มารู้จักชนิดและประเภทของเต๊นท์

เต็นท์แบบสามเหลี่ยม (Pup Tent)

คือเต็นที่ใช้เสาเต็นท์และสมอบกในการกาง โดยจะมีเสาเต็นท์ 2 ข้างบริเวณประตูเป็นตัวยึดโครงเต็นท์ เต็นท์ลักษณะนี้จำเป็นต้องใช้สมอบกและเชื่อกขึงตามมุมเพื่อทำการยึด เต็นท์ เมื่อกางเสร็จแล้วจะมีลักษณะคล้ายสามเหลี่ยมทรงปริซึ่ม (รูปเต็นท์สามเหลี่ยม) ข้อเสียของเต็นท์ชนิดนี้คือกางยากและพื้นที่ใช้สอยไม่มาก เพราะจะเสียพื้นที่บริเวณมุมเต็นท์เพราะผนังจะมีลักษณะลาดเอียง และมักจะมีน้ำเกาะบริเวณผนังเต็นท์ แต่ในบางรุ่นในปัจจุบันก็มีการออกแบบให้มีฟลายชีสอีกชั้นหนึ่งเพื่อกันฝน

เต๊นท์แบบธรรมดา

เต็นท์โครง (A Frame)

เต็นท์โครงจะมีลักษณะคล้ายกับเต็นท์แบบสามเหลี่ยม แต่จะมีลักษณะของโครงสร้างต่างไป โดยแทนที่จะที่จะมีเสาทั้งสองด้านของตัวเต็นท์เพื่อยึดตัวเต็นท์ จะใช้โครงเหล็กลักษณะคล้ายกับตัว A ยึดกับแกนที่มีลักษณะเป็นแนวยาวขนานกับตัวเต็นท์ด้านบน พื้นที่ใช้สอยจะมีมากกว่าแบบสามเหลี่ยม เต็นท์ลักษณะนี้จะต้องปักสมอบกเพื่อยึดตัวเต๊นท์ให้เกิดความแข็งแรง (คล้ายกับเต๊นท์แบบสามเหลี่ยม) ในบ้านเราก็มีจำหน่ายเต็นท์ลักษณะนี้แต่ยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก

เต๊นท์แบบ A Frame
ลักษณะของโครง A Frame

เต็นท์โดม (Dome)

เต๊นท์โดม
เต็นท์ โดม คือเต็นท์ที่ใช้โครงเสาไฟเบอร์ในการกาง แต่จะใช้สมอบกเพื่อยึดเต็นท์ให้อยู่กับที่เท่านั้น (รูปเต็นท์โดม) (ตารางเปรียบเทียบเต็นท์) จากตารางเปรียบเทียบจะเห็นได้ว่าเต็นท์โดมมีคุณสมบัติที่โดดเด่นและเหนือ กว่าเต็นท์สามเหลี่ยมมากโดยเฉพาะคุณสมบัติที่เคลื่อนย้ายง่ายและกางได้ทุก พื้นที่ เพราะในบางครั้งเรามีความจำเป็นที่จะต้องกางเต็นท์บนพื้นดินที่แข็งมาก ,บนลานหิน ,บนลานปูน หรือบนพื้นที่ที่ไม่อาจจะตอกสมอบกได้ และในบางครั้งเราก็ต้องมีการย้ายพื้นที่กางเต็นท์ในขณะที่กางเต็นท์ไปแล้ว เช่นกางอยู่บนรังมด หรือมีเศษไม้ เศษหินอยู่ใต้เต็นท์ เราก็สามารถที่จะยกเต็นท์โดมออกแล้งย้ายกรือหยิบเศษไม้เศษหินเหล่านั้นออกไป ได้โดยไม่ต้องเสียเวลากางเต็นท์ใหม่เหมือนเต็นท์ สามเหลี่ยม และด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดนี้จึงขอแนะนำให้ใช้เต็นท์โดมมากกว่า เต็นท์สามเหลี่ยม

เต็นท์แบบกระโจม (Teepee)

