การปีนหน้าผาแบบ Bouldering คืออะไร


Bouldering คือ การปีนก้อนหิน หรือหน้าผาเตี้ย ๆ (ประมาณไม่เกิน 5 เมตร) เพื่อการฝึกฝน ความสูงที่ไม่มากทำให้เป็นการปีนที่ปลอดภัย สามารถใช้จินตนาการในการคิดค้นท่วงท่าใหม่ ๆ หรือใช้ฝึกทักษะให้ชำนาญก่อนที่จะไปใช้บนหน้าผาสูง


ปัจจุบัน นี้ Bouldering ได้วิวัฒนาการมาเป็นกิจกรรมโดยตัวของมันเอง นักปีนหลายท่านเลือกที่จะปีนก้อนหินเตี้ย ๆ แทนหน้าผาสูงเพราะเสน่ห์ของ Bouldering คือ ความยากในความเรียบง่ายนั่นเอง

อุปกรณ์ที่เราใช้ในการปีนแบบ Bouldering ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

1 รองเท้าปีนหน้าผา พื้นจะต้องเป็นยางสังเคราะห์ชนิดพิเศษ ช่วยให้สามารถยึดเกาะหน้าผาได้ดี มีความกระชับสูงมาก

2. ถุงชอร์ก เป็นถุงสำหรับใส่ผงแมกนีเซียมคาร์บอเนต มีคุณสมบัติในการดูดความชื้น ช่วยซับเหงื่อทำให้มือแห้ง และช่วยกันลื่น เป็นผงสีขาว ๆ ฝุ่นผงเหล่านี้หากอยู่ในสภาพธรรมชาติ หรือบนหน้าผา เมื่อผ่านไปช่วงเวลาหนึ่งจะหายไปเอง จากลม หรือฝนที่ตกมาชำระล้าง ไม่เป็นอันตรายต่อสภาพทางธรรมชาติ

3. เบาะกันตก เป็นเบาะที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับการปีนBouldering เป็นเบาะช่วยซับแรงกระแทกขณะตกลงมา ทำให้ลดการบาดเจ็บจากการปีน สามารถพับเก็บและขนย้ายได้ด้วยบุคคลเพียงคนเดียว


ข้อมูล
http://www.sarikaadventurepoint.com/

แนะนำอุปกรณ์โรยตัว


ฮาร์เนส (Harness) ชนิดของฮาร์เนส ขึ้นอยู่กับลักษณะ การใช้งาน มีทั้งแบบครึ่งตัว, แบบเต็มตัว, เฉพาะช่วงตัวบน และฮาร์เนสเพื่อผู้ประสบภัย เป็นต้น ฮาร์เนสกู้ภัยต้องคำนึงถึง จุดที่รับน้ำหนัก ขนาดและความทนทาน ของแถบเชือก ที่ใช้ทำฮาร์เนส เพื่อการสวมใส่ที่ยาวนาน และปลอดภัย ราคาของฮาร์เนส ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ และความยาก ง่าย ในการผลิต, ควรจัดให้เป็น อุปกรณ์ประจำตัว ของสมาชิกในทีม

เชือกกู้ภัย (Static Rope) สิ่งที่ควรทราบ คือ คุณสมบัติของเชือกที่ใช้, วัสดุที่ใช้ผลิตเชือก, ขนาดของเชือก, ความยาวของเชือก, ชนิดของเชือก, อัตราการ รับน้ำหนักของเชือก ไปจนถึงการทำเงื่อน ที่ให้ความแข็งแรง และปลอดภัย กับเชือกที่ใช้ ขนาดที่สัมพันธ์กับ การรับน้ำหนักที่ถูกต้อง ความสูงของ สถานที่ที่จะใช้เชือก, จำนวนขึ้นอยู่กับ จุดที่ต้องการใช้ลงหรือเข้าถึง และอาจแบ่งเป็น เชือกหลัก และเชือกเซฟตี้ หรือเชือกสำรอง หากเกิดปัญหาขึ้น กับเชือกเส้นหลัก อุปกรณ์อื่นๆ ที่เข้ามาประกอบร่วมกัน ให้การใช้เชือก มีความปลอดภัย

คาราบิเนอร์ (Carabiner) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ เกี่ยวยึดเชือก และอุปกรณ์ต่างๆ ควรคำนึงถึง อัตราการรับน้ำหนัก ของอุปกรณ์ วัสดุที่ใช้ และระบบล็อค ควรมีสำรอง ใช้ประจำตัวเจ้าหน้าที่ทุกคน

ถุงมือโรยตัว (Rappel Gloves) ควรเป็นชนิดที่กันความร้อน และผลิตด้วย วัสดุที่ทนทาน ซึ่งนอกจากจะใช้ โรยตัวแล้ว ควรคำนึงกระชับมือ ในการผูกเชือก และปฏิบัติงานอื่นๆได้อย่างคล่องตัว และใช้วัสดุ ระบายความร้อนได้ดี ควรจัดให้เป็น อุปกรณ์ประจำตัว ของสมาชิกในทีม

หมวกกันกระแทก (Helmet) จำเป็นในการปกป้อง ศีรษะจากความร้อน, วัสดุแข็ง, แหลมหรือมีน้ำหนัก ในที่เกิดเหตุ ซึ่งอาจจะตกลงมา ทำอันตรายเจ้าหน้าที่ ได้ทุกเมื่อ, ต้องเป็นแบบ มีสายรัดคาง และควรจัดให้เป็น อุปกรณ์ประจำตัว ของสมาชิกในทีม

ห่วงรูปเลข 8 (Figure 8) เป็นอุปกรณ์ใช้ในการ ควบคุมการโรยตัวลง และผ่อนเชือก ขนาดที่ใช้ ควรให้เหมาะสม กับขนาดของเชือก, จำนวนขึ้นอยู่กับ ผู้ที่จะเข้าปฏิบัติงาน หากต้องการความรวดเร็ว ในการเข้าถึงที่หมาย ควรจัดให้มี ครบตามจำนวนคน

เชือกเงื่อนพรูสิค ขนาด 5-6 ฟุต (Prusik Cord) ใช้เป็นเชือก ป้องกันการตก เป็นเงื่อนเชือก ที่ช่วยให้การโรยตัว มีความปลอดภัย และผู้โรยตัว สามารถควบคุม ตำแหน่งที่ต้องการ จะหยุดได้เอง , จำนวนขึ้นอยู่กับ จำนวนสมาชิกในทีม และควรมีสำรอง เพื่อช่วยเป็นเงื่อนเชือก ป้องกันการตก

ข้อควรระวัง หากผู้ใช้ไม่เข้าใจ หลักการทำงานของเงื่อน จะเกิดอันตราย ต้องตรวจดูพรูสิคทุกครั้ง ให้สามารถจับเชือกได้ ก่อนการโรยตัว หรือลงจากเชือก

สายโยงหลัก (Anchor Strap) เป็นอุปกรณ์สำคัญ ในการติดตั้งสถานีเชือก เป็นแถบเชือก ที่มีความมั่นคงแข็งแรง ในการพันหลัก , ควรมีความยาว มากพอในการพันหลัก หลายๆรอบ , จำนวนควรมี อย่างน้อย 2 เส้น

ปลอกรองเชือก และแผ่นรองขอบ (Edge Protector) เชือกเป็นสิ่งสำคัญ ในการโรยตัว ที่จำเป็นต้องมี อุปกรณ์ป้องกัน ไม่ให้เกิดการขาด หรือบิดตัว จนเป็นอุปสรรค ในการทำงาน ปลอกรองเชือก จะช่วยป้องกันเชือก เสียดสีกับ มุมของอาคาร หรือหินแหลม แผ่นรองขอบ ที่รองตามขอบ และมุมต่างๆจะช่วยกันการ สึกหรอของเชือก และยืดอายุการใช้งาน ของเชือกได้ดี, จำนวนขึ้นอยู่กับ พื้นที่ที่จะใช้ ทำสถานีโรยตัว ควรมีตามจำนวน ของเชือกและมุม ที่เชือกต้องวิ่งผ่าน

แถบเชือก (Tubular Webbing) แถบเชือกแบบแบน ขนาด 1 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว ซึ่งใช้ประโยชน์ได้ เอนกประสงค์ ในการโรยตัว และผูกยึดกับ หลักโยงเชือก , ผูกโยงหลัก หรือผูกยึดผู้ป่วย เข้ากับเปล ต้องมีอัตราการ รับน้ำหนักที่ได้มาตรฐาน , จำนวนขึ้นอยู่กับ ความต้องการใช้งาน ได้อย่างปลอดภัย ควรมี 2 เส้น ความยาว 12 ฟุต หรือ 20 ฟุต เป็นอย่างน้อย

ถุงเก็บอุปกรณ์ (Equipment Bag) เพื่อความสะดวก ในการจัดเก็บอุปกรณ์ และการใช้งาน ได้อย่างเป็นระเบียบ และรักษาอายุ การใช้งานของอุปกรณ์ ป้องกันอุปกรณ์ จากความชื้น การสึกหรอ การสูญหาย ฯ




ที่มา http://www.seaairthai.com/

แนะนำอุปกรณ์พื้นฐานสำหรับการปีนหน้าผาเบื้องต้น


อุปกรณ์พื้นฐานสำหรับการปีนหน้าผาเบื้องต้น อุปกรณ์พื้นฐานสำหรับการปีนผาเบื้องต้นแบบ Top Roping มีดังนี้

ฮาร์เนส (Harness) หรือสายรัดสะโพก ลักษณะเป็นห่วงส่วนเอวและส่วนขา ซึ่งถูกโยงไว้ด้วยกันโดยสายในล่อนทั้ง ด้านหน้าและด้านหลัง สามารถรับน้ำหนักได้ถึง 2 ตัน

คาราไบเนอร์ (Carabiner) เป็นห่วงเหล็กหรืออะลูมิเนียม อัลลอย (อย่างหลังนิยมกว่าเพราะน้ำหนักน้อยกว่า) สามารถรับแรงดึงได้ 2 ตัน หลายรูปร่างและขนาด ขึ้นอยู่กับการใช้งาน มี 2 ประเภทหลักคือ แบบมีตัวล็อก (Screwgate Carabiner) และแบบไม่มีตัวล็อก (Snap Carabiner) สำหรับตัวที่ใช้เกี่ยวกับห่วงฮาร์เนสทุกตัวต้องมีตัวล็อกเสมอ

ควิกดรอว์ (Quickdraw) คือสายไนลอนสั้นๆ ซึ่งมีคาราไบเนอร์เกี่ยวอยู่ตรงปลายทั้ง 2 ข้าง ใช้สำหรับเกี่ยวกับหมุดตามหน้าผา ป้องกันการตกจากที่สูงทีเดียวถึงพื้น

อุปกรณ์บีเลย์ (Belay Device) ใช้สำหรับผ่อนเชือกให้นักปีนผาและควบคุมความเร็วในการโรยตัว มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามรุ่นที่ผลิต เช่น Grigri, Figure of Eight, ATC

รองเท้าปีนผา จะมีพื้นเรียบ ไม่มีดอกยาง หัวรองเท้าแคบเพื่อให้สอดเท้าเข้าไปบนช่องหินได้สะดวก เมื่อสวมแล้วต้องรู้สึกว่าคับแน่นจึงจะเหมาะกับการปีนหน้าผา

แมกนีเซียม คาร์บอเนต หรือผงชอล์ก เป็นผงคล้ายแป้ง ใส่ถุงผ้า ห้อยไว้ด้านหลังของนักปีนผา ใช้สำหรับลดความชื้นที่มือเพื่อความถนัดในการเกาะเกี่ยว

เชือกสำหรับปีนผา (Kernmantle) เป็นเชือกลักษณะพิเศษ คือ มีความเหนียว ไม่ยืดง่าย สามารถรับแรงดึงได้ถึง 2 ตัน เชือกเส้นหนึ่งประกอบด้วยเชือกเส้นเล็ก 2 เส้นควั่นกันอยู่ชั้นในสุดและพันด้วยไนลอน ความยาวมาตรฐานของเชือกคือ 45 เมตร 50 เมตร และ 60 เมตร



ที่มา http://www.ezthailand.com/

ลับมีด อย่างไรให้คมกริบ



หิน ลับมีดจะมี 2 แบบ คือ ด้านหนึ่งมีลักษณะหยาบ อีกด้านมีลักษณะละเอียด แต่หินลับมีดบางรุ่นจะมีทั้ง 2 ด้าน อยู่ในก้อนเดียวกัน ไม่ว่าหินลับมีดจะเป็นแบบใด เราก็สามารถ ใช้ลับมีดของเราได้ดีทั้งสิ้น มันอยู่ที่วิธีการลับมีด ไม่ใช่หินที่ลับ การใช้น้ำหรือน้ำมันเข้าช่วยในขณะที่ทำการลับมีดนั้นจะช่วยให้ลับมีดได้คมดี ยิ่งกว่าเอามีดมาถูกับหินลับแบบ แห้งๆ น้ำหรือน้ำมันจะช่วยลดความฝืดทานยามที่ใบมีดเสียดสีกับหิน และช่วยยืดอายุการใช้งานของหินลับออกไปได้อีกด้วย ขั้นตอนการลับมีดก็มีดังนี้

1. ก่อนลงมือลับมีด ให้หยดน้ำมันลับมีดลงบนหินลับมีดเสียก่อน ถ้าหาน้ำมันไม่ได้ ให้ใช้น้ำธรรมดา จุดมุ่งหมายก็เพียงแต่ต้องการลดแรงเสียดทานเท่านั้นเอง ถ้าลับมีดแบบ แห้งๆ หินลับมีดจะชำรุดเร็ว

2. วางใบมีดให้ทำมุมกับตัวหินลับมีดราว 20 º แล้วเลื่อนใบมีดไปทางหนึ่งทางใดราว 10 ครั้ง แล้วกลับคมอีกด้านเพื่อทำแบบเดียวกันหรือลับไปจนกว่าเราจะพอใจในความ คมของมัน

ตอนแรกให้ลับมีดด้านหยาบก่อน จากนั้นจึงค่อยมาลับกับหินลับทางด้านละเอียด(หินลับทางด้านหยาบลับให้คม ส่วนหินลับทางด้านละเอียดจะใช้ในการยกและปรับคมมีดที่คม ดีแล้วให้ราบเรียบสนิท การปรับคมมีดเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นพอๆกับการลับคมมีด

กระบวนการใบ มีดนี้เรารู้จักกันในชื่อ"การทำคมใบมีดให้เป็นแนวตรง" อนึ่งความลื่นเป็น อุปสรรคต่อการที่จะจรดใบมีดให้ได้เหมาะ วิธีที่ได้ผลก็คือ ใช้นิ้วมือตรงกลางทั้งสามกดลงบนใบมีดเพื่อให้ติดอยู่กับหน้าหินตลอดเวลาที่ ลากใบมีด พยายามให้นิ้วมืออยู่ ห่างออกมาจากคมมีด

3. ดึงใบมีดให้ไปทางเดียวกันเหมือนกับว่า เรากำลังจะตัดฝานหินลับมีดหรือเฉือนเนื้อหินนั่นเอง อย่าดึงใบมีดให้หนักเกินไปหรือเบาเกินไป ทำให้พอเหมาะพอดี ข้อควร ระวังก็คืออย่าจับใบมีดในลักษณะแบนราบแนบหินลับมีดมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดรอยขีดข่วนที่เรียกกันว่า "ขนนก" หรือ "ขนแมว" บนใบมีด ทำให้หมดความสวยงาม ไปเปล่าๆ

4. หลังจากลับมีดจนคมแล้วให้ทดสอบกับกระดาษธรรมดาๆแผ่นหนึ่ง ถ้ามีดนั้นคมจริง จะสามารถเฉือนกระดาษออกได้อย่างง่ายดายหลายๆครั้ง แต่ถ้ายังไม่คมพอก็ต้องลับ ใหม่

เมื่อลับมีดจนคมเป็นที่พอใจแล้ว จึงชะโลมน้ำมันบนใบมีดอีกครั้งหนึ่ง และอย่าลืมทำความสะอาดหินลับมีดด้วย กล่าวได้ว่าการลับมีดเป็นทั้งวิธีการและศิลปะ สำหรับวิธีการ นั้นก็ได้กล่าวไปแล้ว ส่วนศิลปะเป็นสิ่งที่จะต้องเพียรทำ ถ้าเรามีใจรัก เราก็อาจจะเป็นนักเลงมีดที่ดีได้ คำว่า "นักเลงมีดที่ดี" นั้น ในที่นี้หมายความว่าเป็นคนรู้จักใช้และถนอม มีดนั่นเอง ไม่ใช่ผู้ที่นำมีดเอาไปไล่ฟันไล่แทงผู้อื่น


ที่มา http://www.e-travelmart.com/

การเลือกมีดดำน้ำที่ดี



1. ก่อนการเลือกซื้อมีดก็ต้องถามตัวเองก่อนว่า ความต้องการในการใช้มีดของเราคืออะไรอย่างไร นักดำน้ำที่ชอบยิงปลาอาจจะต้องการมีดแบบที่ทำความสะอาดปลาโดยการ ขอด ขูด แล่ ชำแหละปลาได้ ในขณะที่นักดำน้ำตามซากเรือจะต้องการมีดที่โต แข็งแรง บึกบึนกว่า แต่นักดำน้ำโดยทั่วไป มักมีความต้องการคล้ายคลึงกัน คือ อยากได้มีดสัก เล่มที่ใช้งานได้เอนกประสงค์

2. ควรมีความสมดุลย์ระหว่างตัวมีดและด้ามจับ ความสมดุลย์ในที่นี้รวมหมายถึงทุกชิ้นของมีด ได้แก่ ใบมีด กั่น ปุ่ม ด้ามมีด ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะต้องผสมผสานกันเป็นหนึ่งเดียว และเหมาะเจาะ

3. พวกที่ดำน้ำทำงานในน้ำเย็นจัดซึ่งจะต้องสวมถุงมือหนาๆ มักจะเลือกมีดชนิดที่มีด้ามจับใหญ่เพื่อจับกุมที่มั่นคงและทำงานได้คล่องตัว ด้ามจับจะทำด้วยยางหรือไม่ก็ พลาสติก แต่ด้ามยางจะให้ความกระชับกว่า ส่วนด้ามพลาสติกนั้นให้อายุในการใช้งานได้นานกว่า

4. คมมีดจะต้องมีระยะเวลาที่รักษาความคมของตัวเองได้นานสมเหตุผลก่อนที่จะมีการ ลับแต่งคมใหม่ นี่คือจุดสำคัญ ดังนั้นส่วนใหญ่แล้วทั้งมีดดำน้ำและมีดเดินป่ามักจะ เลือกใช้ 440-C ผลิตเป็นใบมีด ซึ่งมีใบมีดเหนียวแน่น แข็ง คม และสามารถตกแต่งยกคมให้มีความคมอยู่ได้เป็นเวลานาน

5. ปลอกมีดจะต้องมีขนาดพอดี ไม่คับไม่หลวมจนเกินไป และไม่ใหญ่โตเทอะทะจนเกินความจำเป็น และที่สำคัญปลอกมีดควรทำมาจากสารชนิดใหม่อย่าง "นีโอบรีน" หรือ "อีลาสติค" ซึ่งมีส่วนผสมของพลาสติกกับยางและสารสังเคราะห์อีกบางชนิด เพราะมันจะให้ความรู้สึกแน่นกระชับในยามสอดเก็บมีดหรือเมื่อรัดมีดนั้นไว้ กับขาหรือแขนของเรา และมันทนทานในการใช้งานในน้ำได้หลายๆอุณหภูมิ ไม่เหมือนพลาสติกซึ่งมักจะมีริ้วรอยข้างๆเมื่อนำไปใช้ในน้ำเย็นจัดบ่อยครั้ง และนานเกินไป


