะมีมากกว่าแบบสามเหลี่ยม เต็นท์ลักษณะนี้จะต้องปักสมอบกเพื่อยึดตัวเต๊นท์ให้เกิดความแข็งแรง (คล้ายกับเต๊นท์แบบสามเหลี่ยม) ในบ้านเราก็มีจำหน่ายเต็นท์ลักษณะนี้แต่ยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก

เต๊นท์แบบ A Frame
ลักษณะของโครง A Frame

เต็นท์โดม (Dome)

เต๊นท์โดม
เต็นท์ โดม คือเต็นท์ที่ใช้โครงเสาไฟเบอร์ในการกาง แต่จะใช้สมอบกเพื่อยึดเต็นท์ให้อยู่กับที่เท่านั้น (รูปเต็นท์โดม) (ตารางเปรียบเทียบเต็นท์) จากตารางเปรียบเทียบจะเห็นได้ว่าเต็นท์โดมมีคุณสมบัติที่โดดเด่นและเหนือ กว่าเต็นท์สามเหลี่ยมมากโดยเฉพาะคุณสมบัติที่เคลื่อนย้ายง่ายและกางได้ทุก พื้นที่ เพราะในบางครั้งเรามีความจำเป็นที่จะต้องกางเต็นท์บนพื้นดินที่แข็งมาก ,บนลานหิน ,บนลานปูน หรือบนพื้นที่ที่ไม่อาจจะตอกสมอบกได้ และในบางครั้งเราก็ต้องมีการย้ายพื้นที่กางเต็นท์ในขณะที่กางเต็นท์ไปแล้ว เช่นกางอยู่บนรังมด หรือมีเศษไม้ เศษหินอยู่ใต้เต็นท์ เราก็สามารถที่จะยกเต็นท์โดมออกแล้งย้ายกรือหยิบเศษไม้เศษหินเหล่านั้นออกไป ได้โดยไม่ต้องเสียเวลากางเต็นท์ใหม่เหมือนเต็นท์ สามเหลี่ยม และด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดนี้จึงขอแนะนำให้ใช้เต็นท์โดมมากกว่า เต็นท์สามเหลี่ยม

เต็นท์แบบกระโจม (Teepee)

เต๊นท์ทรงอินเดียแดง
เต็นท์ กระโจมจะมีลักษณะคล้ายกับกระโจมของอินเดียแดง โดยจะมีเสาเพียงต้นเดียว ลักษณะของเต็นท์ชนิดนี้จะเหมือนกับมีฟลายชีสมาคลุมพื้นไว้เป็นรูปกระโจมเท่า นั้น โดยจะมีเสาอยู่ตรงกลาง ทางเข้าของเต็นท์ชนิดนี้จะเอียงตากความชันของกระโจม พื้นด้านล่างเมื่อกางเสร็จจะไม่เป็นสี่เหลี่ยมเพราะจะเสียพื้นที่ตรงความชัน ของกระโจม เราจะไม่ค่อยพบเต็นท์แบบนี้มากนักในบ้านเรา (ตั้งแต่เที่ยวมายังไม่เคยเห็นใครใช้แบบนี้เลย) ข้อดีของเต็นกระโจมจะมีน้ำหนักเบาและติดตั้งง่ายเพราะมีเสาเพียงแค่ต้นเดียว (แต่บางแบบก็มีการพัฒนาให้มีเสาสองต้น เพื่อเพิ่มพื้นที่ด้านใน) ข้อเสียของเต็นท์ชนิดนี้ไม่สามารถใช้กับอากาศทุกประเภทเช่น อากาศที่ฝนตก เพราะน้ำอาจเข้าได้

เต็นท์แบบอุโมงค์ (Tunnel or Hoop)

เต็นท์ทรงอุโมงค์
เต็นท์ แบบอุโมงค์จะใช้เสาประมาณ 2-3 เสา โดยเสาจะสามารถงอให้เป็นรูปโค้งคล้ายกับห่วงครึ่งวงกลม ทำให้มีลักษณะคล้ายกับอุโมงค์ถ้านำมาเรียงต่อกัน โดยเสาที่โค้งเป็นครึ่งวงกลมนี้จะทำหน้าที่ยึดตัวเต็นท์ไว้ พื้นที่ใช้สอยของเต็นท์ลักษณะนี้จะค่อนข้างมาก เพราะเป็นทรงสูงจะไม่เสียพื้นที่กับการลาดเอียงของผนังเต็นท์ ขนาดของเต็นท์ชนิดนี้จะไม่ใหญ่มาก (ส่วนใหญ่จะนอนไม่เกิน 4 คน) เพราะถ้ามีขนาดใหญ่จะทำให้รูปทรงไม่สามารถต้านลมได้ ข้อดีของเต็นท์ชนิดนี้คือกางง่าย น้ำหนักเบา พื้นที่ใช้สอยมาก ส่วนข้อเสียคือกันลมได้ไม่ดี เพราะมีความลาดชันของผนังเต็นท์น้อยทำให้ต้านลม เต็นท์ชนิดนี้บางครั้งก็มีอุปกรณ์เสริมเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ เต็นท์ เช่น ฟลายชีสกันฝน ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นกับผู้ผลิตเต็นท์ว่าจะทำอุปกรณ์เสริมชนิดใดออกมา

เต็นท์แบบกึ่งถุงนอน (Bivy Sacks)

Bivy Sacks
เต็นท์ ลักษณะนี้จะมีลักษณะคล้ายกับถุงนอนแต่จะมีส่วนที่ใช้ครอบศีรษะ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเต็นท์เล็ก ๆ บนศีรษะ เต็นท์ลักษณะนี้จะมีพื้นที่ใช้สอยน้อย แค่นอนไปก็ที่เต็มแล้ว และไม่เหมาะกับสภาพภูมิอากาศที่ฝนตก เพราะกันฝนได้ไม่ดี เหมาะสำหรับอากาศแบบทั่ว ๆ ไป หากเกรงว่าฝนจะตกก็อาจจะใช้ฟลายชีสกันฝนอีกชั้นหนึ่ง เราจะม่ค่อยเต็นท์ลักษณะนี้กันมากนัก ข้อดีของเต็นท์ชนิดนี้คือน้ำหนักเบา เหมาะที่สุดสำหรับการนอนดูดาว

เต็นท์สปริง (Spring)

เป็นเต็นท์ที่ใช้ขดลวดสปริงเป็นโครงอยู่ภายในดังนั้นมันจึง เป็นเต็นท์ที่กางง่ายที่สุดในบรรดาเต็นท์ทั้ง 3 ชนิด คือแค่โยนขึ้นไปในอากาศโครงสปริงก็จะดันตัวเต็นท์ให้ดีดดึ๋งกางเสร็จสรรพใน พริบตาแต่ไม่แนะนำให้ซื้อเต็นท์ประเภทนี่มาใช้เพราะมีโครงสร้างที่ไม่แข็ง แรงแค่ลมพัดมาก็จะปลิวแล้ว และเต็นท์ที่ผลิตก็จะมีขนาดเพียง 2-3 คนนอนเท่านั้น แถมเวลาเก็บยังมีขนาดใหญ่และเกะกะกว่าเต็นท์แบบอื่นๆอีกด้วย

thank http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_3.html