เส้นใยสังเคราะห์ที่ใช้ทำถุงนอน

หลายท่านคงจะเคยไปซื้อถุงนอนตามร้านขายอุปกรณ์แค้มปิ้ง คนขายมักจะบอกถึงคุณสมบัติของถุงนอนว่าทำจากเส้นใย Dupont , Polarguard หรือ อื่นๆ ซึ่งราคาของถุงนอนจะต่างกันค่อนข้างมากสำหรับเส้นใยชนิดต่างกัน และคนซื้อก็มักจะไม่ค่อยทราบว่า เส้นใยแต่ละชนิดมีคุณสมบัติอย่างไร แบบไหนดีกว่า เส้นใยที่นิยมใช้บุถุงนอนส่วนใหญ่ มักจะมาจาก 2 ค่ายใหญ่คือ Dupont เช่น เส้นใยแบบ Hollofil , Quallofil , Thermolite และค่ายของ Polarguard เช่น Polarguard HV, Polarguard 3D เป็นต้น เราจะมาดูกันว่าเส้นใยแต่ละประเภทมีคุณสมบัติอย่างไร เพื่อเป็นความรู้ประกอบในการเลือกซื้อถุงนอน

เส้นใย Dupont

Dupont เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงมากทางด้านเทคโนโลยีสำหรับผ้าและสิ่งทอต่าง ๆ สำหรับถุงนอนบริษัท Dupont ก็ได้มีการผลิตเส้นใยที่ใช้สำหรับบุถุงนอนออกมาหลายแบบ เช่น Hollofil , Quallofil , Thermolite ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในการผลิตถุงนอน

Hollofil808 – เป็นเส้นใยที่ทำมาจาก Dacron Polyester 100% เส้นใยผ้าจะมีรูเดียวจึงกันหนาวได้ไม่มากนัก ซึ่งถุงนอนที่ทำด้วยใยประเภทนี้เหมาะสำหรับใช้งานแบบคาร์แค้มป์ หรือ สถานที่อากาศไม่หนาวมากนัก

Hollofil 2 – เส้นใยชนิดนี้มีการพัฒนาจาก Holofil808 ซึ่งเป็นเส้นใยที่ทำมาจาก Dacron Polyester 100% และเส้นใยมีรูจำนวน 4 รู ทำให้สามารถให้ความอบอุ่นได้มากกว่า Hollofil808 โดยที่น้ำหนักไม่เพิ่มขึ้น

เส้นใย Hollofil
เส้นใย Hollofil
เส้นใย Quallofil
เส้นใย Quallofil


Quallofil – เส้นใยชนิดนี้จะมีรูจำนวน 7 รู ทำให้สามารถให้ความอบอุ่นได้มากกว่า 2 แบบแรก มีน้ำหนักเบา และในกรณที่มีความเปียกชื้นก็ยังสามารถให้ความอบอุ่นได้ดี เส้นใยชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้งานเดินป่า และในที่ที่อาจจะเปียกชื้น

Quallofil with Allerban – เส้นใยชนิดนี้จะเหมือนกับแบบ Quallofil คือมี 7 รู แต่จะพิเศษกว่าที่จะมีเส้นใยที่เรียกว่า Allerban ผสมอยู่ด้วย ซึ่งเส้นใยชนิดนี้จะมีคุณสมบัติในการป้องกันแบคทีเรียได้

Thermolite Micro – เส้นใยแบบ Thermolite จะเป็นเส้นใยที่ให้ความอบอุ่นมากที่สุด ซึ่งเรียกได้ว่าให้ความอบอุ่นใกล้เคียงกับขนเป็ดเลยทีเดียว ซึ่งเส้นใย Thermolite จะมีรูกลวงตรงกลาง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เรียกว่า Hollow-core fiber technology ซึ่งจะทำให้มีน้ำหนักเบา แห้งเร็วกว่าผ้า Cotton ถึง 50% ซึ่งรูตรงกลางนี้จะทำให้สามารถระบายความชื้นออกจากภายในและกักเก็บความอบอุ่นไว้ได้

Thermolite Extra – จะมีลักษณะเหมือนกับ Thermolite Micro จะต่างกันตรงที่เส้นใยจะขดเป็นรูปสปริงทับซ้อนกัน (hollow-core fibers provide three-dimensional spring) ทำให้สามารถให้ความอบอุ่นได้ดีกว่า เนื่องจากการขดเป็นรูปสปริง จะทำให้เส้นใยอัดแน่นได้มากกว่า