ที่มา http://www.e-travelmart.com/

ปัญหาและวิธีการแก้ไขของมีดทั่วๆไป


มี 3 ประการ ได้แก่ สนิม มีดมีกลิ่นเมื่อเสร็จจากการใช้งาน และความคมของมีด

1. เมื่อมีดเป็นสนิม สนิมกับมีดมักจะเป็นของคู่กัน แต่เรามีวิธีแก้ไขง่ายๆ คือ ใช้หัวหอมหรือมะนาวผ่าซีกนำมาถูที่ใบมีดไปมาสักพัก สนิมก็จะหลุดออกหมด ถ้าเราไม่ชอบวิธี นี้เพราะมะนาวมันแพง ก็ลองนำมีดมาปักลงไปในดินเหนียว แล้วทิ้งไว้สักชั่วโมงหนึ่ง

จากนั้นนำมาขัดด้วยขี้เถ้า มีดของเราก็จะสะอาดปราศจากสนิมอีกต่อไป เมื่อขจัดสนิม ออกไปหมดแล้วและไม่อยากให้สนิมเกิดขึ้นมาอีก วิธีการก็ไม่ยากเลย โดยการนำผ้ามาเช็ดมีดให้สะอาด แล้วใช้น้ำมันลับมีดหรือน้ำมันที่ใช้กับจักรเย็บผ้ามาทาให้ทั่วแล้วทิ้งไว้ เวลาจะใช้ก็เพียงแต่เช็ดน้ำมันออกเท่านั้นเอง หรือจะใช้ขมิ้นมาถูที่ใบมีดให้ทั่ว สนิมก็จะไม่มาเยี่ยมอีกเลย

นอกจากนี้ยังมีวิธีขจัดสนิมอีกวิธีหนึ่ง คือ เอาน้ำส้มสายชูใส่ ภาชนะแล้วนำไปตั้งไฟให้เดือด นำมีดไปจุ่มไว้สักพักใหญ่ๆ จากนั้นจำไปแกว่งในน้ำเย็นๆอีกทีหนึ่ง ล้างแล้วเช็ดให้สะอาดก็จะได้มีดที่เหมือนใหม่เลยทีเดียว

2. มีดมีกลิ่นเมื่อเสร็จจากการใช้งาน เช่น กลิ่นหัวหอมหรือกลิ่นกระเทียม เป็นต้น วิธีการแก้ไขก็ไม่ยากเลย เพียงนำมีดมาอังไฟสัก 2-3 นาที หรือจะใช้มีดเฉือนกับมันฝรั่งดิบ หรือไม่ก็ใช้รากของต้นคึ่นฉ่ายมาขัดก็ได้ กลิ่นต่างๆที่ติดอยู่กับใบมีดจะหายไปทันท

3. การรักษาความคมของมีด ไม่ว่ามีดนั้นจะมียี่ห้อใดและวิเศษแค่ไหนก็ตาม การใช้ก็ต้องรู้จักระมัดระวังดูแลรักษา

คือ

3.1) ไม่นำไปใช้ในสิ่งที่ไม่ควรใช้

3.2) หลังการใช้มีด


ควรล้างด้วยน้ำจืดสะอาดๆ ถ้ามีดมีคราบสกปรกมากๆก็ให้ใช้สบู่อย่างอ่อนล้างออกและเช็ดให้แห้งด้วยผ้า ที่ทำจากใยสังเคราะห์ ไม่ควรใช้ฝอยเหล็กขัด คราบนั้นออกใบมีดจะต้องแห้ง ถ้าเก็บมีดในซองหนังก็ต้องทำความสะอาดซองหนังบ้างด้วยสบู่อ่อนๆหรือน้ำยาทำ ความสะอาดหนัง

และเพื่อยืดอายุการใช้งานของมีด ควรใช้ วาสลินเคลือบใบมีดไว้บางๆสำหรับป้องกันอาการกร่อนตัวของโลหะก่อนเก็บเข้าซอง มีด อนึ่งเมื่อทำความสะอาดใบมีดแล้วก็อย่าลืมทำความสะอาดด้ามมีดด้วย และรู้จักหมั่น ลับใบมีดอยู่เสมอ

3.3) 3.3) ทุกครั้งที่นำมีดใช้กับงานที่เกี่ยวข้องกับน้ำเค็ม ต้องล้างมีดให้สะอาดด้วยน้ำจืด และพ่นสเปรย์น้ำยารักษาใบมีดก่อนเก็บเข้าปลอกมีด เพื่อรักษาใบมีดและป้องกัน สนิมไปในตัว




ที่มา http://www.e-travelmart.com/

เทคนิคการเลือกซื้อมีด


สำหรับ คนที่นิยมการใช้ชีวิตกลางแจ้ง ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดก็ตาม สิ่งหนึ่งที่ดูเหมือนจะขาดเสียมิได้ในกระเป๋าหรือที่สะเอวของเขาเหล่านั้นก็ คือ "มีดคู่มือ" หรือ "มีด ประจำตัว" สักเล่ม

ในปัจจุบันมีมีดที่ออกแบบมาสำหรับคนกลางแจ้งโดยเฉพาะมากมายหลายรูปแบบ มีดที่มีใบมีดตรงซึ่งมักจะขายควบคู่กับซองหนังเป็นมีดที่นิยมกัน อย่างกว้างขวางในหมู่นักแค้มป์ มีดชนิดนี้ถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้งาน และมีความทนทานเป็นอย่างยิ่ง

ใบมีด
เหล็กซึ่งใส่โครเมี่ยมลงไปด้วย 14% เรียกกันทั่วๆไปว่า "สแตนเลส สตีล" แต่นั่นไม่ได้หมายความว่ามันจะปลอดจากสนิมแน่นอน เพียงแต่มันมีคุณสมบัติในการต้านสนิม เพิ่มมากขึ้น

ใบมีดสแตนเลส สตีล ก็มีจุดเด่นอยู่เหมือนกันตรงที่เมื่อลับมีดให้คมแล้วเอาเก็บไว้ ความคมนั้นจะคงรูปอยู่นาน ในขณะที่ใบมีดที่เป็นเหล็กผสมคาร์บอนจะมีความทื่อเร็วกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอณูในส่วนประกอบของเนื้อเหล็ก เหตุผลนี้เองที่ทำให้สเตนเลส สตีล ดูเหมือนจะเป็นวัสดุที่ดีกว่าเมื่อนำมาทำใบมีด

หลัก 3 ประการ..สำหรับบุคลิกภาพของเหล็กใบมีด คือ

1. ความแข็ง
2. ความเหนียว
3. ความคงทน

ความแข็งเป็นบุคลิกภาพที่โยงใยกับความคงทน เหล็กที่แกร่งมักจะมีความคมเพิ่มขึ้น ซึ่งไม่บิ่นง่าย ส่วนความเหนียวก็คือไม่หักหรือเปราะ แต่ความแข็งกับความเหนียวมีผล ในทางลบซึ่งกันและกัน เหล็กยิ่งแกร่งก็ยิ่งเหนียวน้อย คือ แกร่งแข็งแต่หักง่าย ดังนั้นเหล็กยิ่งแกร่งมาก ความคงทนอันเป็นรูปลักษณ์ของใบมีดจึงยิ่งลดลง ดังนั้นในการเลือก ใบมีดควรพิจารณาความแกร่ง เพราะนั้นหมายถึงเราได้ความคมและความเหนียวเป็นเรื่องรอง เราสามารถยืดอายุของใบมีดได้ด้วยการใช้อย่างระมัดระวังและต้องเอาใจใส่ ดูแลรักษา

โดยปกติส่วนใหญ่แล้ว ช่างมีดจะใช้โลหะชนิด "สแตนเลส สตีล 440-C" มาผลิตเป็นใบมีด ซึ่งไม่ได้หมายความว่า 440-C เป็นโลหะที่ดีเลิศสมบูรณ์แบบแต่อย่างใด ถ้าเทียบ กันทางด้านความแข็งหรือการรักษาความคมแล้ว ยังมีโลหะแบบอื่นๆเหนือกว่า 440-C ถมเถไป มีดที่ผลิตด้วยสแตนเลส 440-C นั้น จะเป็นโลหะที่มีเนื้อเปราะ ทำให้คมมีด ปราศจากความแกร่ง เกิดอาการบิ่นทื่อสึกหรอง่าย แต่จากการที่เป็นที่นิยมในการผลิตหรือนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ก็คือ มันมีคุณสมบัติด้านปลอดสนิมที่ดีเยี่ยม

ค่าความแข็งของใบมีด
"ค่าของความแข็งกับการรักษาความคมนั้น มันเป็นปฏิภาคผกผันต่อกัน" หมายความ ว่าถ้าค่าความแข็งมากมีดอาจรักษาความคมได้น้อย แต่ถ้าค่าของความแข็งน้อย มีดก็จะ รักษาความคมได้มาก

การวัดค่าความแข็งของโลหะนั้นเขาใช้เครื่องวัดโดยการตอกหัวเพชรลงบนแท่งโลหะ หรือบนใบมีดที่ขึ้นรูปแล้ว ได้ระดับความลึกเท่าไร ก็จะอ่านค่าออกมาเป็นความแข็ง สัมพัทธ์ของโลหะชิ้นนั้นเทียบความแข็งของเพชรซึ่งมีค่าเป็นศูนย์ วิธีนี้ยึดถือกันเป็นมาตราฐาน ฉะนั้นถ้าโลหะแข็ง..ระดับความลึกก็จะน้อย ค่าความแข็งสัมพัทธ์ของโลหะจึง น้อยตามค่าที่อ่านได้ และถ้าโลหะอ่อน..ระดับความลึกก็จะมาก ค่าความแข็งสัมพัทธ์ของโลหะจึงมากตามกัน ค่าความแข็งสัมพัทธ์ของโลหะนี้ เรามีหน่วยวัดกันเป็น " ร็อคเวลล์" (ROCKWELL) เช่น โลหะที่มีความแข็ง 54 ร็อคเวลล์ กับโลหะที่มีความแข็ง 64 ร็อคเวลล์นั้น โลหะ 54 ร็อคเวลล์ จะแข็งกว่า 64 ร็อคเวลล์ อยู่ 10 เท่า เมื่อ เทียบกับความแข็งของเพชร

คุณภาพของมีด
เรา สามารถดูได้จากคมมีด ต้องเลือกมีดที่มีส่วนคมค่อนข้างแข็ง แต่ต้องไม่แข็งจนเกินไปเพราะจะลับมีดได้ยาก ถ้าคมมีดอ่อนก็จะบิ่นง่ายเมื่อถูกของแข็งๆ โดยทั่วไปในแค ตตาล็อคมีดจะมีการแจ้งระดับความแข็งของเหล็กใบมีดที่ทดสอบโดยเครื่องทดสอบ ความแข็งของร็อคเวลล์ไว้ สำหรับใบมีดโดยทั่วไปจะนิยมใช้เหล็กที่มีความแข็งระดับ RC57-60 ถ้าหมายเลขนี้สูงขึ้น..ความเหนียวของเหล็กใบมีดก็จะมากขึ้น แต่ถ้าหมายเลขต่ำกว่านี้..ความเหนียวของเหล็กใบมีดก็จะลดน้อยลง

ลักษณะของมีดเดินป่าที่ดี
เรา สามารถดูได้จากคมมีด ต้องเลือกมีดที่มีส่วนคมค่อนข้างแข็ง แต่ต้องไม่แข็งจนเกินไปเพราะจะลับมีดได้ยาก ถ้าคมมีดอ่อนก็จะบิ่นง่ายเมื่อถูกของแข็งๆ โดยทั่วไปในแค ตตาล็อคมีดจะมีการแจ้งระดับความแข็งของเหล็กใบมีดที่ทดสอบโดยเครื่องทดสอบ ความแข็งของร็อคเวลล์ไว้ สำหรับใบมีดโดยทั่วไปจะนิยมใช้เหล็กที่มีความแข็งระดับ RC57-60 ถ้าหมายเลขนี้สูงขึ้น..ความเหนียวของเหล็กใบมีดก็จะมากขึ้น แต่ถ้าหมายเลขต่ำกว่านี้..ความเหนียวของเหล็กใบมีดก็จะลดน้อยลง

1. ควรเป็นมีดที่ใช้งานได้ทุกประเภท เพราะการไปตั้งแค้มป์แต่ละครั้ง เครื่องมือในการช่วยหาฟืน หากิ่งไม้มาทำขาตั้งหม้อสนามหรือทำเพิงที่พักต่างๆ เราก็ต้องใช้มีด สนามหรือมีดเดินป่า ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบมากมาย อาทิ มีดโบวี่..เป็นมีดที่นิยมใช้กันมาก บางแบบมีด้ามจับกลวงซึ่งจะบรรจุสิ่งของจำเป็นไว้มาก เช่น เข็ม เบ็ดตกปลา เอ็น ด้าย เลื่อยเส้นเล็กๆ เข็มทิศ เป็นต้น

2. ควรเป็นมีดที่มีขนาดกลาง น้ำหนักพอเหมาะที่จะใช้ฟันกิ่งไม้ท่อนไม้ได้ ไม่ควรใช้มีดที่มีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไป และมีดที่เรานำติดตัวไปนั้น ควรต้องมีปลอกมีดด้วย อนึ่งควรมีมีดขนาดเล็กหรือมีดพับติดตัวไปด้วยเสมอ ซึ่งมีดพับบางรุ่นบางชนิดจะมีอุปกรณ์มากมายซ่อนอยู่ในด้ามมีดนั่นเอง

ลักษณะของมีดพับที่ดี
นอก จากมีดเดินป่าแล้ว นักเดินป่าทุกคนควรมีมีดขนาดเล็กหรือมีดพับติดตัวไปด้วยเสมอ ซึ่งมีดพับบางรุ่นบางชนิดจะมีอุปกรณ์มากมายซ่อนอยู่ในด้ามมีดนั่นเอง ซึ่งลักษณะ ของมีดพับที่ดี ได้แก่

1. ปลายมีดเมื่อพับแล้วต้องซ่อนปลายมีดได้สนิทแนบแน่น
2. หมุดซึ่งย้ำตัวด้ามต้องสนิทแนบแน่น ไม่เป็นตะปุ่มตะป่ำจนทำให้เวลาใช้รู้สึกเจ็บมือ
3. ใบมีดที่ดีเมื่อง้างใบมีดออก จะต้องเดินออกจากด้ามมีดอย่างราบรื่น และมีเสียงดังคลิ๊กเล็กน้อย ซึ่งนักเลงมีดเรียกว่า "ใบมีดพูด" นอกจากนี้ใบมีดกับตัวด้ามต้องประสาน กันเป็นแนวตรงเมื่อง้างใบมีดออก ไม่ใช่บิดเบี้ยว เพราะแม้แต่นิดเดียวก็ถือว่าเป็นจุดบอดของมีดนั้น
4. ใบมีด ด้าม และกั่น ซึ่งทำจากเหล็ก ไม้ และทองเหลือง ต้องสอดประสานกันเป็นหนึ่งเดียวโดยไม่มีช่องว่าง
5. สำหรับงานกลางแจ้ง ควรเลือกมีดพับที่มีขนาดใบมีดยาวประมาณ 2-4 นิ้ว (อย่าให้มีขนาดเล็กหรือใหญ่จนเกินไป) จงจำไว้ว่าด้ามมีดควรมีความยาวกว่าใบมีดประมาณ 1 นิ้ว เช่น ถ้ามีดของเรามีใบมีดยาว 4 นิ้ว ความยาวของตัวด้ามก็คือ 5 นิ้ว เมื่อเราดึงมีดออกมาใช้ก็จะมีความยาวทั้งสิ้น 9 นิ้ว ซึ่งน่าจะเพียงพอและเหมาะมือดีสำหรับคนกลาง แจ้งอย่างเราๆ
6. ขณะใช้งาน จงอย่าลืมว่ามีดที่อยู่ในมือของเรา คือ มีดพับขนาดเล็กๆเล่มหนึ่งเท่านั้น จึงไม่ควรใช้งานมีดพับขนาดทารุณกรรม เพราะนอกจากมีดของเราอาจจะเกิด ปัญหาแล้ว มือของเราก็อาจจะมีปัญหาด้วยเช่นกัน


ที่มา http://www.e-travelmart.com/

เทคนิคการใช้เครื่องครัว

  • ขี้เถ้าหรือทรายสามารถนำมาใช้ในการทำความสะอาดหม้อหรือกระทะได้ มนุษย์เราได้มีการใช้ทั้งขี้เถ้าและทรายเป็นสารทำความสะอาดกันมานานนับ ศตวรรษแล้ว เพียงใช้ผ้าถูทรายในปริมาณเล็กน้อยกับภาชนะก็สามารถจะทำให้คราบต่างๆ หมดไปได้ หากคราบเหล่านั้นไม่ได้ติดฝังแน่นจริงๆ
  • หากคุณต้องการจะช่วยอนุรักษ์สภาพแวดล้อมในระหว่างคุณเดินทางอยู่ในป่า ตามหลักการที่ว่า “เราจะไม่ทิ้งอะไรไว้นอกจากรอยเท้า” คุณอาจจะใช้วิธีการต้มน้ำร้อนเพื่อทำความสะอาดหม้อได้โดยไม่ต้องใช้น้ำยา ล้างจานได้ โดยเมื่อทานอาหารกันเสร็จแล้ว ก็ให้ใส่น้ำลงไปในหม้อเดิมแล้วปิดฝาต้มให้เดือด ซึ่งน้ำมีคุณสมบัติเป็นตัวทำละลายที่ดีเยี่ยมอยู่แล้ว และเมื่อรวมตัวกับความร้อนและไอน้ำก็จะสามารถชำระล้างสิ่งสกปรกที่เกาะติด อยู่กับภาชนะด้านในได้อย่างหมดจด โดยน้ำร้อนนั้นก็สามารถใช้ล้างภาชนะอื่น ๆ ได้อีกหลายชิ้น หากเป็นการเดินทางที่ไม่ยาวนานมากเกินกว่า 5 วัน และเมื่อกลับถึงบ้านแล้ว คุณก็ควรจะนำภาชนะทั้งหมดออกมาล้างทำความสะอาดด้วยน้ำยาอย่างถูกต้องอีก ครั้ง และปล่อยให้แห้งสนิทก่อนที่จะเก็บเข้าที่ตามเดิม
  • หากด้านนอกภาชนะของคุณไม่ได้เป็นสีดำ เราสามารถจะทาสีของมันให้เป็นสีดำได้โดยไปหาซื้อสีมาทาเอง (อาจจะหาซื้อเป็นสีสำหรับทาเตาอบได้ตามร้านขายอุปกรณ์ซ่อมแซมบ้านในราคาไม่ แพง) การทาสีดำเคลือบด้านนอกภาชนะจะช่วยให้หม้อหรือกระทะร้อนเร็วขึ้นในเวลาทำ อาหาร เพราะสีดำจะมีคุณสมบัติในการดูดความร้อนได้ดี (แต่ห้ามทาด้านในโดยเด็ดขาด)
  • ฝาของอาหารกระป๋อง ในบางครั้ง เราสามารถจะนำมาดัดแปลงใช้แทนเขียงได้หากต้องการจะหั่นอะไรเล็กๆ น้อยๆ เช่น พริก จะได้ไม่ต้องมานั่งล้างเขียงทีหลัง เพราะใช้เสร็จแล้วเราก็สามารถทิ้งฝากระป๋องนั้นได้เลย
  • ควรจะเลือกซื้อหัวเตาและอุปกรณ์เครื่องครัวไปพร้อมๆ กัน เพราะเราสามารถจะลองได้เลยว่าหัวเตาที่ซื้อนี้จะสามารถเก็บไว้ในหม้อได้หรือ ไม่ ทางที่ดีควรจะเลือกหัวเตาที่สามารถเก็บใส่ไปในหม้อขนาด 1.5 หรือ 2 ลิตรได้พอดี ถ้าหัวเตามีขนาดเล็กกว่านี้ก็อาจจะเล็กเกินไปสำหรับการใช้ในการทำอาหาร หรือถ้าไม่สามารถใส่ในหม้อขนาด 2 ลิตรได้ก็น่าจะถือว่าใหญ่เกินความจำเป็น แต่ก็อย่าลืมว่าที่เก็บเชื้อเพลิงนั้นจะต้องแยกเก็บต่างหากด้วย แต่ถ้าหากคุณมีหัวเตาอยู่แล้ว ก็ควรจะนำติดตัวไปด้วยเวลาที่จะไปเลือกซื้อภาชนะเครื่องครัวชุดใหม่ เพื่อที่จะได้ทดลองใส่ในหม้อดูได้ ข้อดีของการที่เราสามารถเก็บหัวเตาไว้ในหม้อได้นั้น อย่างแรกคือเราสามารถประหยัดเนื้อที่ลงไปได้ และยังช่วยป้องกันการกระแทกให้กับหัวเตาของเรา และทำให้เราหาของได้ง่ายอีกด้วย
  • ทำอาหารง่ายๆ หรืออาหารจานเดียว ถ้าคุณต้องการจะมีเวลาชื่นชมธรรมชาติมากกว่าที่จะต้องมานั่งล้างนั่งขัดหม้อ จานกองพะเนิน ก็ควรจะเน้นทำอาหารง่ายๆ หรืออาหารจานเดียวที่สามารถจะทานจากในหม้อหรือกระทะได้เลย
  • เอาไปเฉพาะอุปกรณ์ที่คิดว่าจะต้องใช้ เช่น หากต้องการไปเดินทางท่องเที่ยวเพียงคนเดียวหรือสองคน ก็เอาไปเฉพาะหม้อขนาดเล็กก็พอ เพราะจะช่วยประหยัดเนื้อที่ในการเก็บและลดน้ำหนักของสัมภาระลงได้อีกด้วย