เต๊นท์ทรงอินเดียแดง
เต็นท์ กระโจมจะมีลักษณะคล้ายกับกระโจมของอินเดียแดง โดยจะมีเสาเพียงต้นเดียว ลักษณะของเต็นท์ชนิดนี้จะเหมือนกับมีฟลายชีสมาคลุมพื้นไว้เป็นรูปกระโจมเท่า นั้น โดยจะมีเสาอยู่ตรงกลาง ทางเข้าของเต็นท์ชนิดนี้จะเอียงตากความชันของกระโจม พื้นด้านล่างเมื่อกางเสร็จจะไม่เป็นสี่เหลี่ยมเพราะจะเสียพื้นที่ตรงความชัน ของกระโจม เราจะไม่ค่อยพบเต็นท์แบบนี้มากนักในบ้านเรา (ตั้งแต่เที่ยวมายังไม่เคยเห็นใครใช้แบบนี้เลย) ข้อดีของเต็นกระโจมจะมีน้ำหนักเบาและติดตั้งง่ายเพราะมีเสาเพียงแค่ต้นเดียว (แต่บางแบบก็มีการพัฒนาให้มีเสาสองต้น เพื่อเพิ่มพื้นที่ด้านใน) ข้อเสียของเต็นท์ชนิดนี้ไม่สามารถใช้กับอากาศทุกประเภทเช่น อากาศที่ฝนตก เพราะน้ำอาจเข้าได้

เต็นท์แบบอุโมงค์ (Tunnel or Hoop)

เต็นท์ทรงอุโมงค์
เต็นท์ แบบอุโมงค์จะใช้เสาประมาณ 2-3 เสา โดยเสาจะสามารถงอให้เป็นรูปโค้งคล้ายกับห่วงครึ่งวงกลม ทำให้มีลักษณะคล้ายกับอุโมงค์ถ้านำมาเรียงต่อกัน โดยเสาที่โค้งเป็นครึ่งวงกลมนี้จะทำหน้าที่ยึดตัวเต็นท์ไว้ พื้นที่ใช้สอยของเต็นท์ลักษณะนี้จะค่อนข้างมาก เพราะเป็นทรงสูงจะไม่เสียพื้นที่กับการลาดเอียงของผนังเต็นท์ ขนาดของเต็นท์ชนิดนี้จะไม่ใหญ่มาก (ส่วนใหญ่จะนอนไม่เกิน 4 คน) เพราะถ้ามีขนาดใหญ่จะทำให้รูปทรงไม่สามารถต้านลมได้ ข้อดีของเต็นท์ชนิดนี้คือกางง่าย น้ำหนักเบา พื้นที่ใช้สอยมาก ส่วนข้อเสียคือกันลมได้ไม่ดี เพราะมีความลาดชันของผนังเต็นท์น้อยทำให้ต้านลม เต็นท์ชนิดนี้บางครั้งก็มีอุปกรณ์เสริมเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ เต็นท์ เช่น ฟลายชีสกันฝน ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นกับผู้ผลิตเต็นท์ว่าจะทำอุปกรณ์เสริมชนิดใดออกมา

เต็นท์แบบกึ่งถุงนอน (Bivy Sacks)

Bivy Sacks
เต็นท์ ลักษณะนี้จะมีลักษณะคล้ายกับถุงนอนแต่จะมีส่วนที่ใช้ครอบศีรษะ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเต็นท์เล็ก ๆ บนศีรษะ เต็นท์ลักษณะนี้จะมีพื้นที่ใช้สอยน้อย แค่นอนไปก็ที่เต็มแล้ว และไม่เหมาะกับสภาพภูมิอากาศที่ฝนตก เพราะกันฝนได้ไม่ดี เหมาะสำหรับอากาศแบบทั่ว ๆ ไป หากเกรงว่าฝนจะตกก็อาจจะใช้ฟลายชีสกันฝนอีกชั้นหนึ่ง เราจะม่ค่อยเต็นท์ลักษณะนี้กันมากนัก ข้อดีของเต็นท์ชนิดนี้คือน้ำหนักเบา เหมาะที่สุดสำหรับการนอนดูดาว

เต็นท์สปริง (Spring)

เป็นเต็นท์ที่ใช้ขดลวดสปริงเป็นโครงอยู่ภายในดังนั้นมันจึง เป็นเต็นท์ที่กางง่ายที่สุดในบรรดาเต็นท์ทั้ง 3 ชนิด คือแค่โยนขึ้นไปในอากาศโครงสปริงก็จะดันตัวเต็นท์ให้ดีดดึ๋งกางเสร็จสรรพใน พริบตาแต่ไม่แนะนำให้ซื้อเต็นท์ประเภทนี่มาใช้เพราะมีโครงสร้างที่ไม่แข็ง แรงแค่ลมพัดมาก็จะปลิวแล้ว และเต็นท์ที่ผลิตก็จะมีขนาดเพียง 2-3 คนนอนเท่านั้น แถมเวลาเก็บยังมีขนาดใหญ่และเกะกะกว่าเต็นท์แบบอื่นๆอีกด้วย

thank http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_3.html

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น