Thermolite Extreme – จะเป็นเส้นใยที่ดีที่สุดของ Dupont ในปัจจุบัน ให้ความอบอุ่นได้สูงสุด เหมาะกับการใช้งานในที่หนาวจัด ซึ่งเส้นใยแบบนี้จะมีเทคโนโลยีที่เรียกว่า tri-blend fiber technology ซึ่งจะประกอบด้วยเส้นใย 3 ส่วน คือ เส้นใยที่เป็นเส้นตรง เส้นใยที่ขดเป็นสปริง และเส้นใยที่คอยยึดโยงเส้นใยอื่น ๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งจะมีลักษณะเป็นใยแมงมุม

เส้นใย Thermolite Extra มีลักษณะการขดเหมือนสปริง
เส้นใย Thermolite Extra
มีลักษณะการขดเหมือนสปริง
เส้นใย Thermolite Extreme มีการลักษณะการวางเส้นใยเป็น 3 เลเยอร์
เส้นใย Thermolite Extreme
มีการลักษณะการวางเส้นใยเป็น 3 เลเยอร์

เส้นใย Polarguard

Polarguard HV (High Void Continuous Filament) – เส้นใยประเภทนี้จะมีลักษณะกลวงเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านในซึ่งจะเป็นช่องสับ หว่างกันไปมา ทำให้สามารถกักเก็บปริมาตรอากาศได้มากกว่าเส้นใยสังเคราะห์ทั่วไปที่ไม่มี ช่องว่างภายใน และช่วยเก็บและรักษาความร้อนจากร่างกายของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า เส้นใย Polarguard HV มีข้อได้เปรียบต่างๆ มากมาย ดังนี้

  • เป็นฉนวนสังเคราะห์ที่ทนทานมาก
  • ให้ความอบอุ่นมาก
  • เบากว่าใย Polarguard ทั่วไปถึง 25%
  • แห้งเร็ว
  • กันความชื้นได้ดี
  • สามารถซักในเครื่องซักผ้าได้
  • มีการกระจายตัวดี ไม่เกาะกันเป็นกลุ่มก้อน
  • สามารถอัดแน่นและคืนตัวสู่สภาพเดิมได้เป็นอย่างดี
  • ไม่มีกลิ่น
  • ไม่ทำให้แพ้ง่าย (สำหรับคนที่เป็นภูมิแพ้)
  • ไม่ทำให้เกิดเชื้อรา
  • ป้องกันแมลงได้
  • ทนทาน ใช้ได้นาน

เส้นใย PolarGuard 3D
เส้นใย PolarGuard 3D

Polarguard 3D – เป็นเส้นใยที่รักษาข้อดีของ Polarguard HV ไว้และยังมีข้อดีอื่นเพิ่มขึ้นอีก คือ เป็นเส้นใยสังเคราะห์ที่เบาที่สุด มีความสามารถในการคืนรูปมากที่สุด สามารถอัดแน่นได้มากที่สุด และยังมีชั้นกันความชื้นเพื่อป้องกันความชื้นที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกด้วย

Polarguard 3D ทำจากเส้นใยไฟเบอร์ที่มีความต่อเนื่องกันเป็นเส้นเดียว ช่วยทำให้เส้นใยคงสภาพเดิม ไม่แยกออกจากกันหรือเกาะตัวกันเป็นกลุ่มก้อน เส้นใย Polarguard 3D นี้มีความนุ่มใกล้เคียงกับขนเป็ดมาก ซึ่งช่วยให้ความอ่อนนุ่มแบบขนเป็ดแต่ยังคงรักษาความทนทานของใยสังเคราะห์เอา ไว้ได้เป็นอย่างดี เส้นใยแต่ละเส้นมีรูกลวงรูปสามเหลี่ยมด้านในสับหว่างกัน ช่วยป้องกันไม่ให้เส้นใยยุบตัวและสามารถรักษาสภาพเดิมและคืนรูปได้ดีตลอด เวลาหลายปีของการใช้งาน เวลาเดินป่า เราสามารถจะเก็บถุงนอนโดยการยัดใส่ถุงและบีบอัดให้เล็กลง พอกลับมาแล้วก็สามารถเอาถุงนอนไปซักและอบแห้ง จากนั้นก็เอามาใช้นอนได้อีกโดยที่เส้นใยจะกลับคืนสู่สภาพความอ่อนนุ่มเหมือน เก่าได้เป็นอย่างดี

thank http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_24.html

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น