ในท้ายที่สุดนี้ เราอาจจะกล่าวได้ว่าการเลือกซื้อภาชนะเครื่องครัวสักชุดนั้น ไม่ได้มีข้อกำหนดว่าอะไรถูกหรือผิด ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับความพอใจของตัวเราเอง ถ้าอุปกรณ์ที่เราเลือกซื้อนั้นตรงตามความต้องการในการทำอาหารของเรา อยู่ภายในงบประมาณที่เรากำหนดไว้ และไม่ใหญ่โตมากมายเกินไปจนทำให้เป็นภาระ ก็ถือได้ว่าอุปกรณ์ชุดนั้นเป็นอุปกรณ์ที่ดีและเหมาะสมแล้ว

ที่มา http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_52.html

ข้อควรพิจารณาอื่น ๆ ในการเลือกซื้อเครื่องครัว

การเลือกซื้อเครื่องครัวนอกจากคุณสมบัติหลัก ๆ แล้ว ยังมีข้อที่ควรพิจารณาอีกหลายอย่าง เพื่อให้ได้เครื่องครัวที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเครื่องครัวบางชุดก็จะมีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มเติมจากปรกติ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับรุ่น ยี่ห้อ และราคา ซึ่งแน่นอน รุ่นที่มีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มมามาก ราคาก็คงจะแพงกว่าปรกติ ในหัวข้อนี้เราลองมาดูคุณสมบัติอื่น ๆ ที่ควรพิจารณาในการเลือกซื้อชุดเครื่องครัวกันว่า มีอะไรน่าพิจารณาเพิ่มเติมกันบ้าง

การเคลือบสีดำด้านนอก

การเคลือบสีดำด้านนอกภาชนะมีข้อดีหลายอย่าง เช่น สีดำจะดูดซับความร้อนได้ดี ทำให้ทำอาหารเสร็จได้โดยใช้เวลาน้อยลง นอกจากนี้สีดำยังช่วยปกปิดคราบเขม่าดำเนื่องจากการใช้เครื่องครัวไปนานๆ นั้น ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีคราบเขม่าดำติดอยู่ที่ก้นหม้อบ้าง และหากใช้ไปนานๆ ก็มักจะขัดไม่ออก ซึ่งถ้าเป็นหม้อสีอื่นก็อาจจะสังเกตเห็นได้ชัด แต่หากเป็นหม้อสีดำก็จะช่วยปกปิดคราบเขม่าเหล่านี้ได้

การเคลือบกันติดภาชนะ

การเคลือบกันติดภาชนะแบบนี้มักจะเห็นได้ในกระทะที่ใช้ทำอาหารตามบ้านทั่ว ไปหรือที่มักเรียกกันว่ากระทะแบบเทฟรอน อุปกรณ์เครื่องครัวสำหรับเดินป่าสมัยนี้ก็มีบางรายที่ได้เริ่มมีการเคลือบ สารเพื่อกันการติดภาชนะด้วยเช่นกัน ข้อดีที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือการง่ายในการทำความสะอาด การทำอาหารด้วยภาชนะแบบนี้ มักจะไม่ค่อยมีปัญหาอาหารติดกระทะ แต่ข้อควรระวังในการใช้อุปกรณ์ประเภทนี้ก็คือต้องไม่ใช้กับทัพพีหรือตะหลิว ที่เป็นเหล็กหรือวัสดุอื่นที่อาจจะทำให้เกิดรอยหรือการขูดขีดผิวที่เคลือบ ไว้ได้

การเก็บซ้อนกันเป็นชั้น

คุณสมบัติข้อนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นและควรจะพิจารณาในการเลือกซื้ออุปกรณ์ เครื่องครัวสักชุดเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งรวมถึงฝาหม้อและ/หรือด้ามจับแบบพกพา (ถ้ามี) สามารถจะเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ อยู่ภายในหม้อใบใหญ่หนึ่งใบได้ก็จะช่วยประหยัดเนื้อที่ไปได้มาก ถ้าผู้ผลิตมีการออกแบบการเก็บภาชนะดี ก็สามารถเก็บอุปกรณ์ชิ้นเล็ก ชิ้นน้อยได้มากอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะทำให้อุปกรณ์ที่จัดเก็บแล้วมีขนาดเล็ก

ถุงเก็บอุปกรณ์

การมีถุงเก็บอุปกรณ์มีประโยชน์โดยตรงคือช่วยเก็บอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ด้วยกันไม่ให้กระจัดกระจายหรือสูญหาย และยังช่วยป้องกันการกระแทกหรือขูดขีดได้ในระดับหนึ่งด้วย หากเราซื้ออุปกรณ์เป็นชุด ก็มักจะมีถุงเก็บอุปกรณ์ให้มาด้วย

รูปแบบของภาชนะ

ในการเลือกซื้อหม้อสำหรับทำอาหารกลางป่า ลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งที่เราควรจะพิจารณาก็คือควรจะเลือกซื้อหม้อที่มีก้น เป็นทรงกลม เพราะหม้อทรงกลมจะช่วยทำให้อาหารได้รับความร้อนเท่าๆ กัน ทำให้คนอาหารในหม้อได้ง่าย และทำความสะอาดได้ง่ายอีกด้วย นอกจากนี้ยังควรจะเป็นหม้อที่มีความหนาพอสมควรและมีขอบด้วย เพราะหม้อที่มีความหนาและมีขอบจะทนทานกว่าและไม่บิดงอเสียรูปร่างหากโดนความ ร้อนมากๆ นานๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคุณเลือกซื้อชุดที่มีด้ามจับแบบพกพา (แบบที่ไม่มีด้ามจับในตัว) หม้อที่มีขอบยิ่งเป็นสิ่งจำเป็นเพราะจะทำให้ด้ามจับสามารถยึดหม้อได้แน่นหนา มากยิ่งขึ้น

ที่มา http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_50.html

ภาชนะขนาดต่าง ๆ

ชุดเครื่องครัวมักจะประกอบด้วยกระทะ 1 ใบ และหม้อจำนวนหลายใบ ขนาดต่างกันออกไป ซึ่งชุดเครื่องครัวชุดเล็กและชุดใหญ่ มักจะมีจำนวนและขนาดของหม้อใหญ่กว่า ซึ่งการที่จะเลือกว่าควรจะซื้อชุดเล็กหรือชุดใหญ่ เราควรจะพิจารณาถึงลักษณะการเดินทาง จำนวนคน ฯลฯ ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้จะเป็นตัวบอกว่าเราควรใช้ภาชนะขนาดเท่าใด ซึ่งเราก็ควรจะรู้ก่อนว่าภาชนะขนาดเท่าใดเหมาะกับการใช้งานประเภทใดกันบ้าง

หม้อเล็กกว่า 1 ลิตร

หม้อที่มีขนาดน้อยกว่า 1 ลิตรนั้นถือว่ามีประโยชน์ใช้สอยที่ค่อนข้างจำกัดพอสมควร โดยปกติแล้ว หม้อขนาด 1 ลิตรจะใส่น้ำได้ประมาณ 3 ถ้วย เพราะฉะนั้น ถ้าหม้อมีขนาดน้อยกว่า 1 ลิตร เช่น มีความจุประมาณ ¾ ลิตร ก็จะจุน้ำได้เพียง 2 ถ้วยเป็นอย่างมาก จึงอาจจะเหมาะสำหรับการต้มกาแฟหรือซุปสำหรับหนึ่งหรือสองคนเท่านั้น

หม้อ 1 ลิตร

หากคุณเดินทางคนเดียว หม้อขนาด 1 ลิตรอาจจะเหมาะสำหรับคุณในเวลาที่คุณต้องการจะต้มน้ำเพื่อดื่มกาแฟ อุ่นซุป หรืออุ่นอาหารกระป๋อง เป็นต้น หม้อขนาดเล็กนี้จะเหมาะสำหรับเวลาที่ต้องการต้มน้ำให้เดือดภายในเวลาสั้น แต่ไม่เหมาะที่จะใช้หุงข้าว เพราะขนาดที่เล็กเกินไปจะทำให้ไม่สามารถใส่น้ำได้เยอะมาก ซึ่งอาจจะทำให้หุงข้าวได้ไม่สุก

หม้อ 1.5 ลิตร

อย่างน้อยที่สุด หม้อขนาด 1.5 นี้ก็สามารถจะทำได้ทุกอย่างเท่ากับที่หม้อขนาด 1 ลิตรจะสามารถทำได้ นอกเหนือจากนี้แล้ว หม้อขนาด 1.5 ลิตรยังเหมาะสำหรับใช้ในการหุงข้าวหรือทำอาหารอื่นๆ สำหรับ 1-2 คนอีกด้วย

หม้อ 2 ลิตร

และเช่นเดียวกัน หม้อขนาด 2 ลิตรนี้อย่างน้อยที่สุดก็สามารถทำได้ทุกอย่างเช่นเดียวกับที่หม้อขนาดเล็ก กว่าสามารถทำได้ สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาก็คือหม้อขนาด 2 ลิตรนี้จะเหมาะสำหรับกลุ่มที่มีขนาดประมาณ 2-4 คน เพราะขนาดความจุของหม้อจะสามารถใช้ทำอาหารหรือหุงข้าวได้สำหรับคนจำนวนมาก ขึ้นนั่นเอง

หม้อ 3 ลิตร

หม้อขนาด 3 ลิตรนี้ เหมาะสำหรับใช้กับการเดินทางในกลุ่มที่มีจำนวนคนมาก หรือการท่องเที่ยวแบบคาร์แค้มป์ปิ้งกับครอบครัว เนื่องจากหม้อจะมีความจุที่มากขึ้น แต่ถ้าหากคุณจะเดินทางเข้าป่าเป็นเวลานานหรือไปกับกลุ่มคนจำนวนน้อย ก็ไม่ควรจะนำหม้อขนาดนี้ไปด้วยเพราะมันจะใหญ่เกะกะเกินไป

หม้อใหญ่กว่า 3 ลิตร

ความจริงแล้วหม้อขนาดนี้มักจะไม่ค่อยเหมาะสำหรับผู้ที่จะไปเดินทางในป่า เพราะมันใหญ่เกินไปและไม่จำเป็นที่จะต้องใช้หม้อขนาดนี้ในป่า แต่หม้อขนาดนี้จะเหมาะสำหรับเวลาที่คุณจะเดินทางไปเที่ยวแบบค่อนข้างสบาย เช่น เที่ยวแบบคาร์แค้มป์ปิ้ง หรือไปปิกนิกริมทะเล และต้องการใช้หม้อที่สามารถจะนึ่งหรืออบอาหารที่อาจจะต้องใช้น้ำในปริมาณมาก เช่น อาหารทะเลพวก ปู หอย เป็นต้น

เมื่อเราทราบแล้วว่าภาชนะขนาดใด เหมาะสมกับงานใด ก่อนเดินทางลองดูจำนวนคน ประเภทการเดินทาง คุณก็จะสามารถวางแผนได้ว่า ควรจะนำภาชนะขนาดใดติดตัวไปบ้าง

ที่มา http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_49.html

ด้ามจับภาชนะ

ด้ามจับภาชนะนั้นเราจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบใหญ่คือ ด้ามจับแบบหูหิ้ว , ด้ามจับแบบพับได้ , ด้ามจับแบบพกพา ในชุดเครื่องครัวแต่ละแบบก็จะมีด้ามจับต่าง ๆ กันออกไป ขึ้นกับรุ่น ยี่ห้อ และขนาดของภาชนะนั้น ๆ เราจะลองมาดูรายละเอียดของด้ามจับแต่ละแบบกันว่าเป็นอย่างไร

ด้ามจับแบบหูหิ้ว (Bail Handles)

ด้าม จับแบบหูหิ้วนี้ก็คือด้ามจับแบบที่ใช้กับถังน้ำทั่วไปนั่นเอง จะมีลักษณะโค้งเป็นรูปครึ่งวงกลม (หรือเป็นรูปเหลี่ยมก็ได้) เชื่อมต่อกับตัวภาชนะหรือหม้อทั้งสองข้าง และสามารถพับเอนลงไปด้านข้างของภาชนะได้เวลาไม่ได้ใช้ด้ามจับเพื่อถือไปไหน ผู้ผลิตบางเจ้าอาจจะออกแบบให้บริเวณตรงกลางของด้ามจับมีลักษณะเป็นร่องเล็ก น้อยเพื่อความสะดวกในการแขวนไม่ให้เลื่อนไหลได้ง่าย ข้อเสียของด้ามจับแบบหูหิ้วนี้ก็คือจะร้อนได้ง่ายเวลาตั้งหม้ออยู่บนเปลวไฟ จนไม่สามารถจะจับต้องด้วยมือเปล่าได้ บางแบบได้มีการออกแบบตัวด้ามให้มีการเคลือบด้วยยางเพื่อเป็นฉนวนกันความร้อน แต่หากเจอกับความร้อนมาก ๆ ตัวยางเองก็อาจจะละลายได้เช่นกัน นอกจากนี้ ด้ามจับแบบนี้ยังอาจจะเป็นเหตุให้อาหารทั้งหม้อหกเทกระจาดราดลงไปบนกองไฟได้ ง่ายๆ หากวางแขวนไว้ไม่ดีเพราะด้ามจับแบบหูหิ้วนี้มักจะแกว่งไกวไปมาได้ง่าย

ด้ามจับแบบพับได้ (Swing Handles)

ตัวด้ามจับแบบพับได้ส่วนมากมักจะทำมาจากลวดหรือเหล็ก โดยมากแล้วเมื่อไม่ได้ใช้ด้ามจับก็จะสามารถพับเก็บแนบไปกับด้านข้างหรือด้าน บนของตัวภาชนะได้ แต่เมื่อต้องการจะใช้ด้ามจับเราก็สามารถจะดึงมันออกมาใช้ ซึ่งในภาชนะขนาดใหญ่ตัวด้ามจับมักจะเป็นด้ามที่แข็งแรง และพับเก็บขึ้นด้านบน ซึ่งข้อดีของด้ามพับที่เก็บด้านบนนั้นคือเก็บได้ง่าย แต่บางครั้งการนำมาใช้ก็ควรจะระวัง เพราะหากดึงด้ามมาล็อคกับตัวภาชนะไม่สุด เวลาถือภาชนะตัวด้ามอาจจะไม่มั่นคง

gear_48_4.jpg
gear_48_5.jpg

ส่วนตัวด้ามแบบพับเข้าด้านข้างนั้น มักจะใช้กับภาชนะที่มีขนาดเล็ก เวลาจะใช้ก็ดึงเหล็กที่พับด้านข้างออกมา ซึ่งด้ามจับแบบนี้ก็ยังมีข้อเสีย อยู่ที่ความร้อนของตัวด้ามจับในขณะทำอาหาร เพราะตัวด้ามจะติดอยู่กับภาชนะ จึงอยู่ใกล้กับกองไฟ ถึงแม้จะเคลือบฉนวนกันความร้อนไว้แล้วก็ยังมีสิทธิ์ที่จะร้อนมากจนไหม้มือ ได้หากไม่ระวัง และหากเราทำอาหารในที่ที่ลมแรงและมีการใช้ที่กั้นลม ด้ามจับแบบนี้ก็อาจจะเกะกะเช่นกัน

ด้ามจับแบบพกพา (Pot Grabber)

ด้ามจับแบบพกพานี้มีไว้เพื่อใช้กับอุปกรณ์เครื่องครัวใด ๆ ที่ไม่มีด้ามจับในตัวนั่นเอง ลักษณะของด้ามจับแบบนี้จะมีรูปร่างคล้ายแท่งเหล็ก โดยจะมีตัวกดเพื่อให้หนีบกับภาชนะ ข้อดีของด้ามจับแบบพกพานี้มีหลายประการด้วยกันเมื่อเปรียบเทียบกับด้ามจับใน ตัวของภาชนะอื่นๆ แรกสุด ด้ามจับแบบพกพานี้ไม่ได้ติดกับตัวภาชนะ เราจะใช้ก็ต่อเมื่อต้องการเคลื่อนย้ายหม้อหรือภาชนะเท่านั้น ตัวด้ามจึงไม่เกะกะเวลาที่เรากางที่กั้นลมขณะทำอาหารไปด้วย นอกจากนี้ ตัวด้ามจะไม่ร้อนมากเกินไปเพราะเราไม่ได้ติดด้ามจับกับภาชนะตลอดเวลา จึงไม่ต้องกังวลว่าตัวด้ามจับอาจจะละลายได้ (หากมีการเคลือบด้านนอกด้วยยาง) เหมือนกับด้ามจับแบบหูหิ้วหรือด้ามจับแบบพับได้ และท้ายที่สุด ด้ามจับแบบพกพาที่มีการออกแบบมาอย่างดีจะทำให้เราสามารถจับภาชนะเคลื่อนย้าย ได้อย่างมั่นคงโดยไม่ต้องกังวลว่าด้ามจับที่หนีบไว้จะหลุด ถึงแม้ว่าจะมีอาหารบรรจุอยู่เต็มหม้อก็ตาม ส่วนข้อเสียของด้ามจับชนิดนี้คือ ตัวด้ามจะอยู่แยกจากตัวภาชนะ บางครั้งหากเก็บไม่ดีก็อาจจะหายได้

gear_48_1.jpg gear_48_2.jpg
ด้ามจับแบบพกพาจะเป็นด้ามเหล็ก และมีตัวหนีบกับภาชนะ

การเลือกชนิดของด้ามจับภาชนะนั้น บางครั้งเราก็ไม่สามารถจะเลือกได้ เพราะแบบและรุ่นของภาชนะนั้นมักจะมีด้ามจับที่มากับภาชนะอยู่แล้วว่าเป็นแบบ ใด เราคงไม่สามารถไปเลือกได้ว่า จะเอาภาชนะรุ่นนี้ แต่จะใช้ด้ามจับแบบนี้ แต่เราก็ไม่ต้องกังวลกับมันมากเท่าไหร่ เพราะโดยปรกติภาชนะพวกนี้มักจะได้รับออกแบบมาดีอยู่แล้ว โดยมีการเลือกใช้ชนิดด้ามจับให้เหมาะสมกับตัวภาชนะในแต่ละชิ้น เช่น หากเป็นภาชนะขนาดใหญ่ก็มักจะใช้ด้ามจับแบบพับขึ้นข้างบนหรือพกพา เพราะภาชนะขนาดใหญ่มักจะถูกนำไปใช้ประกอบอาหาร จึงต้องใช้ด้ามที่สามารถรับน้ำหนักและจับแล้วไม่ร้อน หากเป็นภาชนะขนาดเล็ก ก็มักจะใช้ด้ามจับแบบพับเข้าด้านข้าง เพราะภาชนะขนาดเล็กมักจะใช้ในการต้มน้ำกินกาแฟ หรือ ต้มอะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น แต่หากภาชนะรุ่นที่คุณเลือกไม่ใช้ด้ามจับที่คุณต้องการ ก็สามารถดูรุ่นอื่น ๆ หรือยี่ห้ออื่น ๆ ที่ใกล้เคียงกันได้ ปัจจุบันเครื่องครัวสำหรับแค้มปิ้งค์นั้นเริ่มมีให้เลือกกันหลายแบบ คงมีสักแบบที่ตรงความต้องการของคุณ

ที่มา http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_48.html

วัสดุที่ใช้ผลิตเครื่องครัว

วัสดุที่ใช้ผลิตเครื่องครัวมีอยู่หลายแบบ แต่ละแบบจะมีคุณสมบัติ และข้อดี ข้อเสียต่าง ๆ กันออกไป การที่เราจะเลือกว่าจะใช้วัสดุแบบไหน ก็ขึ้นกับความต้องการของผู้ใช้ เราจะมาดูกันถึงรายละเอียดวัสดุชนิดต่าง ๆ กัน
  • อลูมิเนียม (Aluminum)

    ข้อดีของอุปกรณ์เครื่องครัวที่ทำจากอลูมิเนียมก็คือมีน้ำหนักเบา และมีราคาไม่แพง แต่อลูมิเนียมก็มีข้อเสียอื่นๆ อีกมากที่ควรจะคำนึงถึง ข้อแรก การใช้อุปกรณ์เครื่องครัวที่ทำจากอลูมิเนียมที่ไม่มีคุณภาพ อาจจะทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมี เกิดเป็นคราบสีขาวในหม้อ ทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ และอลูมิเนียมอาจจะเกิดปฏิกิริยากับอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรดได้ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ อลูมิเนียมยังถือเป็นตัวนำความร้อนที่ไม่ค่อยดีนักอีกด้วย เนื่องจากมันต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่งเพื่อทำให้หม้อหรือกระทะเริ่มร้อน แต่เมื่อมันร้อนแล้วก็จะร้อนอยู่อย่างนั้นไม่เย็นลงได้ง่ายๆ ถึงแม้จะเอาหม้อหรือกระทะนั้นออกมาจากไฟแล้วก็ตาม อาหารก็จะยังไหม้ต่อไปเพราะความร้อนได้ถูกกักไว้แล้วและสามารถกระจายออกไป ได้ช้ามาก ยิ่งไปกว่านั้น ได้มีข้อสันนิษฐานด้วยว่าอุปกรณ์เครื่องครัวที่ทำจากอลูมิเนียมนั้นอาจจะ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ได้เช่นกัน และหากเราวางแผนที่จะไปเที่ยวในช่วงเวลาสั้นๆ ก็คงจะไม่เป็นไรมาก แต่หากเราวางแผนที่จะเดินทางนานๆ การใช้อลูมิเนียมอาจจะไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เนื่องจากอลูมิเนียมเป็นวัสดุที่ไม่แข็งแรงทนทานมาก หากมีการกระแทกเป็นเวลานานๆ ก็อาจจะบุบบี้หรือเสียรูปทรงได้ ซึ่งบางครั้งการเดินป่าที่มีหนทางยากลำบาก ต้องมีการปีนป่าย เครื่องครัวของเราอาจจะบุบได้ และในบางครั้งวัสดุชนิดนี้หากร้อนมาก ๆ ก็อาจจะละลายได้ ซึ่งมีคนเคยนำกระทะอลูมิเนียมไป พอเดินทางไปถึงที่พักแรม ปรากฏว่าบุบจนไม่เป็นรูปทรงกระทะ เวลาตั้งไฟนาน ๆ กระทะก็ละลาย ซึ่งควรจะระวังในข้อนี้ด้วย
  • เหล็กสเตนเลส (Stainless Steel)

    เหล็กสเตนเลสก็คือเหล็กที่ไม่เป็นสนิม ซึ่งมักจะเป็นที่นิยมสำหรับการใช้ประกอบอาหารในครัวเรือนทั่วไป เหล็กประเภทนี้มีความทนทานในการใช้งานสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหมาะสำหรับสภาพการเดินทางในป่าที่ลำบากลำบน เหล็กสเตนเลสไม่ใช่ตัวนำความร้อนที่ดีนักเช่นเดียวกับอลูมิเนียม จึงต้องใช้เวลาพอสมควรในการทำให้ภาชนะร้อน แต่ข้อแตกต่างระหว่างเหล็กสเตนเลสกับอลูมิเนียมก็คือเหล็กสเตนเลสจะไม่เก็บ กักความร้อนเอาไว้นาน ถ้าเราเอาภาชนะนั้นๆ ออกมาจากไฟแล้วอุณหภูมิก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ง่ายต่อการประกอบอาหาร นอกจากนี้เหล็กสเตนเลสยังมีความมันเงามากกว่าอลูมิเนียมซึ่งทำให้ทำความ สะอาดได้ง่ายกว่าอีกด้วย แต่ข้อเสียของเหล็กสเตนเลสคือน้ำหนักของมัน เครื่องครัวที่ทำจากสเตนเลสมักจะมีน้ำหนักมากกว่าเครื่องครัวที่ทำจากวัสดุ ชนิดอื่น

    อลูมิเนียมเป็นวัสดุที่เบา
    แต่ไม่คงทนเท่าใดนัก

    ไททาเนียมมีน้ำหนักเบา
    ทนทาน แต่ราคาแพง

  • เหล็กผสม (Composite)

    ภาชนะเครื่องครัวที่ทำจากเหล็กผสมนี้ ส่วนมากจะเป็นการผสมกันระหว่างเหล็กสเตนเลสกับทองแดง หรือเหล็กสเตนเลสกับอลูมิเนียม โดยแผ่นทองแดงหรืออลูมิเนียมนั้นจะสอดอยู่ตรงกลางระหว่างชั้นของเหล็ก สเตนเลสทั้งสองที่ก้นหม้อหรือกระทะนั้นๆ ภาชนะที่ทำจากเหล็กผสมโดยเฉพาะตัวที่มีแผ่นทองแดงสอดอยู่นั้นถือเป็นภาชนะ ที่เหมาะที่สุดสำหรับการทำอาหาร เพราะเหล็กผสมชนิดนี้จะมีความทนทานและล้างง่ายไม่ติดหม้อเหมือนกับคุณสมบัติ ของเหล็กสเตนเลส และทองแดงยังเป็นตัวช่วยนำความร้อนที่ดีมากอีกด้วย ทองแดงช่วยทำให้ภาชนะร้อนเร็วและเย็นเร็วและยังช่วยกระจายความร้อนไปทั่ว บริเวณก้นหม้อหรือกระทะด้วย อลูมิเนียมก็มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับทองแดงเช่นกันแต่มีประสิทธิภาพด้อยกว่า และเนื่องจากเหล็กผสมลักษณะนี้ไม่ได้มีการเชื่อมต่อกันสนิทระหว่างแผ่นทอง แดงหรืออลูมิเนียมที่สอดอยู่ตรงกลางกับเหล็กสเตนเลสทั้งสอง มันจึงเป็นการเพิ่มน้ำหนักของภาชนะขึ้นมาด้วยเช่นกัน นอกจากนั้น ถ้ามีการออกแบบไม่ดี บริเวณก้นของภาชนะอาจจะเกิดการแตกหักชำรุดทำให้ชั้นของเหล็กสเตนเลสด้านล่าง กับแผ่นทองแดงหรืออลูมิเนียมหลุดออกมาได้ และภาชนะนั้นก็จะไม่สามารถใช้งานได้อีก
  • ไททาเนียม (Titanium)

    ไททาเนียมนั้นเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบาอย่างไม่น่าเชื่อและยังมีความทนทาน มากเช่นกัน ถ้าคุณเป็นคนที่กังวลมากกับน้ำหนักของสัมภาระทุกชิ้นที่แบกเข้าป่าไปด้วย หรือต้องเดินทางเป็นระยะเวลายาวนานซึ่งต้องการภาชนะที่มีความทนทานสูง ไททาเนียมน่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีของคุณ แต่ภาชนะที่ทำจากไททาเนียมจะมีราคาแพงมากกว่าภาชนะที่ทำจากวัสดุอื่นๆ อยู่พอสมควร และไททาเนียมเองยังไม่คุณสมบัติในการนำความร้อนที่ไม่ค่อยดีคล้ายๆ กับอลูมิเนียม คือจะร้อนเร็วและก็ยังคงร้อนอยู่อย่างนั้นแม้จะนำภาชนะนั้นออกมาจากไฟแล้วก็ ตาม ทำให้อาหารไหม้ได้ง่าย ดังนั้น หากคุณไม่ได้กังวลมากขนาดที่จะต้องใช้แต่ภาชนะน้ำหนักเบามากเท่านั้นแล้วละ ก็ คุณก็ไม่จำเป็นจะต้องเลือกใช้ไททาเนียมก็ได้
  • พลาสติก (Plastic)

    พลาสติกเป็นวัสดุที่ใช้กันแพร่หลาย ซึ่งเรามักจะนิยมใช้พลาสติกสำหรับจาน ชาม ช้อน ที่ใส่ของทั่ว ๆ ไป แต่เราจะไม่ใช้กับการปรุงอาหารที่ต้องใช้ความร้อน เพราะพลาสติกจะไม่ทนไฟ (ยกเว้นพลาสติกแบบพิเศษ ที่ใช้ในเตาไมโครเวพ ซึ่งจะทนความร้อนได้ระดับหนึ่ง) เราจึงไม่สามารถใช้วัสดุชนิดนี้ ต้มน้ำ ทอดอาหาร ได้ สำหรับข้อดีของพลาสติกคือน้ำหนักเบา ราคาถูก ไม่แตกง่าย ส่วนข้อเสียคือ ไม่ทนไฟ และล้างความมันออกได้ยากกว่าวัสดุที่เป็นโลหะ
ที่มา http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_47.html

ชนิดและเครื่องครัวประเภทต่าง ๆ

ในชุดครัวแต่ละชุดจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์หลาย ๆ ชิ้น เช่น กระทะ หม้อ กาต้มน้ำ ฯลฯ ซึ่งแต่ละชิ้นก็จะใช้ประโยชน์ต่าง ๆ กัน ชุดครัวที่ขายในปัจจุบันบางชุด (ซึ่งจะเป็นชุดเล็ก) อาจจะมีอุปกรณ์ไม่ครบทุกชิ้น ทำให้ผู้ซื้อต้องเลือกว่าควรจะซื้อชุดไหนจึงเหมาะสมกับความต้องการ เราจะมาดูถึงอุปกรณ์ในแต่ละชิ้นว่ามีอะไรบ้าง

กระทะก้นแบน (Frying Pan)

ชุด อุปกรณ์เครื่องครัวส่วนใหญ่มักจะมีกระทะก้นแบนที่มีขอบเตี้ยๆ มาในชุดด้วย ซึ่งเหมาะสำหรับการปรุงอาหารหลายๆ ประเภท ไม่ว่าจะทอด ผัด หรือแม้กระทั่งต้มน้ำ เนื่องจากกระทะมีลักษณะแบน จึงมีพื้นที่สัมผัสเพิ่มมากขึ้น ทำให้สามารถต้มน้ำให้เดือดได้เร็วกว่าใช้หม้อต้มน้ำธรรมดา ขนาดของกระทะที่เหมาะสมน่าจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 7-1/2 นิ้ว ถึง 9 นิ้ว ถ้าเล็กเกินไปก็จะไม่สามารถทำอาหารอะไรได้ หรือหากใหญ่เกินไปก็อาจจะเทอะทะเกะกะได้

หม้อ (Pots)

โดย ปกติแล้ว หม้อก็เป็นอุปกรณ์อีกชิ้นหนึ่งที่ในชุดเครื่องครัวทั่วไปจะต้องมี หม้อที่มักจะใช้กันทั่วไปมักจะมีขนาดเป็นมาตรฐานอยู่ที่ประมาณ 1, 1.5, 2 และ 3 ลิตร เมื่อเราต้องการจะซื้อชุดเครื่องครัวสักชุด ควรจะพิจารณาเลือกซื้อชุดที่มีหม้อมาให้มากกว่าหนึ่งใบ เพราะเราจะได้สามารถทำอาหารหลายๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกัน เช่น ใช้หม้อใบหนึ่งหุงข้าว พร้อมๆ กับต้มซุปหรือแกงอะไรสักอย่างได้ นอกจากนี้ ข้อดีของการมีหม้อหลายๆ ขนาดอีกประการหนึ่งก็คือ เราสามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการของแต่ละการเดินทาง เช่น เราอาจจะใช้อุปกรณ์ชุดใหญ่ครบชุดในเวลาที่เราต้องการจะเดินทางกันเป็นกลุ่ม ใหญ่กับครอบครัว หรือเพื่อนฝูงหลายๆ คน แต่หากเราเดินทางเพียงคนเดียวหรือสองคน ก็ไม่จำเป็นจะต้องเอาอุปกรณ์ชุดใหญ่ไปครบชุดก็ได้ สิ่งที่เราควรจะคำนึงถึงอย่างหนึ่งในการเลือกซื้อชุดอุปกรณ์เครื่องครัวสัก ชุดก็คือ หม้อทุกใบ รวมทั้งกระทะและอุปกรณ์อื่นๆ ในชุดเดียวกัน ควรจะเก็บซ้อนกันเป็นชั้นๆ ได้เพื่อความประหยัดพื้นที่

ถ้วยตวงและแก้วน้ำ (Measuring and/or Drinking Cup)

อุปกรณ์ เครื่องครัวบางชุดจะมีถ้วยตวงที่สามารถปรับให้เป็นแก้วน้ำใบเล็กๆ ได้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว เรามักจะไม่ได้ใช้ถ้วยตวงเหล่านี้กันตามวัตถุประสงค์ซักเท่าไหร่ เพราะถ้าพูดกันตามจริงแล้ว เวลาทำกับข้าวกันในป่าหรือระหว่างตั้งแค้มป์ เราคงไม่ต้องพิถีพิถันกันขนาดที่ว่าจะต้องมานั่งตวงส่วนผสมกันทุกครั้ง และหากจะใช้ถ้วยตวงเหล่านี้แทนแก้วน้ำ มันก็คงจะมีขนาดเล็กเกินกว่าจะใส่อะไรได้มากมาย คงจะไม่ใหญ่พอที่จะใช้ชงกาแฟได้ด้วยซ้ำ บางคนจึงคิดว่าถ้วยตวงเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งจำเป็นเลย แต่หากจะว่าไป เราก็อาจจะนำมาประยุกต์ใช้ทำอย่างอื่นได้เช่นกัน เช่น ใช้ใส่น้ำจิ้ม หรือใช้ใส่เครื่องปรุงต่างๆ ที่เราหั่นเตรียมเอาไว้ เช่น พวกกระเทียม พริก มะนาว เป็นต้น

กาต้มน้ำ (Kettle)

ชุด อุปกรณ์เครื่องครัวใหญ่ๆ บางชุดจะมีกาต้มน้ำรวมอยู่ด้วย ซึ่งประโยชน์ใช้สอยของมันก็คงจะเป็นเพื่อการต้มน้ำอย่างเดียวจริงๆ แต่ก็นับว่าเป็นสิ่งที่สะดวกพอสมควร หากเราต้องการจะต้มน้ำเพียงเพื่อชงเครื่องดื่มอย่างเดียว โดยไม่ได้คิดจะทำกับข้าวมื้อใหญ่ บางคนอาจจะไม่ต้องการเพิ่มน้ำหนักโดยการแบกกาต้มน้ำใบนี้เข้าไปด้วย อาจจะใช้หม้อธรรมดาในชุดอุปกรณ์ต้มน้ำแทนการใช้กาต้มน้ำก็ได้ แต่การใช้กาต้มน้ำก็อาจจะสะดวกมากกว่าเวลาที่เราเทน้ำเดือดลงในแก้ว

ฝาหม้อ (Lids)

ฝา หม้อเป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่จำเป็นจะต้องมีในชุดอุปกรณ์เครื่องครัวชุดทุก เนื่องจากฝาหม้อจะมีประโยชน์ต่างๆ มากมาย ประโยชน์อย่างแรกสุดก็คือ ใช้ปิดหม้อเพื่อความรวดเร็วในการปรุงอาหาร เพราะจะทำให้น้ำในหม้อร้อนเร็วขึ้น (ซึ่งประโยชน์อันนี้ก็เป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกคนควรจะทราบอยู่แล้ว) ประการต่อไป การปรุงอาหารในป่า บางครั้งเราอาจจะต้องก่อกองไฟเพื่อทำอาหาร เราจึงจำเป็นจะต้องมีฝาหม้อเพื่อป้องกันฝุ่นหรือขี้เถ้าไม่ให้ตกลงไปในอาหาร นอกจากนี้ ชุดอุปกรณ์บางชุด จะออกแบบมาให้เราสามารถนำฝาหม้อมาใช้เป็นกระทะได้อีกด้วย ซึ่งถือเป็นข้อดีที่ควรจะพิจารณาอย่างยิ่งในการที่เราสามารถใช้อุปกรณ์ชิ้น หนึ่งสำหรับหลายๆ วัตถุประสงค์ได้เช่นนี้

อุปกรณ์อื่น ๆ

นอก จากอุปกรณ์ที่ใช้ทำครัวหลัก ๆ แล้ว ยังมีอุปกรณ์ชิ้นเล็ก ๆ ที่อาจจะมากับชุดเครื่องครัวด้วย เช่น ทัพพี ช้อนตักน้ำซุป ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นขนาดเล็กตัวด้ามสามารถพับได้เพื่อสะดวกในการเก็บ , ด้ามจับหม้อกระทะ บางชุดจะเป็นด้ามแยกออกมาจากตัวหม้อหรือกระทะ เวลาใช้ก็จะเอาไปหนีบกับอุปกรณ์นั้น ๆ แต่ส่วนใหญ่จะติดกับตัวอุปกรณ์และใช้วิธีพับเก็บมากกว่า , จาน ช้อน ส้อม บางชุดอุปกรณ์ก็อาจจะมีอุปกรณ์เหล่านี้ติดมาด้วย ส่วนใหญ่จะเป็นพลาสติก

ที่มา http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_43.html

การเลือกซื้อเครื่องครัว

ในการเดินทางแต่ละครั้ง นอกจากธรรมชาติที่สวยงาม และความสนุกสนานกับเพื่อนร่วมทางที่รู้ใจแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างที่จำเป็นมากต่อชีวิตนักเดินทางก็คือ อาหารการกิน นั่นเอง บางคนอาจจะบอกว่าขอเพียงแค่อิ่มท้อง กินง่ายไม่เรื่องมาก แต่ถ้าลองให้กินอาหารแบบเดียวกัน เช่น พวกอาหารแห้ง อาหารกระป๋อง ติดๆ กันซักสองวันหรือแค่สามมื้อ .. ก็คงเหม็นเบื่อกันไปอีกนาน เพราะอย่างน้อยที่สุด ในหนึ่งวันคนเราก็ควรจะได้กินอาหารที่เรียกได้ว่าเป็นอาหารที่แท้จริงซัก หนึ่งมื้อ ซึ่งหมายถึงอาหารที่ได้ผ่านขั้นตอนการปรุงอย่างที่ควรจะเป็น ไม่ใช่การเอาอาหารแห้งหรืออาหารกระป๋องมาอุ่นเฉยๆ เท่านั้น (อันนี้ขอยกเว้นบางกรณีที่ไม่มีอะไรจะให้กินจริงๆ เช่น เวลาหลงป่า หรือติดน้ำป่าออกมาไม่ได้ เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นก็คงไม่มีใครเรื่องมากแน่ๆ มีอะไรก็กินได้หมด)

ดังนั้น นักเดินทางส่วนใหญ่หรือจะเรียกได้ว่าแทบทุกคนคงจะไม่ปฏิเสธ หากจะบอกว่าอุปกรณ์ที่สำคัญสำหรับการเดินทางทุกครั้งที่จะขาดไม่ได้เลย ก็คืออุปกรณ์ทำครัวนั่นเอง

สมัยนี้มีอุปกรณ์ทำครัวให้เลือกมากมาย ทุกๆ คน ไม่ว่าจะเป็นกองทัพหรือนักเดินป่าก็ต้องเดินด้วยท้องกันทั้งนั้น หากเราเลือกอุปกรณ์ทำครัวที่ไม่เหมาะสมกับความต้องการของเรา ก็อาจจะทำให้เราต้องมาเดินแบกน้ำหนักที่มากเกินความจำเป็น หรือทำอาหารได้ไม่สะดวกเพราะหม้อ กระทะ มีขนาดเล็กเกินพอดี

ในท้องตลาดทั่วไป เราจะเห็นได้ว่ามีอุปกรณ์ทำครัวที่มีราคาแตกต่างกันมากมาย ทั้งๆ ที่เราก็ใช้เพื่อการปรุงอาหารเหมือนๆ กัน บางชนิดอาจจะมีราคาเพียงไม่กี่ร้อยบาท เช่น พวกจาน ชาม หรือหม้อสังกะสี ในขณะที่อุปกรณ์บางชนิดมีราคามากกว่า 5,000 บาท แต่อุปกรณ์ที่ถือว่าน่าใช้ และมีราคาสมกับคุณภาพ น่าจะมีราคาอยู่ในช่วงระหว่าง 2-3,000 บาท

ในชุดเครื่องครัวหนึ่งชุด ควรจะมีอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็นอยู่สองสามชิ้น เช่น กระทะ (ซึ่งในบางชุดอาจจะปรับฝาหม้อให้มาใช้เป็นกระทะได้) หม้อขนาดเล็กหนึ่งใบ (ความจุประมาณ 1 ถึง 1.5 ลิตร) หม้อขนาดใหญ่หนึ่งใบ (ความจุประมาณ 2 ลิตร) ฝาหม้อ และถุงใส่อุปกรณ์ทั้งหมด และในบางชุดอาจจะมีอุปกรณ์ใช้สอยอื่นๆ เพิ่มเติมมาให้อีกมากกว่านี้ก็ได้

ที่มา http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_42.html

การดูแลรักษาเตา

หลังจากที่มีการใช้งานเตาไปแล้ว อาจจะพบว่ามีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นกับเตาของคุณ เช่น จุดไฟไม่ติด ชิ้นส่วนบางชิ้นเสียหาย เรามาลองดูว่าเราจะมีวิธีดูแลรักษาเตาอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้กับเตาของคุณ
  1. ก่อนจะนำเตาเข้าไปใช้ในการท่องเที่ยวหรือเดินป่าจริงๆ คุณควรจะลองใช้ดูที่บ้านเสียก่อน เนื่องจากคุณจะได้มีเวลาศึกษาวิธีการใช้ที่ถูกต้อง และหากมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นก็ยังสามารถแก้ไขได้ทัน ดีกว่าที่จะไปรู้เอากลางป่าว่า คุณใช้เตาอันใหม่ไม่เป็น หรือมีปัญหาอื่นๆ เกิดขึ้นซึ่งแก้ไขอะไรไม่ทันแล้ว
  2. แม้ว่าเตาของคุณอาจจะใช้เชื้อเพลิงได้หลายชนิด แต่ก็ควรจะใช้เชื้อเพลิงชนิดที่ผู้ผลิตแนะนำมาว่าดีที่สุดจะดีกว่า เนื่องจากเชื้อเพลิงชนิดอื่นอาจจะเป็นเพียงแค่ตัวแก้ขัดในกรณีที่เชื้อเพลิง ชนิดที่แนะนำมานั้นหมดหรือหาไม่ได้จริงๆ ในบางพื้นที่ และบางครั้งเชื้อเพลิงทดแทนประเภทอื่นอาจจะทำให้เกิดปัญหาการอุดตันที่หัว เตาได้ หรือหากใช้ผิดประเภทจะยิ่งทำให้เตาเกิดความเสียหายได้มากขึ้น
  3. ก่อนออกเดินทางทุกครั้งควรจะเช็คก่อนว่า คุณมีเชื้อเพลิงอยู่เต็มถังหรือไม่ และก็ควรจะเช็คให้แน่ใจอีกครั้งด้วย เพื่อความสบายใจและมั่นใจว่าคุณจะไม่ไปเจอเรื่องแปลกประหลาดลึกลับที่ว่า อยู่ดีๆ เชื้อเพลิง (ที่คิดว่ามีอยู่เต็ม) ก็หมดไปเฉยๆ ซะอย่างนั้นแหละ
  4. เมื่อใช้เตาเสร็จแล้ว ควรจะแยกเก็บตัวเตาและถังเชื้อเพลิงออกจากกันทุกครั้ง เพื่อป้องกันการรั่วของเชื้อเพลิงซึ่งอาจจะทำให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์ อื่นๆ ได้อีกด้วย และยังป้องกันเรื่องลึกลับที่ว่าอยู่ดีๆ เชื้อเพลิงก็หายไปได้ด้วยเช่นกัน
  5. หากคุณเดินทางโดยเครื่องบินหรือรถไฟ คุณจำเป็นจะต้องแจ้งว่าคุณได้พกถังเชื้อเพลิงติดตัวมาด้วย เพราะนอกจากจะเป็นเรื่องผิดกฎหมายแล้วอาจจะทำให้เกิดเรื่องยุ่งยากหรือ อุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดได้ แม้กระทั่งการเดินทางโดยเรือคุณก็ควรจะต้องบอกกล่าวไว้ก่อนว่าคุณได้นำเชื้อ เพลิงประเภทใดติดตัวมาด้วย เพื่อจะได้มีการเก็บรักษาเอาไว้ในที่ที่ปลอดภัย
  6. อย่าสูบบุหรี่ระหว่างที่ใช้เตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนที่คุณกำลังจุดเตาอยู่ คุณคงจะรู้กันดีอยู่แล้วว่าเชื้อเพลิงเป็นสารไวไฟ เพราะฉะนั้น กันไว้ดีกว่าแก้
  7. ควรจะมีชุดอุปกรณ์สำหรับซ่อมแซมเตา และควรจะหัดใช้ให้เป็นด้วย และหลังจากการใช้งานทุกครั้งก็ควรจะทำความสะอาดเตาอย่างถูกวิธี เพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานออกไปได้เป็นสิบปี และหากเตาของคุณชำรุดหรือเสียหายก็ควรจะซ่อมแซมให้เรียบร้อย ไม่ควรจะดันทุรังใช้เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายหรืออันตรายอื่นๆ ตามมาได้
  8. กระป๋องเชื้อเพลิงเปล่านั้น ควรจะเก็บกลับออกมาทิ้งให้ถูกต้องด้วย เช่นกัน อย่าทิ้งเอาไว้ในป่า และไม่ควรเผาหรือฝังโดยเด็ดขาด หากมีที่ที่จัดไว้ให้สำหรับทิ้งกระป๋องเชื้อเพลิงพวกนี้โดยเฉพาะเพื่อนำไปรี ไซเคิลได้ ก็ควรจะไปทิ้งที่ที่เค้าจัดเอาไว้ให้เรียบร้อย หรือหากไม่มีก็ควรจะทิ้งโดยอ่านตามคำแนะนำข้างกระป๋อง สิ่งที่นักเดินทางทุกคนควรจะคำนึงถึงให้มากๆ ก็คือ “เราจะไม่ทิ้งอะไรไว้นอกจากรอยเท้า” เพราะฉะนั้น หากคุณนำเข้าไปได้ ก็ควรจะนำ (กระป๋องเปล่า) ออกมาได้ด้วยเช่นกัน
credit http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_33.html

เทคนิคการใช้เตา

หลังจากที่คุณได้เตาคู่ใจแล้ว ลองมาดูเทคนิคการใช้งาน เพื่อให้เตามีประสิทธิภาพสูงสุดและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
  1. ห้ามใช้เตาทำกับข้าวในเต็นท์หรือในที่กำบังที่ไม่มีการถ่ายเทอากาศที่ดีพอเป็นอันขาด เนื่องจากวัสดุที่ใช้ทำเต็นท์นั้นมักจะไหม้และละลายได้ง่าย ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้โดยง่าย และเมื่อเราเปิดเตาใช้นั้น การเผาไหม้ก็จำเป็นจะต้องใช้ก๊าซออกซิเจนเป็นปัจจัยหลัก และจะปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนน็อกไซด์หรือก๊าซพิษอื่นๆ ออกมาอีกด้วย ดังนั้น จงจำไว้ว่าคุณควรจะทำกับข้าวข้างนอกและอย่าจุดเตาในเต็นท์เพื่อเพิ่มความ อบอุ่นเป็นอันขาด
  2. เวลาทำกับข้าว ควรจะมีฝาปิดหม้อไว้ด้วยทุกครั้ง วิธีนี้จะช่วยให้ความร้อนไม่หนีหายออกไปและยังช่วยลดเวลาในการทำอาหารลงด้วย
  3. ควรจะใช้ที่บังลมเวลาทำกับข้าวทุกครั้ง ซึ่งจะช่วยให้หม้อได้รับความร้อนโดยตรงไม่มีการหักเหไปเพราะแรงลม ช่วยทำให้อาหารร้อนได้เร็วขึ้นและยังประหยัดเชื้อเพลิงอีกด้วย
  4. ควรจะเก็บเชื้อเพลิงให้อบอุ่นอยู่เสมอ หากเป็นหน้าหนาว คุณอาจจะเก็บเชื้อเพลิงเอาไว้ในกระเป๋าเสื้อแจ็กเก็ตของคุณ หรือเอาผ้าห่อเอาไว้เพื่อไม่ให้กระป๋องเชื้อเพลิงเย็นจนเกินไป เพราะเชื้อเพลิงจะมีประสิทธิภาพมากกว่าหากไม่เย็นมากเกินไป
  5. เวลาทำอาหารควรจะวางเตาไว้บนพื้นผิวที่แข็งแรง เช่น พื้นดินหรือหินที่แข็ง มิฉะนั้นเตาอาจจะเอียงหรือล้มและทำให้อาหารหกได้
  6. เวลาซื้อเตาคุณควรจะเอาอุปกรณ์ทำครัวไปด้วย เช่น หม้อที่คุณใช้ประจำติดตัว ถ้าคุณต้องการซื้อเตาหัวเดียวควรจะลองเอาเตานั้นใส่ในหม้อ (ขนาดกลาง) ดูว่าพอดีหรือไม่ ถ้าเตาเล็กเกินไปอาจจะมีปัญหาว่าต้องใช้เวลานานกว่าจะทำให้น้ำเดือดหรือ อาหารสุกได้ หรือหากเตาใหญ่เกินไปก็อาจจะเป็นปัญหาในการแบกสัมภาระเวลาเดินป่าได้เช่นกัน นอกจากนี้ หากคุณสามารถเก็บเตาเอาไว้ในหม้อได้ก็จะเป็นการป้องกันการกระแทกและเก็บ รักษาเตาที่ดีอีกวิธีหนึ่งด้วยเช่นกัน
  7. ควรนำไฟแช็คหรือไม้ขีดติดไปด้วย บางครั้ง การจุดเตาในสภาพอากาศที่เปียกชื้นหรือมีฝนตกก็อาจจะเป็นเรื่องลำบาก แต่เตาส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้ช่วยแก้ปัญหานี้ด้วยการติดตั้งระบบที่ใช้ปุ่มกด เพื่อช่วยในการจุดไฟให้ ทำให้เราสามารถจุดไฟติดได้ง่ายขึ้น แต่อย่างไรก็ดี คุณก็ควรจะพกไม้ขีดหรือไฟแช็กติดตัวไปด้วย แค่เผื่อเอาไว้เท่านั้นว่าบางครั้งปุ่มมันอาจจะไม่ทำงาน
  8. ควรระวังเรื่องการพกเชื้อเพลิงขึ้นเครื่องบิน หากคุณต้องเดินทางท่องเที่ยวโดยเครื่องบินด้วย ควรจะระวังไว้อย่างหนึ่งว่าการพกถังเชื้อเพลิงหรือกระป๋องแก๊สติดตัวขึ้น เครื่องบิน หรือแม้แต่ใส่ไว้ในกระเป๋าเดินทางที่โหลดลงใต้เครื่องนั้น เป็นเรื่องผิดกฎหมายและอันตรายอย่างยิ่ง บางสายการบินอาจจะอนุโลมให้คุณเก็บเตาและถังเชื้อเพลิงที่ไม่มีเชื้อเพลิง อยู่เลยได้ในกระเป๋าเดินทาง แต่อย่างไรก็ตาม คุณควรจะเช็คกับสายการบินของคุณก่อนเดินทางด้วย

วิธีการเลือกซื้อเตา

อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจซื้อเตาอันแรกที่คุณเห็นว่าสวยถูกใจ ก่อนจะซื้อเราควรจะมาพิจารณาปัจจัยต่างๆ ดังนี้

1. ดูรูปแบบการท่องเที่ยว

คิด ให้ดีก่อนว่าคุณจะใช้เตาสำหรับการเดินทางแบบใด ถ้าหากว่าส่วนใหญ่คุณมักจะเดินทางท่องเที่ยวโดยการขับรถหรือคาร์แคมป์ คุณก็สามารถซื้อเตาขนาดใหญ่ได้เพราะไม่ต้องแบกอุปกรณ์เหล่านี้ แต่เตาประเภทนี้คงไม่เหมาะแน่หากกิจกรรมส่วนใหญ่ของคุณจะเป็นการเดินทางเข้า ไปค้างแรมกลางป่าหรือปีนเขา คงจะต้องเลือกแบบที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบามากกว่า สำหรับเตาที่ใช้เชื้อเพลิงอัดกระป๋องนั้นมักจะมีลักษณะเบากว่าและสะดวกในการ ใช้งานมากกว่า แต่ก็ต้องจำไว้ว่ากระป๋องเชื้อเพลิงนั้นเปลืองเนื้อที่พอสมควร ถึงแม้ว่าเราจะใช้เชื้อเพลิงหมดแล้วแต่เราก็ควรจะต้องนำตัวกระป๋องกลับออกมา ทิ้งด้านนอกด้วยเช่นกัน

2. เลือกขนาดของเตาที่เหมาะสม

หลังจากพิจารณารูปแบบการเดินทางของคุณแล้ว ต่อมาก็ควรจะคิดว่าเราจะใช้เตาเพื่อจุดประสงค์ใดเป็นหลัก คุณต้องการใช้เตาเพื่อประกอบอาหารมื้อใหญ่ หรือต้องการเพียงแค่น้ำร้อนสำหรับชงกาแฟเท่านั้น หากต้องการใช้ทำอาหารมื้อใหญ่คุณก็อาจจะต้องการใช้เตาที่มีสองหัวเพื่อความ รวดเร็วในการทำกับข้าว (ซึ่งแน่นอนว่าน้ำหนักก็ต้องเพิ่มขึ้นตามหัวเตาด้วย) แต่ถ้าเพียงแค่ต้องการน้ำเดือดไว้ชงกาแฟหรือต้มมาม่า แค่เตาขนาดเล็กก็คงจะเพียงพอแล้ว

นอก จากนี้น้ำหนักของเตาก็เป็นเรื่องสำคัญอีกอย่างที่ควรจะคำนึงถึง เตาที่ขายในท้องตลาดมีหลายรูปแบบมาก บางอันอาจจะหนักเพียงไม่กี่กรัม แต่บางชนิดอาจจะหนักเป็นกิโลเลยก็ได้ เพราะฉะนั้นคุณควรจะดูด้วยว่าเตาที่ต้องการจะซื้อนั้นหนักมากน้อยเพียงใด หากคุณจะเดินทางท่องเที่ยวแบบคาร์แคมป์ น้ำหนักของเตาคงจะไม่เป็นปัญหามากนัก แต่หากคุณจะเดินเท้าเข้าป่าละก็คงจะมีปัญหาแน่ถ้าคุณใช้เตาที่หนักเกินไป แต่ข้อควรจำอีกประการหนึ่งก็คือว่าน้ำหนักของเตาที่ผู้ผลิตระบุไว้ที่ฉลาก นั้น มักจะหมายถึงเฉพาะน้ำหนักของตัวเตาเท่านั้น ไม่ได้รวมถึงน้ำหนักของกระป๋องหรือถังเชื้อเพลิงด้วย

เมื่อคุณได้ขนาดที่เหมาะสมแล้ว ในการเดินทางไปตากที่ต่าง ๆ คุณอาจจะพบว่าเตานั้นเกะกะพอสมควร ซึ่งเตาประเภทที่สามารถแยกถังเชื้อเพลิงออกจากตัวเตาได้จะง่ายต่อการ เก็บมากกว่า นอกจากนี้เตาบางรุ่นสามารถพับชิ้นส่วนต่าง ๆ ได้เมื่อใช้เสร็จ ซึ่งเตาที่ดูมีขนาดใหญ่พอพับเก็บอาจจะเล็กนิดเดียวก็ได้ ซึ่งคุณควรจะลองดูก่อนว่าเตานั้นเมื่อพับเก็บแล้วมีขนาดเท่าไหร่

3. ตรวจสอบชนิดของเชื้อเพลิงที่ใช้

เตาแต่ละชนิดจะใช้เชื้อเพลิงไม่เหมือนกัน เช่น ใช้น้ำมัน หรือแก๊ส เป็นต้น ซึ่งเชื้อเพลิงแต่ละประเภทมีข้อดีข้อเสียต่างกันออกไป ซึ่งสามารถดูรายละเอียดได้ในเรื่อง เชื้อเพลิงสำหรับเตา แต่สำหรับเตาบางรุ่นจะสามารถเลือกใช้เชื้อเพลิงได้มากกว่า 1 ชนิด โดยการเปลี่ยนวาล์วที่ใช้ต่อกับถังเชื้อเพลิง ซึ่งจะทำให้เราสะดวกในการหาเชื้อเพลิงที่จะใช้ แต่ราคาก็จะแพงขึ้นตามไปด้วย

4. ตรวจสอบการใช้งานของเตา

เตา มีหลายรูปทรง ขึ้นกับการออกแบบของผู้ผลิต แต่ละรูปทรงก็อาจจะมีลูกเล่นต่าง ๆ กัน จะใช้รูปทรงไหนก็ขึ้นกับความชอบด้วย แต่ก็จะมีข้อที่ควรพิจารณาในการทดสอบก่อนเลือกซื้อดังนี้
  • เตานั้นติดตั้งยากง่ายแค่ไหน
  • เมื่อวางภาชนะบนเตาแล้ว เตามีความสมดุลหรือไม่ เตาบางรุ่นเมื่อวางภาชนะไปแล้วไม่สมดุล ซึ่งจะดูเหมือนเตาจะล้มลงมา
  • การถอดใส่ถังเชื้อเพลิง มีความยากง่ายเพียงใด
  • มีความร้อนสม่ำเสมอหรือไม่หากใช้บนพื้นที่ไม่เรียบ เตาบางชนิดเมื่อวางอยู่บนพื้อนที่ไม่เรียบหรือเชื้อเพลิงไม่อยู่ในแนวระนาบ อาจจะมีปัญหาของไฟที่ออกมาไม่สม่ำเสมอ
  • ปุ่มปรับระดับความร้อนสามารถปรับได้ง่ายหรือไม่ บางรุ่นพอหมุนปรับระดับไปนิดเดียวไฟก็จะดับเลยก็มี
  • การดูแลรักษามีความยากง่ายเพียงใด เราสามารถดูแลรักษาเบื้องต้นได้ด้วยตนเองหรือไม่

5. ตรวจสอบอุปกรณ์เสริม

ลองดูอุปกรณ์เสริมที่มากับเตาด้วยว่าเค้าให้อะไรมาบ้าง เตาบางรุ่นก็อาจจะมีที่บังลมติดมาด้วย หรืออาจจะมีกระป๋องเชื้อเพลิงแนบมาด้วย บางรุ่นอุปกรณ์เหล่านี้ก็จะแยกขายต่างหาก ถ้าจะให้ดีควรจะมีชุดอุปกรณ์ซ่อมแซมให้มาด้วยเช่นกัน และถ้าเตาที่คุณซื้อไม่มีกล่องหรือถุงใส่มาให้ละก็ คุณควรจะหาซื้อหรือเย็บถุงสำหรับใส่เตาไว้ด้วยเพื่อป้องกันความเสียหายและ ช่วยยืดอายุการใช้งานของเตาของคุณ อุปกรณ์เสริมเหล่านี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและช่วยดูแลรักษาเตาของเราให้มี อายุการใช้งานเพิ่มขึ้นได้

6. ตรวจสอบประสิทธิภาพของเตา

เมื่อคุณมีเตาที่อยากได้อยู่ในใจแล้ว ยังมีข้อควรพิจารณาอีกอย่างคือประสิทธิภาพของเตา สิ่งที่คุณจำเป็นจะต้องเช็คก็คือ

  • ระยะเวลาที่ใช้สำหรับการต้มน้ำเดือด คือเวลาที่ใช้สำหรับการต้มน้ำ 1 ควอทหรือ 1 ลิตร ในอุณหภูมิปกติที่ระดับน้ำทะเล ซึ่งปรกติเตาในต่างประเทศมักใช้หน่วยเป็นควอท ซึ่งตัวเลขนี้จะบอกถึงความร้อนของเตาว่าร้อนเพียงใด ถ้าร้อนมากน้ำก็จะเดือดในเวลาอันรวดเร็ว
  • ระยะเวลาที่ใช้ในการเผาไหม้เชื้อเพลิงจำนวนหนึ่ง คือการเปรียบเทียบเวลาที่เตาชนิดหนึ่งใช้ในการเผาไหม้เชื้อเพลิงจำนวนหนึ่ง เช่น การเปิดเตา 10 นาทีใช้เชื้อเพลิงไปเท่าไร ซึ่งถ้าหากเปรียบเทียบกับรถก็คือการเปรียบเทียบว่าน้ำมัน 1 ลิตร สามารถวิ่งได้กี่กิโลเมตรนั่นเอง แต่อย่าลืมว่าการเปรียบเทียบจะต้องเปรียบเทียบในปริมาณที่เท่ากัน
credit http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_31.html

อุปกรณ์เสริมสำหรับเตา

หัวเตาสองหัว (Double Burner)

เตาบางชนิดก็มีการออกแบบมาให้มีสองหัวเพื่อความสะดวกรวดเร็วใน การใช้งานมากขึ้น โดยเราสามารถทำการเลือกใช้ได้ว่าจะใช้เตาหัวใด ซึ่งแต่ละหัวอาจจะให้ความร้อนได้ไม่เท่ากัน แต่เตาแบบสองหัวนี้จะเหมาะสำหรับการท่องเที่ยวแบบค่อนข้างสบาย เช่น การขับรถเที่ยว หรือการเดินป่าระยะใกล้ที่ไม่จำเป็นจะต้องแบกอุปกรณ์เข้าไปนอนค้างในป่าด้วย เนื่องจากเตาลักษณะนี้มักจะมีขนาดใหญ่และเทอะทะกว่าเตาแบบหัวเดียว จึงไม่เหมาะนักสำหรับการเดินทางเข้าไปค้างแรมกลางป่าเพราะเรามักจะจำเป็น ต้องประหยัดเนื้อที่และน้ำหนักของสัมภาระให้มากที่สุด

เตาแบบ 2 หัว

ปุ่มกดเพื่อจุดไฟ (Push Button Ignition)

เตาบางชนิดจะจุดไฟติดได้โดยการกดปุ่มเพื่อจุดหัวเตา การจุดหัวเตาวิธีนี้ในระยะยาวอาจจะมีปัญหาอยู่บ้าง เนื่องจากหัวจุดอาจจะหลวมทำให้จุดไม่ค่อยติด หรือต้องกดหลายๆ ครั้งกว่าเตาจะติดไฟ และถ้าโดนความร้อนมากๆ ปุ่มกด (ซึ่งมักจะเป็นพลาสติก) อาจจะละลายได้ ถ้าหากคุณใช้เตาที่มีหัวจุดลักษณะนี้ เพื่อความสบายใจควรจะพกไม้ขีดหรือไฟแช็กติดตัวไปด้วยจะดีกว่า เผื่อกรณีฉุกเฉินที่ปุ่มจุดไฟอาจจะเกเรในบางครั้ง

ที่บังลม (Windscreen)

ผู้ผลิตเตาบางรุ่นอาจจะผลิตอุปกรณ์เสริมติดมากับเตาเพื่อความ สะดวกของผู้ใช้มากยิ่งขึ้น เช่น ในเตาบางรุ่นจะมีที่บังลมติดมาด้วย อาจจะเป็นตัวฝาปิดซึ่งจะต้องกางออกเวลาใช้งานและสามารถใช้ประโยชน์ในการบัง ลมได้ด้วย ซึ่งจะช่วยให้อาหารของเราร้อนเร็วขึ้นเช่นกัน แต่ข้อควรระวังคือ ถ้าหากเตาของคุณเป็นประเภทที่ใช้เชื้อเพลิงอัดกระป๋องต่อกับหัวเตาโดยตรง คุณไม่ควรจะใช้ที่บังลมด้านบนที่ทำให้ความร้อนสะท้อนกลับลงไปยังหัวเตาด้าน ล่างโดยตรง เพราะจะทำให้เชื้อเพลิงร้อนเกินไป ทำให้เกิดความเสียหายต่อหัวปั้ม และอาจจะทำให้ปุ่มกดเพื่อจุดไฟละลายได้เช่นกัน

gear_30_5.jpg
gear_30_6.jpg

กล่องใส่เตา (Shell Case)

การใช้บรรจุภัณฑ์ที่แข็งแรงในการเก็บเตาเป็นการถนอมเตาของคุณจากการ กระแทกกับสิ่งต่างๆ ในระหว่างการเดินทางได้ดี แต่ก็อย่าลืมว่ากล่องที่แข็งแรงนั้นมักจะเพิ่มน้ำหนักให้ด้วยเช่นกัน

ถุงใส่เตา

กล่องใส่เตา

ถุงใส่เตา (Stuff Sack)

การใช้ถุงที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับใส่เตาเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับการเดินทางที่ต้องการกำจัดน้ำหนักส่วนเกินของสัมภาระให้มากที่สุด ถุงประเภทนี้จะมีน้ำหนักเบากว่ากล่องแข็งๆ มาก แต่ก่อนที่จะเก็บเตาใส่ถุงนั้น คุณควรจะรอให้เย็นเสียก่อนมิฉะนั้นอาจจะเกิดความเสียหายกับถุงใส่เตาได้

ชุดอุปกรณ์ซ่อมแซม (Repair Kit)

ชุดอุปกรณ์ซ่อมแซม
ใน เตาบางรุ่น ผู้ผลิตจะมีชุดอุปกรณ์สำหรับการซ่อมแซมเตาแนบมาให้ด้วย ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ก็จะช่วยทำให้คุณซ่อมแซมเล็กๆ น้อยๆ ได้ หากเกิดปัญหาเล็กน้อยระหว่างการใช้งานกลางป่า

เตาที่ใช้เชื้อเพลิงได้หลายชนิด (Dual Fuel or Multi Fuel)

เตาบางชนิดอาจจะใช้เชื้อเพลิงได้หลายประเภท แต่ก็หมายถึงเชื้อเพลิงที่เป็นประเภทเดียวกัน เช่น เตาที่ใช้เชื้อเพลิงเหลวบางรุ่นก็อาจจะใช้เชื้อเพลิงประเภท white gas น้ำมันก๊าด หรือ gasoline ได้ ส่วนเตาที่ใช้ เชื้อเพลิงอัดกระป๋องก็อาจจะใช้เชื้อเพลิงประเภท propane หรือ isobutane ก็ได้ หากเตาของคุณใช้เชื้อเพลิงได้หลายประเภทก็จะทำให้สะดวกมากยิ่งขึ้นในการเดิน ทางไปยังพื้นที่ต่างๆ

กระป๋องเชื้อเพลิง (Fuel Bottles)

ส่วนใหญ่แล้วเตาที่เราซื้อจะไม่มีกระป๋องเชื้อเพลิงให้มาด้วย มักจะต้องซื้อแยกต่างหาก กระป๋องเชื้อเพลิงก็มีหลายแบบหลายลักษณะแตกต่างกันออกไป และอาจจะวัดความจุเป็นออนซ์หรือมิลลิลิตรแล้วแต่ประเภท ดังนั้นจึงควรจะต้องเลือกซื้อกระป๋องเชื้อเพลิงให้เหมาะสมกับประเภทของเตา ที่ใช้

credit http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_30.html

ประสิทธิภาพของเตา

ความสามารถ (Performance)

ความสามารถของเตามักจะวัดจากเวลาที่ใช้ในการต้มน้ำเดือด โดยผู้ผลิตมักจะวัดจากมาตรฐานเดียวกันคือ ดูจากระยะเวลาที่ใช้ทำให้น้ำ 1 ลิตร เดือด โดยใช้เชื้อเพลิงที่ดีที่สุดสำหรับเตาชนิดนั้น เปิดไฟเต็มที่ และต้มน้ำในอุณหภูมิปกติที่ระดับน้ำทะเล เตาแต่ละยี่ห้อสามารถต้มน้ำให้เดือดได้ภายในเวลาสองนาทีครึ่งจนถึงสิบนาที ระยะเวลาที่ดีควรจะอยู่ระหว่าง 3 – 5 นาที เราต้องจำไว้อย่างหนึ่งว่า ความสามารถในการใช้งานของเตาจะน้อยลงตามลำดับ หากนำไปใช้ในสภาพอากาศที่หนาวเย็นหรือในความสูงที่มากกว่าปกติ

ประสิทธิภาพ (Efficiency)

ประสิทธิภาพของเตาขึ้นอยู่กับว่าเราจะสามารถใช้งานได้นานเพียง ใดหากเปิดไฟเต็มที่ บางครั้งผู้ผลิตอาจจะบอกว่าเตาของตนสามารถใช้งานได้นานติดต่อกันถึงหนึ่ง ชั่วโมง แต่นั่นอาจจะต้องใช้ถังเชื้อเพลิงขนาดใหญ่ เตาที่มีประสิทธิภาพดีควรจะสามารถใช้งานได้นานถึงสิบนาทีสำหรับเชื้อเพลิง เพียง 1 ออนซ์ (1 ออนซ์ =28.349 กรัม)

เทคนิคในการเพิ่มประสิทธิภาพให้เตา

  • ใช้ฝาปิดภาชนะทุกครั้ง เพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อนระหว่างการประกอบอาหาร ซึ่งจะให้ร้อนเร็วขึ้น
  • ใช้ที่บังลม เพื่อป้องกันลมปะทะกับไฟ ซึ่งที่บังลมจะช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อนได้ถึง 20% ทีเดียว
  • ทำความสะอาดเตาอย่างถูกต้อง และทำความสะอาดทุกครั้งหลังเลิกใช้งาน ซึ่งหากเตาไม่สะอาดอาจจะมีการอุดตัน ซึ่งจะทำให้ความร้อนออกมาน้อยลง

ชนิดและประเภทของเตา

เราสามารถแบ่งเตาได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะการใช้เชื้อเพลิงคือ

  1. เตาที่ใช้เชื้อเพลิงอัดกระป๋อง (Cartridge stoves)
  2. เตาที่ใช้เชื้อเพลิงเหลว (Liquid gas stoves)

เตาแบบใช้เชื้อเพลิงกระป๋อง
เตาที่ใช้เชื้อเพลิงอัดกระป๋อง (Cartridge stoves)

  • มักจะเบากว่าและไม่จำเป็นต้องดูแลรักษามากเท่ากับเตาที่ใช้เชื้อเพลิงเหลว
  • เป็นเชื้อเพลิงสะอาดที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษและจะทำให้อาหารเดือดกรุ่นอยู่ได้นานกว่า
    เตาประเภทนี้จะใช้เชื้อเพลิงอัดแน่น เช่น butane, isobutane และ propane ที่จะใส่เป็นกระป๋องมาอยู่แล้ว ซึ่งเชื้อเพลิงพวกนี้จะใช้ได้ไม่ค่อยดีนักในที่ที่อากาศหนาวเย็น
  • เตาที่ใช้เชื้อเพลิงกระป๋องแบบนี้ส่วนมากมักจะถูกผลิตมาในลักษณะ ที่จะสามารถเอาตัวกระป๋องเชื้อเพลิงมาเสียบกับหัวเตาได้เลย หรืออาจจะใช้ท่อเสียบต่อจากหัวกระป๋องมาที่เตาเลยก็ได้ และกระป๋องเชื้อเพลิงที่สามารถจะเสียบติดกับตัวเตาได้เลยนั้นก็มักจะมี น้ำหนักเบากว่าเชื้อเพลิงที่ต้องต่อท่อเสียบมาที่หัวเตา
  • กระป๋องเชื้อเพลิงหลายยี่ห้อจะมีฝาปิดซึ่งทำให้เราสามารถเอากลับมาใช้ต่อได้อีกหากยังไม่หมด
    เตาเชื้อเพลิงประเภทนี้อาจจะใช้ได้ไม่ค่อยดีนักในสภาพอากาศที่มีลมแรง
  • เชื้อเพลิงที่ใช้กับเตาประเภทนี้มีดังนี้
    • เชื้อเพลิงผสม ส่วนใหญ่มักจะผสมระหว่าง propane และ butane
    • บางครั้งก็จะมีการเพิ่มเชื้อเพลิง Isobutane เข้าไปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้นด้วย
    • เชื้อเพลิงประเภท Butane อาจจะให้ความร้อนได้ไม่ดีเท่าเชื้อเพลิงตัวอื่น และจะใช้ได้ไม่ค่อยดีนักในสภาพอากาศหนาวเย็น
    • เชื้อเพลิงประเภท Isobutane จะให้พลังงานความร้อนที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ แต่จะไม่ร้อนมากเท่ากับเชื้อเพลิงผสม และมักจะใช้ได้ไม่ค่อยดีนักในสภาพอากาศหนาวเย็นเช่นกัน
  • เชื้อเพลิงมีราคาแพง เช่น แก๊สต้องซื้อมาเป็นกระป๋อง ไม่สามารถเติมได้ โดยราคาเชื้อเพลิง butane ซึ่งมีลักษณะคล้ายกระป๋องเสปรย์ปัจจุบันจำหน่ายในราคาประมาณ 3 กระป๋องร้อย

เตาน้ำมัน แบบถังเชื้อเพลิง
ติดกับตัวเตา
เตาที่ใช้เชื้อเพลิงเหลว (Liquid gas stoves)

  • เตาเชื้อเพลิงเหลวจะมีถังเก็บเชื้อเพลิงที่เราสามารถเติมได้ โดยถังเก็บเชื้อเพลิงจะมีทั้งแบบติดกับตัวเตากับแบบแยกออกมาต่างหาก เตาชนิดนี้ให้ความร้อนได้มากกว่า และใช้งานในสภาพอากาศที่หนาวเย็นหรือมีลมแรงได้ดีกว่าเตาที่ใช้เชื้อเพลิง กระป๋อง
  • อย่างไรก็ดี เตาเชื้อเพลิงเหลวนี้มักจะใช้งานได้ยากกว่า หนักกว่า และแพงกว่าเตาเชื้อเพลิงกระป๋อง
  • เตาเชื้อเพลิงเหลวมักจะสามารถใช้กับเชื้อเพลิงได้หลายประเภท ซึ่งอาจจะเป็นข้อที่ควรจะพิจารณาสำหรับผู้ที่ต้องการใช้เตาในต่างประเทศซึ่ง อาจจะมีการใช้เชื้อเพลิงแตกต่างกันออกไป
  • ในบางครั้งอาจจะจำเป็นที่จะต้องมีถังเชื้อเพลิงสำรองอีกหนึ่งถัง เผื่อการเดินทางที่ยาวนานและอาจจะไม่มีที่ให้สามารถเติมเชื้อเพลิงระหว่าง ทางได้
  • เชื้อเพลิงที่ใช้กับเตาประเภทนี้มีดังนี้
    • เบนซินขาว (White gas) เป็นเชื้อเพลิงที่ให้ความร้อนสูง มีความสะอาดและมีสารตกค้างน้อย สำหรับในบ้านเรายังหาซื้อได้ยาก
    • น้ำมันก๊าด (Kerosene) หาได้ง่ายทั่วไป แต่มักจะทำให้เกิดควันและอาจจะทำให้เกิดการอุดตันในท่อเชื้อเพลิงได้
  • เมื่อเทียบค่าใช้จ่ายต่อชั่วโมงการใช้งานแล้ว เตาที่ใช้เชื้อเพลิงเหลวจะคุ้มค่ากว่าเตาที่ใช้เชื้อเพลิงอัดแน่นแบบกระป๋อง และจะมีความคล่องตัวมากกว่าในการใช้งาน เนื่องจากเตาที่ใช้เชื้อเพลิงเหลวถูกออกแบบมาให้ใช้ได้กับเชื้อเพลิงหลาย ประเภทด้วย
credit http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_28.html

ชนิดและประเภทของเชื้อเพลิง

เตาจำเป็นจะต้องใช้เชื้อเพลิงเพื่อก่อให้เกิดพลังงานความร้อนขึ้น ซึงเชื้อเพลิงที่ใช้กับเตาแก๊สมีหลายชนิดซึ่งมีข้อดีและข้อเสียต่างกันออกไป โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
  1. เชื้อเพลิงเหลว (Liquid fuels )
  2. เชื้อเพลิงอัดกระป๋อง (Compressed gas fuels)

เชื้อเพลิงเหลว (Liquid fuels เช่น white gas, kerosene, unleaded gas)

เชื้อ เพลิงเหลวสามารถแบ่งได้หลายชนิด เช่น แอลกอฮอล์, เชื้อเพลิงรถยนต์, น้ำมันก๊าด เป็นต้น ซึ่งมีรายละเอียดและข้อดีข้อเสียดังนี้
  • ข้อดี - เชื้อเพลิงเหลวหาได้ง่ายกว่าและถูกกว่าเชื้อเพลิงแบบอัดแน่น และยังสามารถถ่ายจากภาชนะหนึ่งไปยังภาชนะอื่นได้ด้วย
  • ข้อเสีย – เชื้อเพลิงบางประเภทอาจจะมีการระเหยตัวได้ง่ายก่อนที่จะได้นำมาใช้ด้วยซ้ำ ซึ่งอาจจะทำให้ในบางสถานการณ์เชื้อเพลิงเหลวประเภทนี้ไม่ค่อยจะมี ประสิทธิภาพมากนัก

แอลกอฮอล์ (Alcohol)

แอลกอฮอล์เป็นเชื้อเพลิงที่ปลอดภัย เผาไหม้ได้อย่างต่อเนื่องและสะอาด แต่มีเตาเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่ใช้แอลกอฮอล์เป็นเชื้อเพลิงได้ นอกจากนี้ แอลกอฮอล์ยังเผาไหม้ให้เกิดเปลวไฟที่ค่อนข้างเย็น จึงไม่ค่อยเหมาะสำหรับการทำอาหาร และเมื่อแอลกอฮอล์มีการเผาไหม้นั้น มักจะไม่ค่อยเห็นเปลวไฟอย่างชัดเจนซึ่งอาจจะเป็นการเสี่ยงสำหรับอุบัติเหตุ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้

เชื้อเพลิงรถยนต์ (Gasoline or Automobile Gas)

เชื้อเพลิงรถยนต์ไม่ค่อยจะเหมาะนักสำหรับการนำมาเติมเตาเพื่อ ทำอาหาร เนื่องจากเชื้อเพลิงที่มีค่าออกเทนต่ำเมื่อเผาไหม้แล้วจะทำให้เกิดเขม่า ควัน กลิ่นที่เป็นพิษ และอุดตันท่อเชื้อเพลิงมากกว่า white gas ส่วนเชื้อเพลิงที่มีค่าออกเทนสูงมักจะมีการใส่ส่วนผสมหลายๆ อย่างเข้าไปซึ่งจะทำให้การเผาไหม้เป็นไปได้ไม่ดี ดังนั้นจึงไม่ควรที่จะนำเชื้อเพลิงรถยนต์มาใช้กับเตาประกอบอาหาร ถ้าจำเป็นจะต้องใช้เชื้อเพลิงชนิดนี้ในการทำอาหารจริงๆ ให้เลือกใช้ที่มีค่าออกเทนต่ำๆ เช่น 84 – 86 และต้องเป็นแบบไร้สารตะกั่วด้วย และควรจะทำอาหารโดยมีการปิดฝาหม้อไว้ด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เขม่าพิษต่างๆ เข้าไปในอาหาร

น้ำมันก๊าด (Kerosene)

น้ำมันก๊าดเป็นเชื้อเพลิงที่ใช้กันมาอย่างแพร่หลายและยาวนาน มากสำหรับเตาประกอบอาหาร น้ำมันก๊าดสามารถให้พลังงานความร้อนที่มากได้ในแทบจะทุกสภาพอากาศ แต่น้ำมันก๊าดก็คล้ายกับน้ำมันเชื้อเพลิงรถยนต์ ที่จะทำให้เกิดกลิ่นที่เป็นพิษและเกิดเขม่ามาก และเขม่าจำนวนมากเหล่านี้จะทำให้เกิดการอุดตันในหัวเตาได้ง่ายและเร็วมาก ขึ้น นอกจากนี้ เตาที่จะใช้ควรจะมีปั้มความดันสำหรับเก็บเชื้อเพลิงไว้ด้วยเนื่องจากน้ำมัน ก๊าดเป็นเชื้อเพลิงเหลว อย่างไรก็ดี น้ำมันก๊าดเป็นตัวเลือกที่น่าจะเลือกใช้เมื่อไม่มีเชื้อเพลิงชนิดอื่นจริงๆ

เบนซินขาว (White Gas)

เชื้อเพลิงประเภทนี้จะให้เปลวไฟที่ร้อนและสะอาด และดีกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่นเนื่องจาก เบนซิจขาวจะใช้ได้กับสภาพอากาศและอุณหภูมิแทบทุกรูปแบบ และเนื่องจากมันเป็นเชื้อเพลิงเหลว ตัวเตาควรจะต้องมีปั้มความดันสำหรับเก็บเชื้อเพลิงไว้ด้วยเช่นเดียวกับ น้ำมันก๊าด เบนซินขาวเป็นแหล่งเชื้อเพลิงที่ดีที่สุดที่จะใช้กับเตา สำหรับเกือบทุกสภาพอากาศและความสูง

เชื้อเพลิงอัดกระป๋อง (Compressed gas fuels)

  • ข้อดี – พร้อมใช้งานได้ทันทีจากตัวกระป๋อง เป็นเชื้อเพลิงที่สะอาดกว่า และใช้ได้ง่ายกว่าเชื้อเพลิงเหลว และยังให้พลังงานความร้อนที่คงที่ต่อเนื่องอยู่ได้นานกว่าอีกด้วย
  • ข้อเสีย – ราคาแพงกว่าเชื้อเพลิงเหลว และเชื้อเพลิงอัดแน่นประเภทนี้จะต้องบรรจุในกระป๋องเฉพาะของมันซึ่งอาจจะทำ ให้เปลืองเนื้อที่ นอกจากนี้ยังไม่สามารถเติมเชื้อเพลิงลงในกระป๋องที่หมดแล้วได้อีกด้วย และในบางพื้นที่เราก็ไม่สามารถจะหาซื้อเชื้อเพลิงกระป๋องได้เช่นกัน

เชื้อเพลิงผสม (Blended Fuel)

ส่วนมากแล้วจะเป็นการผสมระหว่าง propane กับ butane และ/หรือ isobutane เมื่อเชื้อเพลิงมีส่วนผสมของ isobutane มันจะเผาไหม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก ถึงแม้ว่าความกดภายในกระป๋องจะลดลงแล้วก็ตาม เชื้อเพลิงผสมจะใช้งานได้ดีกว่าถ้าเราใช้เชื้อเพลิงประเภท butane หรือ isobutane เดี่ยวๆ แต่อย่างไรก็ดี เชื้อเพลิงผสมก็มีข้อเสียตรงที่ไม่สามารถจะใช้งานได้ในสภาพอุณหภูมิที่ต่ำ เกินไป ซึ่งไม่ควรจะต่ำกว่า 30 องศาฟาเรนไฮต์ เชื้อเพลิงผสมมักจะใส่มาในกระป๋องที่สามารถทิ้งได้หลังใช้งานหมดแล้ว เชื้อเพลิงผสมมักจะเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวในสภาพอากาศ ที่หลากหลาย แต่คงไม่ค่อยเหมาะนักสำหรับพื้นที่สูงในสภาพอากาศที่หนาวเย็น

บิวเทน (Butane)

เชื้อเพลิงชนิดนี้เป็นที่นิยมกับแพร่หลายมากในยุโรป บรรจุอยู่ในกระป๋องซึ่งสามารถจะทิ้งได้เมื่อใช้หมดแล้ว butane บริสุทธิ์จะมีประสิทธิภาพดีมากในการเผาไหม้ แต่ก็จะไม่สามารถใช้ได้ในอากาศที่หนาวเกินไปหรือต่ำกว่า 50 องศาฟาเรนไฮต์ แต่อย่างไรก็ดี butane บริสุทธิ์ก็ให้ความร้อนได้ไม่ดีเท่ากับเชื้อเพลิงผสม

ไอโซบิวเทน (Isobutane)

เชื้อเพลิงประเภทนี้เป็นตระกูลเดียวกับ butane มักจะใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับอุตสาหกรรมการบิน และจะเผาไหม้ได้ดีกว่า butane เชื้อเพลิงชนิดนี้จะใช้ในสภาพอากาศที่หนาวเย็นกว่า butane ได้เล็กน้อย หรือที่อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 40 องศาฟาเรนไฮต์ isobutene จะบรรจุอยู่ในกระป๋องที่สามารถทิ้งได้หากใช้หมด และนับว่าเป็นเชื้อเพลิงที่เหมาะสำหรับการใช้งานในหลายสภาพอากาศได้เช่นกัน

โพรเพน (Propane)

Propane เป็นก๊าซบริสุทธิ์ที่ให้พลังงานความร้อนที่คงที่อย่างต่อเนื่อง และเผาไหม้ได้อย่างสะอาดและมีประสิทธิภาพ ใช้งานได้ดีปานกลางในสภาพอากาศหนาวเย็น และบรรจุอยู่ในกระป๋องที่สามารถทิ้งได้ เชื้อเพลิงชนิดนี้เหมาะสำหรับการใช้งานในหลายๆ สภาพอากาศ แต่ไม่ค่อยเหมาะนักสำหรับพื้นที่สูงที่มีอากาศหนาวเย็น

credit http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_26.html

ส่วนประกอบของเตา

หน้าแรก > อุปกรณ์แค้มปิ้งค์ > เตาแก๊ซ > ส่วนประกอบของเตา
ส่งหน้านี้ให้เพื่อน
พิมพ์ พิมพ์หน้านี้
บุ๊คมาร์คหน้านี้

เตาแก๊ซ

ส่วนประกอบของเตา

เรื่องโดย หญิงเหล็ก , มกราคม 2003

เตาประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ หลายส่วน เราลองมาทำความรู้จักกันชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเตากันดู

1. หัวเตา (Burner) - เป็นส่วนที่ให้ความร้อน

2. ขาวางเครื่องครัว (Pan,Pots Support) - ใช้สำหรับวางเครื่องครัว เช่น หม้อ กระทะ เพื่อให้ความสมดุล

3. ที่บังลม (Windshield, Windscreen) - ป้องกันลมที่จะมาปะทะกับไฟ ซึ่งจะช่วยให้ไฟไม่เกิดการสูญเสียความร้อนจากลม

4. ปุ่มปรับระดับไฟ (Control Knob, Flame Adjustment) - ใช้ปรับระดับความแรงของไฟ

5. ถังเชื้อเพลิง (Gas Cartridge, Fuel Bottle) - บรรจุเชื้อเพลิงที่ใช้กับเตา

credit http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_27.html

เตาสำหรับเดินป่า

ในสมัยก่อน เราอาจจะต้องแบกเตาหนักๆ และถังน้ำมันก๊าดถังใหญ่เข้าไปด้วย เพื่อที่จะหุงหาอาหารกันกลางป่า หรือบางคนอาจจะไม่พึ่งเตาใดๆ แต่อาศัยการไปหาฟืนและก่อไฟเอาข้างหน้า แต่อย่างไรก็ดี ในระยะหลังการก่อไฟลักษณะนี้ได้ถูกห้ามมากขึ้น ทั้งเรื่องความปลอดภัยและเรื่องความห่วงใยในทรัพยากรธรรมชาติที่ร่อยหลอลง ทุกที ทุกวันนี้หลายคนจึงหันมาใช้เตาในการเดินป่ามากขึ้น โดยผู้ผลิตหลายๆ รายได้ผลิตเตาที่มีลักษณะกะทัดรัด น้ำหนักเบา และไม่เปลืองพลังงานมากนัก ทำให้การปรุงอาหารกลางป่าเป็นเรื่องง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น

และเราจะใช้เตาได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใดนั้น ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ในส่วนอย่างมากก็คือเชื้อเพลิงที่เราเลือกใช้ นั่นเอง ในปัจจุบัน ได้มีการผลิตเชื้อเพลิงออกมาหลายประเภท สำหรับเตาแต่ละชนิด และบางครั้งเตาบางชนิดก็สามารถที่จะใช้กับเชื้อเพลิงได้หลายประเภทด้วยเช่น กัน

มาตรฐาน ในการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเตาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมีอยู่สองวิธี คือ การวัดโดยใช้หน่วยเป็น บีทียู (BTU, British Thermal Units) ยิ่งมี บีทียู มาก เตาก็จะยิ่งร้อนมาก โดนปกติแล้วเตาที่เราใช้ในบ้านจะมีค่าความร้อนประมาณ 25,000 – 30,000 บีทียู อีกวิธีหนึ่งที่จะใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อเตาก็คือการดูเวลาที่ใช้ในการทำ ให้น้ำเดือด ผู้ผลิตส่วนใหญ่จะเขียนบอกเอาไว้ด้วยว่าเตาของตนจะใช้เวลานานแค่ไหนที่จะทำ ให้น้ำเดือดได้ ยิ่งใช้เวลาน้อยก็ยิ่งดี

นอกจากนี้ ขนาดของเตาก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการเลือกซื้อ เพราะมีเตาหลายประเภทที่ถูกผลิตออกมาสำหรับการเดินทางท่องเที่ยว เราควรจะต้องดูความต้องการของเราด้วยว่าจะใช้เตาเพื่อการเดินป่าที่ทรหดหรือ การท่องเที่ยวแบบคาร์แคมป์ เพราะเตาที่ขนาดใหญ่เกินไปก็คงไม่เหมาะสำหรับการแบกเข้าป่าที่ต้องเดินไกลๆ แน่นอน

credit http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_25.html

การเลือกซื้อไฟฉาย

ไม่ว่าจะยังไงก็แล้วแต่ เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเองแล้ว คุณควรจะมีไฟฉายติดตัวไปทุกครั้งที่คิดจะเข้าป่า เพราะไม่ช้าก็เร็วคุณจะต้องรู้สึกดีใจที่มีไฟฉายติดตัวมาด้วยแน่ๆ เราลองมาดูกันว่าเวลาจะหาซื้อไฟฉายสักอันควรจะพิจารณาอะไรกันบ้าง

ขั้นที่ 1: พิจารณาประเภทของไฟฉายแต่ละชนิด

ปกติแล้วนักเดินป่าส่วนมากมักจะพกไฟฉายขนาดเล็กแบบพกพาติดตัว ไม่ว่าจะเป็นไฟฉายมือถือ หรือไฟฉายติดศีรษะ แต่หากมีการเดินทางกันเป็นหมู่คณะหรือกลุ่มใหญ่ๆ แล้ว บางครั้งอาจจะมีการนำตะเกียงหรือไฟที่ใช้สำหรับให้ความสว่างในบริเวณกว้างไป ด้วย เพื่อความสะดวกสบายในการทำกิจกรรมต่างๆ

  • ไฟฉายแบบพกพา (Personal flashlights) – หมายถึงไฟฉายขนาดเล็กที่ใช้แบตเตอรี่หรือถ่านไฟฉายเป็นแหล่งกำเนิดไฟ เป็นไฟฉายที่เป็นที่นิยมกันมากที่สุดเนื่องจากมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และง่ายต่อการใช้งาน และยังสามารถจะกำหนดทิศทางของไฟที่เราต้องการได้ด้วยว่าจะส่องไฟไปทางใด
  • ไฟฉายติดศีรษะ (Headlamps) – มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับไฟฉายแบบพกพา แต่จะมีข้อดีเหนือกว่าตรงที่ว่าสามารถทำให้เราใช้มือทั้งสองข้างได้โดยไม่ ต้องใช้มือข้างใดข้างหนึ่งไปถือไฟฉายเอาไว้ จะสะดวกมากเวลาเราต้องการตั้งเต็นท์ ทำกับข้าว หรือทำกิจกรรมอย่างอื่นที่ต้องใช้มือทั้งสองข้างพร้อมกัน


  • ตะเกียง (Candle lanterns) – จะให้แสงสว่างที่คงที่ และมักจะมีราคาไม่แพงมากนัก เหมาะสำหรับการใช้งานในเวลาที่ต้องการจะอ่านหนังสือ หรือรับประทานอาหารเย็นร่วมกัน หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่ต้องการแสงที่สว่างมากนัก แต่ต้องการแสงในช่วงเวลานานๆ และยังประหยัดแบตเตอรี่อีกด้วย
  • ตะเกียงหรือไฟสำหรับส่องบริเวณ (Lanterns/area lights) – เหมาะสำหรับเวลาที่ต้องการแสงสว่างในบริเวณกว้าง ใช้ในการเดินทางที่มีระยะเวลาค่อนข้างยาวนาน และมีสมาชิกจำนวนมาก แต่ตะเกียงหรือไฟส่องบริเวณนี้จะมีน้ำหนักมากกว่าไฟฉายหรือตะเกียงชนิดอื่นๆ และต้องใช้ก๊าซหรือเชื้อเพลิงเหลวเป็นแหล่งเชื้อเพลิงแทนแบตเตอรี่ ซึ่งอาจจะยากต่อการติดตั้ง

ขั้นที่ 2: พิจารณาประเภทของแหล่งพลังงานที่จะใช้

เราจำเป็นจะต้องพิจารณาถึงแหล่งพลังงานที่จะใช้กับไฟฉายหรือ ตะเกียงของเราด้วย เนื่องจากเราจำเป็นจะต้องรู้ด้วยว่าแบตเตอรี่หรือเชื้อเพลิงที่จะใช้นั้นมี น้ำหนักมากเพียงใด ใช้ได้นานแค่ไหน และใช้ง่ายหรือยาก เพราะมันหมายถึงว่าน้ำหนักของเชื้อเพลิงจะกลายเป็นภาระหนักสำหรับเราเพิ่ม ขึ้นอีกด้วยเช่นกัน

  • ถ่านไฟฉาย (Batteries) – เป็นตัวเลือกที่สะดวกสบาย หาง่าย และราคาไม่แพง แต่มันก็อาจจะมีน้ำหนักมากได้หากเราต้องเดินทางในระยะเวลานานๆ และต้องเตรียมถ่านไฟฉายไปจำนวนมากๆ แต่อย่าลืมว่าไม่ว่าเราจะเอาเข้าไปเท่าใด เมื่อใช้หมดแล้วเราควรจะต้องเอาติดตัวกลับออกมาทิ้งให้ถูกต้องข้างนอกด้วย ทุกครั้ง
  • อัลคาไลน์ (Alkaline) – ราคาถูก ใช้ได้นาน และเวลาแบตเตอรี่ใกล้จะหมดมันจะค่อยๆ หรี่ลงทีละนิดๆ ทำให้เรารู้ได้ว่าใกล้เวลาที่แบตเตอรี่จะหมดแล้ว แต่ข้อเสียคืออัลคาไลน์ไม่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานในบริเวณที่อากาศ หนาวเย็น
  • ลิเธียม (Lithium) – มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าอัลคาไลน์ น้ำหนักเบากว่า และสามารถใช้ในสภาพอากาศหนาวเย็นถึงขนาดติดลบได้โดยแทบจะไม่มีปัญหาเรื่อง ประสิทธิภาพลดลงเลย แต่ลิเธียมก็มีราคาแพงกว่าอัลคาไลน์พอสมควร และเมื่อใช้จนแบตเตอรี่หมดแล้วมันก็จะดับทันทีโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้าเลย


  • นิกเกิลแคดเมียม (Nickel-cadmium) – ราคาอาจจะดูแพงหากซื้อในครั้งแรก แต่ในระยะยาวแล้วจะคุ้มกว่ามาก เพราะสามารถรีชาร์จใหม่ได้หลายครั้งมาก บางก้อนอาจจะรีชาร์จใหม่ได้นับ 1,000 ครั้ง แต่ในการชาร์จแต่ละครั้งก็ไม่สามารถจะใช้งานได้นานเท่าอัลคาไลน์หนึ่งก้อน และบางครั้งประสิทธิภาพอาจจะลดหย่อนไปบ้างในการชาร์จแต่ละครั้ง ปัจจุบันมีเครื่องชาร์จพลังแสงอาทิตย์ที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบาจำหน่าย แล้ว ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการนำติดตัวไปเที่ยวด้วย
  • เทียนไข (Candles) – มีน้ำหนักเบา ราคาถูก และใช้ได้นานจนกว่าจะหมด (ไม่มีวันหมดอายุ!) แต่แทบจะให้ความอบอุ่นไม่ได้เลย และอาจจะไม่สว่างเท่ากับแหล่งพลังงานอื่นๆ และยังอาจจะก่อให้เกิดอันตรายหรือไฟไหม้ได้หากใช้ไม่ระวัง
  • เชื้อเพลิงเหลว / ก๊าซกระป๋อง (Liquid fuel, compressed gas) – ตะเกียงหรือไฟส่องบริเวณบางชนิดสามารถจะใช้เชื้อเพลิงหรือก๊าซชนิดเดียวกับ ที่ใช้สำหรับการหุงหาอาหารได้ ซึ่งเป็นเรื่องสะดวกมากเพราะเราสามารถหาเราต้องใช้เชื้อเพลิงดังกล่าวอยู่ แล้ว แต่ในบางครั้ง ก็จำเป็นจะต้องเอาเชื้อเพลิงไปเพิ่มมากขึ้นจากเดิมเพราะต้องใช้ทั้งทำอาหาร และให้ความสว่าง หรือหากเราเอาไปไม่พอก็อาจจะไม่มีไฟใช้เมื่อทำอาหารอยู่ก็เป็นได้

ขั้นที่ 3: พิจารณาลักษณะการใช้งาน

ก่อนอื่นเราควรจะคิดและพิจารณาความต้องการของเราเองก่อนว่าเราต้องการไฟฉายไปเพื่อทำอะไร โดยการตอบคำถามดังต่อไปนี้

  • คุณต้องการไฟที่น้ำหนักเบาและพกพาสะดวกหรือไม่
  • คุณต้องการไฟที่สามารถปรับระดับความสว่างได้ด้วยหรือไม่
  • คุณต้องการไฟที่สามารถเปิด-ปิดได้ง่ายๆ หรือไม่
  • คุณต้องการไฟที่สามารถจะส่องโฟกัสไปที่จุดใดจุดหนึ่งได้หรือไม่
  • คุณต้องการไฟที่สามารถจะแขวนไว้สูงๆ เพื่อให้ความสว่างรอบบริเวณได้หรือไม่
  • คุณต้องการไฟที่สามารถจะถือหรือสวมใส่ได้เวลาทำงานต่างๆ โดยสามารถใช้สองมือได้อย่างอิสระหรือไม่

เมื่อตอบคำถามต่างๆ เหล่านี้ได้แล้ว คุณจึงจะรู้ได้ว่าไฟฉายหรือตะเกียงชนิดใดเหมาะกับความต้องการของคุณ

credit http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_40.html

แบตเตอรี่

ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ถ่านไฟฉายแบบอัลคาไลน์ที่ใช้แล้วทิ้งนั้นเป็นที่นิยมกันมากในหมู่นักเดินป่า ทั้งหลาย แต่ในระยะหลังนี้ถ่านไฟฉายอีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นคือ ถ่านลิเธียม ซึ่งมีน้ำหนักเบา ให้พลังงานสูง ใช้ได้ดีในที่อากาศเย็นและสามารถเก็บไว้ได้นาน นอกจากนี้ ในปัจจุบันผู้ผลิตยังได้ผลิตถ่านลิเธียมในขนาด AA ออกมาอีกด้วย แต่อย่างไรก็ดี ตลาดถ่านไฟฉายในปัจจุบันไม่ได้แข่งที่ประเภทถ่านอัลคาไลน์หรือลิเธียมเพียง อย่างเดียว แต่จะเป็นการแข่งขันกันระหว่างถ่านไฟฉายแบบที่ใช้แล้วทิ้ง (Throwaways) กับแบบที่สามารถประจุไฟเข้าไปใหม่ได้ (Rechargeables) หรือที่เรียกกันว่าถ่านแบบรีชาร์จ

ถ่านไฟฉายในตลาดปัจจุบันที่ใช้กันในการเดินป่า สามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

ถ่านคาร์บอนเคลือบสังกะสี (Carbon-zinc cells)

ถ่านไฟฉายทั่วๆ ไปจะมีหลักการทำงานคร่าวๆ คือ ใช้คาร์บอนเป็นขั้วบวก หุ้มด้วยแอมโมเนียมคลอไรด์ และเคลือบด้านนอกด้วยสังกะสีซึ่งเป็นขั้วลบ เมื่อมีปฏิกิริยาทางเคมีเกิดขึ้นจะให้อิเล็กตรอนออกมา และเปลี่ยนพลังงานเคมีเป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง แต่ถ้าปฏิกิริยาเคมีดังกล่าวเกิดการย้อนกลับก็จะทำให้เราสามารถประจุไฟเข้า ไปในแบตเตอรี่ใหม่ได้หรือที่เรียกว่าการรีชาร์จนั่นเอง แต่ถ่านคาร์บอนเคลือบสังกะสีในประเภทนี้เป็นถ่านไฟฉายรุ่นแรกๆ ที่ไม่สามารถจะรีชาร์จได้ และในปัจจุบันก็ได้มีถ่านประเภทอื่นๆ ออกมาแทนที่จำนวนมาก

Zinc Carbon

Alkaline

ถ่านอัลคาไลน์แบบใช้แล้วทิ้ง (Disposable alkaline cells)

ถ่านอัลคาไลน์ที่ใช้แล้วทิ้งได้เริ่มมีใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1958 (พ.ศ. 2501) ซึ่งเมื่อแรกเริ่มนั้นเป็นที่นิยมกันมากเพราะสามารถให้พลังงานได้มากกว่า ถ่านไฟฉายแบบเก่า แต่ในระยะหลังเริ่มมีคนตระหนักกันถึงปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เนื่องมาจาก การใช้ถ่านอัลคาไลน์แบบใช้แล้วทิ้งกันมากขึ้น เนื่องจากไฟฉายประเภทนี้มีสารปรอทเป็นส่วนประกอบและเนื่องจากปริมาณการใช้ งานที่นิยมกันมากจนทำให้เกิดปัญหาขยะมีพิษเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก ดังนั้นผู้ผลิตจึงได้พยายามมากขึ้นที่จะพัฒนาถ่านอัลคาไลน์ให้ไม่เป็น อันตรายต่อสภาพแวดล้อม ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 ได้มีผู้ผลิตถ่านอัลคาไลน์แบบที่มีสารปรอทต่ำลงออกมา และในปี 1990 ก็ได้มีถ่านอัลคาไลน์แบบปลอดสารปรอทเกิดขึ้น (เช่นถ่านดูราเซลล์ และอีเนอร์ไจเซอร์ ที่นิยมกันในปัจจุบันนั่นเอง) แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การที่มีปริมาณการใช้งานถ่านอัลคาไลน์จำนวนมากในปัจจุบันก็ยังก่อให้เกิด ปัญหาเรื่องขยะพิษไปทั่วโลกอยู่ดี ยกตัวอย่างเช่น เฉพาะในประเทศอเมริกามีการทิ้งถ่านอัลคาไลน์จำนวนถึง 2 พันล้านก้อนต่อปี ข้อเสียที่สำคัญของถ่านอัลคาไลน์แบบใช้แล้วทิ้งนี้ก็คือจะมีประสิทธิภาพลดลง อย่างมากในสภาพอากาศที่หนาวเย็น

ถ่านอัลคาไลน์รีชาร์จ (Rechargeable alkaline)

ถ่านอัลคาไลน์รีชาร์จเริ่มมีใช้เมื่อ ค.ศ. 1993 ให้พลังงาน 1.5 โวลต์เท่ากับถ่านอัลคาไลน์แบบใช้แล้วทิ้ง แต่เมื่อมีการชาร์จใหม่เรื่อยๆ ประสิทธิภาพของถ่านจะลดลงตามจำนวนการชาร์จในแต่ละครั้ง ถึงแม้จะมีการดูแลรักษาและชาร์จอย่างดีก็ตาม เมื่อชาร์จไปประมาณสิบครั้งประสิทธิภาพจะลดลงเหลือประมาณ 60% และเมื่อชาร์จไปสามสิบครั้งประสิทธิภาพจะลดลงเหลือเพียง 40% และลดลงไปเรื่อยๆ ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบระหว่างถ่านอัลคาไลน์รีชาร์จกับถ่านนิแคดจึงเห็นได้ชัดว่า ถ่านนิแคดมีอายุการใช้งานนานกว่ากันมาก นอกจากนี้ เพื่อให้ถ่านอัลคาไลน์รีชาร์จมีอายุการใช้งานยาวนานที่สุด เราควรจะต้องรีชาร์จถ่านอย่างสม่ำเสมอและอย่าปล่อยให้แบตเตอรี่หมดเกลี้ยง และจำเป็นจะต้องใช้เครื่องชาร์จเฉพาะด้วย

บริษัทเยอรมนีบริษัทหนึ่งได้ผลิตถ่านอัลคาไลน์รีชาร์จยี่ห้อ Accucell ขึ้น โดยความสามารถมากขึ้น ซึ่งมีข้อดีที่สำคัญกว่าถ่านอัลคาไลน์รีชาร์จสมัยก่อนคือสามารถรีชาร์จได้ นับร้อยครั้งโดยที่ประสิทธิภาพไม่ตกลงไปมากนัก ทำให้มีคนหันมาให้ความสนใจและเป็นที่นิยมมากขึ้น

ถ่านลิเธียม (Lithium cells)

ได้มีการเริ่มใช้ถ่านลิเธียมครั้งแรกกับไฟฉายติดศีรษะที่ใช้ใน วงการอุตสาหกรรม ซึ่งในขณะนั้นมีราคาแพงมากถึง 20 เหรียญสหรัฐ แต่มีอายุการใช้งานยาวนานมากและยังสามารถใช้งานในสภาพอากาศที่หนาวเย็นมากๆ ได้อีกด้วย แต่เนื่องจากมันมีสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์เป็นส่วนประกอบ จึงถูกห้ามนำขึ้นเครื่องบินไม่ว่าจะติดตัวขึ้นไปหรือใส่ในกระเป๋าเดินทางที่ โหลดไว้ใต้เครื่อง ดังนั้น บริษัทผู้ผลิตจึงได้พัฒนาถ่านลิเธียมประเภทนี้ออกมากลายเป็นลิเธียมธิโอนีล คลอไรด์ซึ่งใช้ได้ดีกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานต่ำ เช่น หลอด LED (Light-emitting diode) สามารถนำขึ้นเครื่องบินได้ มีการผลิตออกมาในขนาด AA และยังมีราคาที่ถูกลงอีกด้วย (ประมาณ 9 – 11 เหรียญสหรัฐ) เมื่อเทียบกับว่าถ่านก้อนหนึ่งสามารถใช้ได้นานหลายเดือน

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัทเอเวอร์เรดี้ อีเนอร์ไจเซอร์ ได้ผลิตถ่านไฟฉายแบบลิเธียมไอร์ออนไดซัลไฟด์ (Lithium-iron disulfide) ในขนาด 1.5 โวลต์ AA ออกมาสำหรับใช้กับกล้องถ่ายรูปแบบอัตโนมัติ ข้อดีของถ่านชนิดนี้คือมีน้ำหนักเบากว่าถ่านอัลคาไลน์ถึง 60% และสามารถเก็บเอาไว้ได้นานถึงสิบปี แต่อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวว่าถ่านลิเธียมแบบนี้เมื่อเกิดปฏิกิริยาทางเคมีภายใน แล้วจะทำให้ประสิทธิภาพของตัวถ่านลดลงเมื่อใช้กับอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานต่ำ เช่น ไฟฉาย นอกจากนี้ ข้อเสียอีกประการหนึ่งคือ ในการผลิตถ่านลิเธียมแบบนี้นั้นจำเป็นต้องใช้พลังงานในการผลิตถ่านหนึ่งก้อน มากกว่าที่ตัวถ่านไฟฉายเองสามารถจะให้พลังงานได้ โดยใช้พลังงานในการผลิตมากกว่าถึง 50 เท่า ซึ่งความจริงที่น่าเศร้าอีกอย่างก็คือถ่านแบบนี้ไม่สามารถจะรีชาร์จใหม่ได้ ด้วย

Ni-MH

Lithium

ถ่านนิกเกิลแคดเมียมหรือนิแคด (Nickel-cadmium cells, Nicads)

ถ่านนิแคดเป็นถ่านที่สามารถรีชาร์จได้ เริ่มมีใช้ครั้งแรกในช่วงทศวรรษ 1950 และสามารถจะรีชาร์จใหม่ได้นับร้อยครั้ง แต่ในสมัยนั้น นักเดินป่าส่วนใหญ่จะไม่นิยมใช้ถ่านนิแคดเนื่องจากปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการ ชาร์จแบตเตอรี่ นั่นคือเราจำเป็นจะต้องใช้แบตเตอรี่ให้หมดเกลี้ยงก่อนถึงจะชาร์จใหม่ได้ มิฉะนั้นจะทำให้เกิดเมโมรี่เอ็ฟเฟ็กต์ (Memory Effect) ซึ่งหมายถึงการชาร์จแบตเตอรี่ได้เพียงบางส่วน ไม่สามารถชาร์จได้เต็มที่ ซึ่งเกิดจากการชาร์จแบตเตอรี่ในขณะที่แบตเตอรี่เดิมยังไม่หมดดี ทำให้การชาร์จครั้งต่อไปจะใช้เวลาสั้นลงเนื่องจากแบตเตอรี่จะเก็บความจำใน การชาร์จที่สั้นที่สุดเอาไว้ และทำให้ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ลดน้อยลง หรือหากเราชาร์จทิ้งเอาไว้นานเกินไปก็จะทำให้แบตเตอรี่ร้อนมากและเสียหายได้ อีกเช่นกัน ถ่านนิแคดยังให้พลังงานเพียง 1.2 โวลต์ซึ่งน้อยกว่าถ่านอัลคาไลน์ที่ให้พลังงาน 1.5 โวลต์อีกด้วย และนอกจากนี้สารแคดเมียมยังเป็นสารพิษที่อันตรายมากอีกด้วย

อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาถ่านนิแคดให้มีคุณภาพดีขึ้นมาก สามารถรีชาร์จได้ง่ายขึ้น และยังมีองค์กรหรือสมาคม (ในต่างประเทศ) ที่คอยรับเก็บถ่านนิแคดที่ใช้แล้วเพื่อเอาไปรีไซเคิลและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งไม่ทำให้เกิดปัญหากับสภาพแวดล้อมอีกด้วย

ถ่านนิกเกิลเมทัลไฮไดรด์ (Nickel-metal hydride, NiMH)

ถ่าน NiMH นี้มีประสิทธิภาพอยู่ตรงกลางระหว่างถ่านนิแคดและถ่านอัลคาไลน์รีชาร์จ ถ่าน NiMH ให้พลังงาน 1.2 โวลต์เหมือนถ่านนิแคดและสามารถชาร์จใหม่ได้หลายร้อยครั้งเช่นกัน แต่การชาร์จถ่าน NiMH จะไม่เกิดเมโมรี่เอ็ฟเฟ็กต์เหมือนถ่านนิแคด ตัวถ่าน NiMH จะสามารถรีชาร์จด้วยตัวเองประมาณ 1-4 % ของพลังงานที่เหลืออยู่ทุกวัน แต่เราไม่สามารถเก็บถ่าน NiMH เอาไว้ได้นานเท่ากับถ่านอื่นๆ

การดูแลรักษาแบตเตอรี่

  • เก็บรักษาในที่อุณหภูมิไม่สูงเกินไป ไม่ควรนำไปตากแดด
  • หลีกเลี่ยงการเก็บในที่เปียกชื้น
  • ควรทำการชาร์ตไฟตามระยะที่บอกไว้ในคู่มือใช้งาน เช่น การใช้งานครั้งแรกควรชาร์ตไฟไว้นาน 10 ชั่วโมงหรือมากกว่าเป็นต้น
  • ไม่ควรนำแบตเตอรี่เก็บไว้ในตัวอุปกรณ์ หากยังไม่ได้ใช้งาน

ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติของแบตเตอรี่

Alkaline
Alkaline Recharge
Lithium
Nicad
Ni-MH
Voltage
1.5
1.5
1.6
1.25
1.2
Initial Chart
yes
yes
yes
no
no
Capacity (mAh2)




AAA
900
630
n.a
240
600
AA
2200
1750
2900
750-1100
1300
C
5000
4500
n.a
2400
2200
Weight (gram)




AAA
9 g
9 g
n.a
10 g
9 g
AA
24 g
22 g
14 g
24 g
25 g
C
70 g
63 g
n.a
75 g
75 g
Self-discharge rate
0.2 %
0.2 %
> 0.1 %
20+%
20+%
Useful shelf life
5 years
5 years
10 years
short
short
Number of cycle
1
8-25
1
50-500+
50-500+
Cost per cycle
high
moderate
very high
very low
very low
Memory effect
n.a
no
n.a
high
low
Disposal hazard
low
low
low
very high
low
ข้อมูลจาก The complete walker IV